หลัง “เข้าพรรษา” กรุงเทพเกิดปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ

06 ก.ค. 2563 | 23:43 น.

หลัง “เข้าพรรษา” เพียงหนึ่งวัน กรุงเทพฯ เกิดปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ

ผู้สื่อข่าวรายงานในวันนี้ (7 มิ.ย.) ช่วงเวลา 06.30 น. เกิดปรากฏการณ์

รุ้งกินน้ำ” หลังเทศกาล วันอาสาฬหบูชาเข้าพรรษา

เพียงหนึ่งวัน

หลัง “เข้าพรรษา” กรุงเทพเกิดปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย ระบุว่า รุ้งกินน้ำ คือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรามักจะพบเห็นได้หลังช่วงเวลาฝนตก เนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสงอาทิตย์เข้าสู่แนวสายตาเป็นมุม 40° - 42° ผ่านละอองน้ำในอากาศทำให้เกิดแถบสเปกตรัมปรากฏเป็นเส้นโค้งสีรุ้งขึ้นบนท้องฟ้า โดยจะมีสีจากล่างขึ้นบนเรียงตามลำดับ คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง

นอกจากนี้ในบางครั้งเรายังสามารถเห็นรุ้งกินน้ำได้สองแถบพร้อมกัน คือ รุ้งกินน้ำปฐมภูมิ และรุ้งกินน้ำทุติยภูมิ ซึ่งรุ้งกินน้ำตัวแรกที่อยู่ด้านล่าง หรือรุ้งกินน้ำปฐมภูมิ คือ รุ้งที่มีแถบสีแดงอยู่บนสุด แถบสีม่วงอยู่ล่างสุด รุ้งกินน้ำตัวที่สองจะอยู่ด้านบน หรือรุ้งกินน้ำทุติยภูมิ จะเรียงลำดับสีกลับกัน คือจากสีแดงไปยังสีม่วงจากข้างล่างขึ้นข้างบน โดยรุ้งกินน้ำทุติยภูมิเกิดจากการหักเหแสงภายในหยดน้ำสองครั้ง โดยถ้าแสงอาทิตย์ทำมุมกับหยดน้ำแล้วหักเหเป็นมุม 52° เข้าสู่แนวสายตา ก็จะมองเห็นเป็นแสงสีม่วง แต่ถ้าแสงอาทิตย์ทำมุมกับหยดน้ำแล้วหักเหเป็นมุม 50° เข้าสู่แนวสายตา ก็จะมองเห็นเป็นแสงสีแดงด้วยเหตุนี้รุ้งทุติยภูมิจึงปรากฏอยู่ทางด้านบน และมีสีสลับกันกับรุ้งปฐมภูมินั่นเอง