แล้งหนัก 23จังหวัด เขื่อน-อ่าง น้ำเหลือไม่ถึง 30% 

01 เม.ย. 2563 | 01:07 น.

ปภ.รายงานสถานการณ์ภัยแล้ง พบประกาศเขตภัยพิบัติแล้ว 23จังหวัด ปริมาณในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ มีน้ำเหลือไม่ถึง 30% ของความจุ

วันที่ 1 เมษายน 2563 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์ภัยแล้งว่า  ปริมาณฝนสะสมเฉลี่ยปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ของประเทศไทยมีค่าน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ ทําให้ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ในเขื่อนและอ่างเก็บน้ํา ขนาดใหญ่ มีระดับน้ำน้อยในขั้นวิกฤติ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่าง จํานวน 21 แห่ง

 

ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ที่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.ลําปาง ที่เขื่อยแม่มอก จ.ตาก ที่เขื่อนภูมิพล จ.อุตรดิตถ์ ที่เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุทัยธานี ที่เขื่อนทับเสลา) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุดรธานี ที่เขื่อนห้วยหลวง จ.ชัยภูมิ ที่เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ขอนแก่น ที่เขื่อนอุบลรัตน์ จ.นครราชสีมา ที่เขื่อนมูลบน เขื่อนลําพระเพลิง เขื่อนลําแซะ และเขื่อนลําตะคอง จ.บุรีรัมย์ ที่เขื่อนลํานางรอง

 

ภาคกลาง จ.สุพรรณบุรี ที่เขื่อนกระเสียว จ.ลพบุรี ที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ที่เขื่อนคลองสียัด จ.นครนายก ที่เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.ชลบุรี ที่เขื่อนบางพระ และ จ.ระยอง ที่เขื่อนหนองปลาไหล และเขื่อนประแสร์

แล้งหนัก 23จังหวัด เขื่อน-อ่าง น้ำเหลือไม่ถึง 30% 

 

ขณะเดียวกัน ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่างจํานวน 187 แห่ง ภาคเหนือ 50 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 100 แห่ง ภาคกลาง 33 แห่ง และภาคใต้ 4 แห่ง โดยอ้างอิงข้อมูลจากกรมชลประทาน ณ วันที่ 31 มี.ค. 63

 

ปภ.รายงานด้วยว่า ปัจจุบันมีจังหวัดที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินภัยแล้ง ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 จํานวน 23 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา และ จ.ปราจีนบุรี  รวม 139 อําเภอ 714 ตําบล 3 เทศบาล 6,065 หมู่บ้าน/ชุมชน 

แล้งหนัก 23จังหวัด เขื่อน-อ่าง น้ำเหลือไม่ถึง 30% 

 

นอกจากนี้ ยังมีรายงานการแจ้งเตือนสาธารณภัย เฝ้าระวังสถานการณ์วาตภัย เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบน มีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทําให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตก บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.บึงกาฬ สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ยโสธร อํานาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง จ.ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด

 

ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลําปาง สุโขทัย ตาก และนครสวรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย ขอนแก่น และนครราชสีมา ภาคกลาง จ.ชัยนาท กาญจนบุรี และลพบุรี

 

แล้งหนัก 23จังหวัด เขื่อน-อ่าง น้ำเหลือไม่ถึง 30%