พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) นักปราชญ์ด้านภาษาไทย

05 ก.ค. 2563 | 07:50 น.

“กูเกิล”ร่วมระลึกพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) นักปราชญ์ด้านภาษาไทย ผู้มีสมญา “ศาลฎีกาภาษาไทย”

กูเกิลร่วมระลึก 198 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) วันนี้ 5 กรกฎาคม 2563 ย้อนไปเมื่อ 198 ปีก่อน เป็นวันคล้ายวันเกิดของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) นักปราชญ์ด้านภาษาไทย ผู้มีสมญานามว่า "ศาลฎีกาภาษาไทย" เป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" รวมถึงหนังสือกวีนิพนธ์อีกหลายเรื่องที่ทรงคุณค่าจนถึงปัจจุบัน

เมื่อพลิกดูประวัติของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2365 บ้านริมคลองโสธร อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2434 เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย อาชีพนักเขียน

ได้รับสมญาว่าเป็นศาลฎีกาภาษาไทย เป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และ หนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง งานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง คือ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่กองตรวจโคลงบรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง "รามเกียรติ์” รอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 100 ปี และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่านหนึ่ง

ผลงานของพระยาศรีสุนทรโวหาร ในวิกิพีเดีย ได้ระบุไว้ดังนี้

  • มูลบทบรรพกิจ
  • วาหนิติ์นิกร
  • อักษรประโยค
  • จอมราชจงเจริญ
  • สังโยคภิธาน
  • ไวพจน์พิจารณ์
  • พิศาลการันต์
  • อนันตวิภาค
  • เขมรากษรมาลา (เป็นแบบหนังสือขอม)
  • นิติสารสาธก
  • ปกีรณำพจนาตถ์ (คำกลอน)
  • ไวพจน์ประพันธ์
  • อุไภยพจน์
  • สังโยคภิธานแปล
  • วิธีสอนหนังสือไทย
  • มหาสุปัสสีชาดก
  • วรรณพฤติคำฉันท์
  • ฉันท์กล่อมช้าง
  • ฉันทวิภาค
  • ร่ายนำโคลงภาพพระราชพงศาวดาร
  • โคลงภาพพระราชพงศาวดาร รูปที่ ๖๕ และ ๘๕
  • คำนมัสการคุณานุคุณ
  • สยามสาธก วรรณสาทิศ
  • พรรณพฤกษา
  • พหุบาทสัตวาภิธาน
  • ฯลฯ

ที่มา: พระยาศรีสุนทรโวหาร วิกิพีเดีย