เดินหน้า"น่าน"เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์UNESCO

08 ส.ค. 2563 | 13:16 น.

อพท.6 ร่วมกับ ม.พะเยา และสภาวัฒนธรรมน่าน   ศึกษาและออกแบบพื้นที่สร้างสรรค์เมืองอัจฉริยะเขตพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน  เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว

 

 

เดินหน้า"น่าน" เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์UNESCO อพท.6 จับมืออาจารย์ม.พะเยา เวิร์คช็อปการศึกษาออกแบบพื้นที่การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในแหล่งท่องเที่ยว และเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ เตรียมพัฒนาเขตพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน เป็นเมืองอัจฉริยะที่ทุกคนเข้าถึง เพื่อยกระดับเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO  

 

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)  หรือ อพท. 6 ร่วมกับ มหาวิทยาลัยพะเยา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการศึกษาและออกแบบพื้นที่การสร้างสรรค์ผลงานในแหล่งท่องเที่ยว และเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ เพื่อรองรับ “CBT Aging Friend” และพัฒนาชุมชนพื้นที่ต้นแบบ เมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว  ที่ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม โรงแรมเทวราช อ.เมืองน่าน จ.น่าน   


 ทั้งนี้ เพื่อศึกษาและออกแบบพื้นที่การสร้างสรรค์ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว   ให้แหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน ได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ของสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC)  และขับเคลื่อนเพื่อยกระดับเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO   รวมทั้งให้บุคลากรด้านการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่นเมืองน่าน ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถด้านการให้บริการอย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐานสากล และเป็นที่ประทับใจของนักท่องเที่ยว  

 

กิจกรรมนี้มีนายภิรมย์  เทพสุคนธ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดการอบรม  และมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชนภาคการท่องเที่ยว  และตัวแทนชุมชนจาก 5 ตำบล พื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน  เข้าร่วมงาน และแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นแนวทางการออกแบบ
  เดินหน้า"น่าน"เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์UNESCO    

ดร.ฤทัยภัทร พิมลศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว  มหาวิทยาลัยพะเยา  เปิดเผยว่า  โครงการฯจะมีการพัฒนาพื้นที่จริงให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยมีการปรับปรุงพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ สถานประกอบการ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร ร้านกาแฟ พิพิธภัณฑ์ชุมชน และวัด ในเขตตำบลในเวียง พื้นที่พิเศษ 6 เช่น ห้องน้ำสำหรับผู้พิการหรือผู้สูงอายุ ทางเดินเท้า ป้ายให้เสียง ให้สัญลักษณ์ เสาอิเล็กทรอนิกส์ ทางลาด ราวบันได แสงสว่าง จุดบริการน้ำดื่มสาธารณะ เป็นต้น 
    

นอกจากนี้ เพื่อให้การทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึง แหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดยเฉพาะการสร้างสื่อดิจิตัลที่เป็นรูปธรรม การจัดทำพื้นที่ต้นแบบแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นเมืองอัจริยะ (Smart city for all ) ให้บริการข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดน่านผ่านเว็บไซต์และแอพลิเคชั่น  และมีความปลอดภัยและสวัสดิภาพ ในแหล่งท่องเที่ยวมีระบบติดตาม ป้องกัน และตอบสนองต่อภัยทางด้านอาชญากรรม ความปลอดภัย และสุขอนามัย 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปั้น"น่าน"ขึ้นชั้น"เมืองสร้างสรรค์"ยูเนสโกปี 2564

“อพท.” ผนึก “สศส.” ลุยสร้างเมืองสร้างสรรค์ตามกรอบ “ยูเนสโก”

“เที่ยวไหนดี” 7 อุทยานฯน่าน เปิดรับนักท่องเที่ยว 1 ก.ค.นี้​​​​​​​
   เดินหน้า"น่าน"เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์UNESCO

  เดินหน้า"น่าน"เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์UNESCO

ผศ.ดร.พรเทพ โรจนวสุ  คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศศาสตร์   หัวหน้าโครงการศึกษาและออกแบบพื้นที่การสร้างสรรค์ผลงานในแหล่งท่องเที่ยว ฯ   กล่าวว่า  ความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม  สะท้อนถึงพลังของวัฒนธรรม และอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ที่มีต่อการพัฒนานโยบายในระดับท้องถิ่นผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในลักษณะของการเชื่อมโยงเมืองทั่วโลกเข้าด้วยกัน  

 

รวมทั้งขับเคลื่อนโครงการศึกษาออกแบบพื้นที่การสร้างสรรค์ผลงานในแหล่งท่องเที่ยว และเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ เพื่อรองรับ “CBT Aging Friend” และพัฒนาชุมชนพื้นที่ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว  และขับเคลื่อนเพื่อยกระดับจังหวัดน่าน ก้าวเข้าสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ต่อไป

เดินหน้า"น่าน"เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์UNESCO

ที่มา สปชส.น่าน