“ไวรัสโคโรนา” มองโอกาสในวิกฤต

15 ก.พ. 2563 | 02:00 น.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย แนะรัฐ – เอกชน เร่งสร้างบรรยากาศการลงทุน หวังดึงค่ายรถ –ผู้ผลิตชิ้นส่วนเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามาในไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในปี 2563 ถือเป็นปีแห่งความยากลำบากของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และชิ้นส่วนของไทย เนื่องจากต้องผจญกับปัจจัยลบรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาหรือ โควิด-19 ที่กระทบกับภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงไทย เพราะทำให้บรรยากาศการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยรวมซบเซาลง เช่นเดียวกับการใช้จ่ายสำหรับสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ เช่น รถยนต์ ก็คิดมากขึ้น  ซึ่งศูนย์วิจัยฯมองว่าในปี 2563 นี้ ทั้งยอดขายรถยนต์ในประเทศ การส่งออก และการผลิตมีทิศทางที่หดตัวลงค่อนข้างมาก

“ไวรัสโคโรนา” มองโอกาสในวิกฤต

โดยปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยในขณะนี้ก็เกิดในประเทศฐานการผลิตรถยนต์อื่นเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น จึงส่งผลกระทบมายังการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ประเภท OEM ในประเทศของไทยด้วย ที่ต้องเผชิญกับความต้องการใช้ที่ลดลงทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

“ไวรัสโคโรนา” มองโอกาสในวิกฤต

อย่างไรก็ตามศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นระยะสั้นดังกล่าวอาจกลายมาเป็นโอกาสให้กับไทยได้ เพราะหากไทยเร่งสร้างบรรยากาศส่งเสริมการตลาดและการลงทุน โดยเฉพาะสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน อาจทำให้ไทยสามารถดึงดูดค่ายรถและผู้ผลิตชิ้นส่วนเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้ เมื่อทุกบริษัทน่าจะเริ่มมองถึงการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนออกจากประเทศจีนมากขึ้น

“ไวรัสโคโรนา” มองโอกาสในวิกฤต

 

“ไทยอาจกลายมาเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เหมาะสมและมีโอกาสที่การลงทุนผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จะเข้ามาในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะ ชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า หากภาครัฐร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งเสริมและสนับสนุนการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศมากขึ้น เช่น การสนับสนุนการตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้กระจายครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ การใช้มาตรการรัฐรูปแบบต่างๆเพื่อส่งเสริมให้รถยนต์ไฟฟ้าจากหลายค่ายเข้ามาทำตลาดและมีการแข่งขันในตลาดมากขึ้นในช่วงแรกเพื่อกระตุ้นอุปสงค์จากฝั่งผู้บริโภค ซึ่งจะส่งผลผลักดันให้การลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนเข้ามามากขึ้นตามความต้องการในตลาดที่สูงขึ้น”

“ไวรัสโคโรนา” มองโอกาสในวิกฤต