"ดาวหางนีโอไวส์" ดูอย่างไร -เวลาใด เห็นชัดสุด เช็กได้ที่นี่  

20 ก.ค. 2563 | 02:00 น.

ตรวจสอบการจัดกิจกรรม วัน-เวลา ที่ "ดาวหางนีโอไวส์ (NEOWISE)" จะเคลื่อนใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 6,767 ปี และวิธีการดู ดูอย่างไรจะได้เห็นชัดเจนที่สุด

จากกรณีที่ “ดาวหางนีโอไวส์” (NEOWISE) หรือ C/2020 F3 เคลื่อนเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 6,767 ปี ในวันที่ 23 กรกฎาคมนี้

 

ซึ่งเปิดเผยโดย “สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. (NARIT)  จึงได้มีกำหนดการชวนชมปรากฎการณ์ดาวหางนีโอไวส์ใกล้โลกช่วงระหว่างวันที่ 18-23 กรกฎาคม 

 

สำหรับประเทศไทยจะสังเกตได้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคมเป็นต้นไป ในช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แม้ความสว่างจะลดลงเรื่อยๆ แต่ยังคงสว่างในระดับที่ยังสามารถสังเกตการณ์ได้ด้วยตาเปล่า จึงเป็นโอกาสดีที่คนไทยจะได้ยลโฉมและบันทึกภาพความสวยงามของดาวหางดวงนี้ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดาวหาง นีโอไวส์ (NEOWISE) ใกล้โลก ครั้งเดียวในรอบกว่า 6000 ปี

รู้จัก "ดาวหางนีโอไวส์ (NEOWISE)" ก่อนโคจรใกล้โลกที่สุด 23 ก.ค.นี้

 

 

แต่ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับสังเกตการณ์ เนื่องจากเป็นคืนเดือนมืดไร้แสงจันทร์รบกวน และดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยจะมีดวงอาทิตย์ โลก ดาวเสาร์ เรียงกันในแนวเส้นตรง ส่งผลให้ ดาวเสาร์มีระยะใกล้โลก มากที่สุดในรอบปี (Saturn Opposition) ห่างประมาณ 1,346 ล้านกิโลเมตร 

"ดาวหางนีโอไวส์" ดูอย่างไร -เวลาใด เห็นชัดสุด เช็กได้ที่นี่  

ส่วนวิธีการดูนั้น NARIT แนะนำว่า ให้ดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 4 นิ้ว หรือ มีกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะเห็นวงแหวน A และวงแหวน B แยกกันอย่างชัดเจนโดยมีช่องแบ่งแคสสินีอยู่ตรงกลางระหว่างวงแหวนทั้งสอง คืนดังกล่าวยังคงมีดาวพฤหัสบดีสว่างปรากฏใกล้กับดาวเสาร์อีกด้วย

 

สำหรับชาวไทยที่สนใจชมและถ่ายภาพดาวหางดวงนี้ วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2563 ยังเป็นวันที่ดาวเสาร์โคจรมาใกล้โลกที่สุดในรอบปี สดร. จัดกิจกรรมสังเกตการณ์วงแหวนดาวเสาร์ในคืนใกล้โลกที่สุดในรอบปี 4 จุดสังเกตการณ์ ได้แก่

1.อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 

2. หอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา 

3. หอดูดาวภูมิภาคฉะเชิงเทรา 

4. หอดูดาวภูมิภาคสงขลา

 

ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้ร่วมลุ้นชมดาวหางนีโอไวส์ ในวันดังกล่าวด้วย ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

"ดาวหางนีโอไวส์" ดูอย่างไร -เวลาใด เห็นชัดสุด เช็กได้ที่นี่  

ส่วนวันที่ 23 กรกฎาคม แม้เป็นช่วงที่ดาวหางเข้าใกล้โลกที่สุด แต่ดาวหางจะมีค่าความสว่างลดลง รวมทั้งในคืนดังกล่าวตรงกับขึ้น 2 ค่ำ อาจมีแสงจันทร์รบกวนเล็กน้อย ทั้งนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝนที่มีเมฆมาก บริเวณใกล้ขอบฟ้ามีเมฆปกคลุมค่อนข้างหนา จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการสังเกตการณ์ดาวหาง และหลังจากนั้นความสว่างจะลดลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้

ล่าสุด วันนี้ (23 ก.ค. 63) ฟ้าดี NARIT ตั้งกล้อง ลุ้นส่อง ดาวหางนีโอไวส์ ในคืนใกล้โลกที่สุด ที่ AstroPark อ. แม่ริม เชียงใหม่ 18:00-21:00 น.