จับตาราคาน้ำมัน-ภัยแล้ง 2 ปัจจัยฉุดบริโภคในประเทศ

22 ม.ค. 2563 | 23:46 น.

สแตนดาร์ดชาร์เตอร์หวังเบิกจ่ายภายรัฐเข็นจีดีปี63โต3%โดยเฉพาะด้านการลงทุน-หวั่น 2ปัจจัย"ราคาน้ำมัน-ภัยแล้ง"ซ้ำเติมการบริโภคในประเทศ

จับตาราคาน้ำมัน-ภัยแล้ง 2 ปัจจัยฉุดบริโภคในประเทศ

นายทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด์(ไทย)ประเมินแนวโน้ม คณะกรรมการนโยบายการเงินมีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับ 1.25% เป็น 1.00% ในไตรมาสแรกของปีนี้โดยมี 3 ปัจจัยสนับสนุนได้แก่แนวโน้มเงินบาทที่แข็งค่าจากปีที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าถึง 80% สูงสุดในภูมิภาคเอเชียและการแข่งค่าของเงินบาทได้ส่งผลกระทบต่อภาคส่งต่อที่ติดลบไป 3% 
   

สำหรับ การแข่งค่าของเงินบาทนั้นยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าต่อซึ่งเป็นความกังวลทุกฝ่ายรวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่ได้ออกมาตรการและแทรกแซงเพื่อช่วยประคองให้เงินบาทอ่อนค่าและแม้ว่าปีนี้เงินบาทจะอ่อนค่าเกือบที่สุดในภูมิภาคเอเชียแต่ธนาคารยังมองว่าเงินบาทแข็งค่าต่อโดยไตรมาสแรกปีนี้อยู่ที่29.25บาทต่อดอลลาร์

   

 

ขณะที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี)มีแนวโน้มชะลอตัวโดยคาดว่าปีนี้จะเติบโตได้ที่ 3 %จากปีก่อนอยู่ที่ระดับ 2.5%ระดับและภาคการคลังโดยคาดหวังว่ามีความเป็นไปได้ประมาณ75%ที่จะเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2563 ได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์แต่อีก 25% ยังมีความเสี่ยงต่อการเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าว
   

อย่างไรก็ตามเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2563 ในปีนี้ควรจะ สามารถเบิกจ่ายงบประมาณด้านการลงทุนให้ได้มากกว่า 60% เพราะที่ผ่านมาในช่วง 4 ปีพบว่าการเบิกจ่ายงบประมาณด้านการลงทุนยังอยู่ในระดับต่ำเพียง 60% ซึ่งน้อยกว่างบประมาณที่มีอยู่ ขณะเดียวกันควรเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนของหน่วยงานรัฐวิสหกิจได้อย่างเต็มที่และที่สำคัญควรผลักดันโครงการอีอีซี ให้มีความก้าวหน้าที่ชัดเจนมากขึ้นโดยเฉพาะโครงการแหลมฉบังและอู่ตะเภา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในระยะยาว
   

ปัจจุบันในส่วนของภาคเอกชนยังมีความกังวลในระยะสั้นจึงไม่กล้าลงทุนทั้งจากจีดีพี ที่เติบโตชะลอลงจาก 4% เหลือ 3% หรือการบริโภคแม้จะมีมาตรการกระตุ้นก็ยังน่ากังวงหรือการลงทุนที่ติดลบต่อเนื่อง  นอกจากนี้เงินบาทที่แข็งค่ายังส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและภาคการท่องเที่ยว โดยจะเห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เคยเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยตอนนี้ตัวเลขลดลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่เติบโตค่อนข้างมาก  เช่น  เกาหลีใต้  ญี่ปุ่น เป็นต้น
   

 

ทั้งนี้ สัญญาณ ค่าจ้างแรงงานที่ปรับลดลงในบางอุตสาหกรรมส่งผลต่อต่อการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นผลพวงมาจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ทั้งในส่วนของสินเชื่อบ้านบัตรเครดิต  สินเชื่อส่วนบุคคลหรือสินเชื่อรถยนต์  เหล่านี้เป็นประเด็นที่น่ากังวล  นอกจากปัญหาโรงงานปิดกิจการคนไม่มีงานทำรายได้ลดและการบริโภคลดลงซึ่งคนอยู่ด้วยการก่อหนี้
 

สภาวะปัจจุบันของประเทศไทยที่อ่อนแอปีนี้ยังมี 2ปัจจัยลบ ที่จะกระทบการบริโภค คือ ราคาน้ำมันและภัยแล้ง หากแก้ไขไม่ได้รายได้ของเกษตรกรจะปรับลดอีกซึ่งอาจจะกระทบการบริโภคอีก"
  ขณะที่ ความกังวลในระยะสั้น ไม่ว่าจากจีดีพีที่มีแนวโน้มชะลอตัว การบริโภคและการลงทุนต่ำ  ภาคการส่งออกติดลบรวมถึงการผลิตลดลง นักท่องเที่ยวจีนเริ่มได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท  โรงงานปิด ค่าจ้างปรับลด และหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น เป็นต้น
 

" ระยะสั้นยังมีความกังวลในหลายภาคส่วนและเห็นความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำมัน  ภัยแล้ง  ฝุ่น  หรือไวรัสรวมถึงปัจจัยการเมืองภายในประเทศ และเมืองไทยพึ่งพานักท่องเที่ยว จีนราว 30% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด หากนักท่องเที่ยวจีนได้รับผลกระทบจากปัญหาไวรัสอาจจะมาเมืองไทยน้อยลง ซึ่งหากการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบทั้งเรื่องฝุ่นและไวรัสอาจจะทำให้ภาคท่องเที่ยวที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีปัญหาเช่นกัน"