"บิ๊กป้อม"สั่งเร่งแก้ ปัญหาหมอกควัน-ไฟป่าภาคเหนือ

09 เม.ย. 2563 | 09:53 น.

พลเอกประวิตร ลงพื้นที่ติดตามปัญหาหมอกควัน ไฟป่า 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน สั่งเด็ดขาดให้ทุกหน่วยเร่งแก้ปัญหาไฟป่า หมอกควันให้หมดไปโดยเร็ว

 

"บิ๊กป้อม"สั่งเร่งแก้ ปัญหาหมอกควัน-ไฟป่าภาคเหนือ

วันนี้ (9 เม.ย.63) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์  ไฟป่า หมอกควัน ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน พร้อมประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์) ร่วมกับกองทัพภาคที่ 3 ผู้แทน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ผู้บริหาร ทส. ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่      เข้าร่วมการประชุม ณ ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

"บิ๊กป้อม"สั่งเร่งแก้ ปัญหาหมอกควัน-ไฟป่าภาคเหนือ

พลเอก ประวิตร ได้กล่าวขอบคุณทุกหน่วยงานที่ได้เข้มงวดดําเนินมาตรการในการรับมือสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน อย่างเต็มกําลังความสามารถ และได้เน้นย้ำ 1. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดระดมสรรพกําลัง อุปกรณ์เครื่องมือ และอากาศยาน เข้าดับไฟ ไม่ให้ลุกลามเป็นวงกว้าง และให้ดับไฟให้สนิท พร้อมเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการประทุของไฟขึ้นซ้ำในพื้นที่เดิม

2. สั่งการไปถึง ระดับตําบล หมู่บ้าน ให้จับตากลุ่มเสี่ยง ที่มีพฤติกรรมการเผาป่า หรือหาของป่า ล่าสัตว์ สําหรับผู้ได้รับสิทธิ์ในการใช้ ประโยชน์พื้นที่ป่า เช่น การจัดที่ดินทํากินให้ชุมชนตามแนวทาง คทช. หากพบว่ามีการเผาในพื้นที่ ขอให้ตัดสิทธิ์ทันที 3. ให้ ทุกหน่วยงานคุมเข้มและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ให้มีการเผาตลอดช่วงห้ามเผาที่จังหวัดกําหนด และเร่ง เตรียมการรับมือการเผาสําหรับเกษตรกรหลังพ้นช่วงห้ามเผาด้วย สําหรับการจุดไฟเผาป่า ต้องหาตัวผู้กระทําผิดให้ได้ และ ให้เร่งส่งฟ้องและดําเนินคดีโดยเร็ว พร้อมทั้ง ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด แถลงข่าวการจับกุมและดําเนินคดี เพื่อเป็นการป้อง ปรามและเป็นตัวอย่างให้ประชาชนรับรู้ 

4.ให้จังหวัดดูแลสุขภาพประชาชนจากมลพิษหมอกควัน ส่งเสริมการจัด safe  zone ที่บ้าน เพื่อลดผลกระทบจากมลพิษ และเป็นไปตามแนวทางการเฝ้าระวังโควิด-19  5.สําหรับปัญหาหมอกควัน ข้ามแดน ให้ ทส. หยิบยกประเด็นการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน หารือกับประเทศเมียนมา ลาว และกัมพูชาใหม่ เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และหากพบการเพิ่มขึ้นอย่างมากของจุดความร้อนในประเทศเพื่อนบ้าน ให้ประสานงานกับสํานักเลขาธิการอาเซียนอย่างใกล้ชิด

6. ให้กองทัพภาคที่ 3และจังหวัดชายแดน เจรจาสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง หากมีความจําเป็นหรือมีการร้องขอความช่วยเหลือในการดับไฟ ให้พิจารณาช่วยเหลือตามความเหมาะสม และ 7. หลังสิ้นสุดสถานการณ์ ให้ ทส. ร่วมกับ กองทัพภาคที่ 3 จัดการถอดบทเรียน AAR เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเด็ดขาดและยั่งยืนต่อไป