เรียนรู้40ปีจีนใหม่:ร่วมมือไทย-จีนเพื่อโอกาสและวิสัยทัศน์ใหม่

18 ก.ค. 2562 | 08:26 น.


                   เรียนรู้40ปีจีนใหม่:ร่วมมือไทย-จีนเพื่อโอกาสและวิสัยทัศน์ใหม่
        จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกและภูมิภาค ได้ท้าทายต่อการพัฒนาประเทศยุคใหม่ การยกระดับความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนยุทธศาตร์ไทย-จีน ผ่านเวทีสัมมนาวิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 8 (The Eighth Thai-Chinese Strategic Research Seminar ) ภายใต้หัวข้อ “ความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีนยุคใหม่: โอกาสและวิสัยทัศน์ใหม่ ” โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน ระหว่างวันที่ 26-27 มิถุนายน 2562 ณ หอประชุมนานาชาติหวังหยวนซิ่ง มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน  จึงเปรียบเสมือนการเชื่อมต่อทั้งนโยบายและการเชื่อมใจ สู่กลไกลการพัฒนาผ่านบุคคลากรด้านการวิจัย  เพื่อศึกษาและตอบโจทย์เชิงยุทธศาสตร์ของทั้งสองประเทศ

                 เรียนรู้40ปีจีนใหม่:ร่วมมือไทย-จีนเพื่อโอกาสและวิสัยทัศน์ใหม่
         ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)  กล่าวว่า ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง ” เป็นทั้งนโยบายต่างประเทศ ยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ และแผนพัฒนาระหว่างประเทศที่ยิ่งใหญ่ การพัฒนาประเทศจีน โดยเฉพาะ 40 ปีหลัง มีการพัฒนาเป็นอย่างมาก ซึ่งมีบทเรียนต่าง ๆ ที่สำคัญอยู่หลายบทเรียน ในแต่ละปีที่นักวิชาการไทยกับจีนได้ทำงานร่วมกันโดยมีการศึกษาในมิติต่าง ๆ ผลจากการประชุมในแต่ละครั้งจะนำไปสู่ข้อเสนอในทางนโยบาย เพื่อให้ประเด็นเรื่องความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน ดีขึ้นเรื่อย ๆ

                 เรียนรู้40ปีจีนใหม่:ร่วมมือไทย-จีนเพื่อโอกาสและวิสัยทัศน์ใหม่
 

 

       เรื่องที่เราให้ความสำคัญในปีนี้ คือ เป็นปีที่เปรียบเหมือนบทสรุปการพัฒนาจีนใหม่ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา นับแต่จีนเปิดประเทศเมื่อปี 1978 แล้วปี 2018 ครบ 40 ปี บทเรียน 40 ปีจะเป็นประโยชน์ในการดูแลและออกแบบ EEC ของไทย  เราเรียนรู้หลายอย่างจากจีนในลักษณะเรียนรู้ร่วมกัน อาทิการพัฒนา ทำอย่างไรให้เมืองพัฒนาขึ้นโดยทรัพยากรสิ่งแวดล้อมยังคงรักษาไว้ อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวจะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร ตลอดทั้งการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี โดยนำเอาจุดแข็งที่จีนมีอยู่มาถอดบทเรียน และแสวงหาโอกาสสู่การพัฒนาร่วมกัน
                   เรียนรู้40ปีจีนใหม่:ร่วมมือไทย-จีนเพื่อโอกาสและวิสัยทัศน์ใหม่

       ซึ่งผลจากการสัมมนาวิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 8 จะส่งผลต่อการพัฒนาความร่วมมือระหว่างไทยกับจีน ผ่านข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังนี้


       1. ส่งเสริมยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมกันระหว่างไทยกับจีนให้ลึกซึ้งมากขึ้น  โดยการสร้างกลไกสื่อสารระหว่างกันในหลายระดับ  โดยเฉพาะการเจรจาและแก้ไขปัญหา  ตั้งแต่ระดับรัฐบาล นักวิชาการ ภาคเอกชนและภาคประชาชน
 

       2. การเชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐานระหว่างกัน โดยเฉพาะการพัฒนาโครงการรถไฟ ความเร็วสูง ไทย-จีน จะส่งผลให้การพัฒนา “ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก ”ประสบความสำเร็จมากขึ้น และมากกว่านั้นควรมีการสร้างความร่วมมือ 3 ฝ่าย หรือ ไตรภาคีไทย-จีน-ญี่ปุ่น
 

                 เรียนรู้40ปีจีนใหม่:ร่วมมือไทย-จีนเพื่อโอกาสและวิสัยทัศน์ใหม่

       3. การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม  การผลิตและการให้บริการทั้งระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ นักวิชาการทั้งสองฝ่ายควรร่วมมือกันสร้างสรรค์ผลงานวิจัย
 

       4. การพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ควรมีการร่วมมือระหว่างนักวิชาการของทั้งสองประเทศ ในการทำวิจัยร่วมกันเพื่อแสวงหาแนวทางใหม่ในการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจท่องเที่ยวระหว่าง
ไทยและจีน และอาจรวมไปถึงอาเซียน ในฐานะที่ไทยคือหนึ่งในจุดศูนย์กลางการเชื่อมโยงของภูมิภาค
                   เรียนรู้40ปีจีนใหม่:ร่วมมือไทย-จีนเพื่อโอกาสและวิสัยทัศน์ใหม่

       5. นอกจากการพัฒนาความร่วมมือในเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านแล้ว นักวิชาการทั้งสองฝ่ายควรมีการทำงานวิจัยร่วมกัน  เพื่อกำหนดแนวทางและประสานผลประโยชน์ร่วมกัน โดยมีศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของการบริหารจัดการในเรื่องดังกล่าว

                 เรียนรู้40ปีจีนใหม่:ร่วมมือไทย-จีนเพื่อโอกาสและวิสัยทัศน์ใหม่
        นี่จึงเป็นการดำเนินนโยบายที่เน้นภูมิปัญญาตะวันออก โดยการแสวงหาสันติภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งเรียนรู้ที่จะให้อภัย “เน้นประชาเชื่อมใจ ไทย-จีน ใช่อื่นไกลเป็นพี่น้องกัน” ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ไทย-จีน พัฒนาสู่เป้าหมายที่ทั้งสองประเทศปรารถนา ผ่านกลไกของการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย ที่จะศึกษาเพื่อตอบโจทย์เชิงยุทธศาสตร์ พร้อมยกระดับความร่วมมือเชิงวิชาการของศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน กับหน่วยงานคลังสมองของประเทศจีน ทั้งระดับชาติและระดับมณฑล ตลอดทั้งองค์กรภาคสังคมต่างๆ สู่โอกาสและวิสัยทัศน์ใหม่สำหรับความสัมพันธ์ที่ดีและการพัฒนาร่วมของทั้งสองประเทศต่อไป 

                 เรียนรู้40ปีจีนใหม่:ร่วมมือไทย-จีนเพื่อโอกาสและวิสัยทัศน์ใหม่