ออดี้ คิว5 สมรรถนะเด่นเกินหน้าตา

30 ก.ย. 2560 | 07:35 น.
แข่งตรงๆของเมอร์เซเดส-เบนซ์ “จีแอลซี” และ บีเอ็มดับเบิลยู “เอ็กซ์3” เผยโฉมออกมาอย่างน่าเกรงขาม โดยการทำตลาดในเมืองไทยมากับ 2 ทางเลือกเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซล

“คิว5 โฉมใหม่” เจเนอเรชันที่ 2 เข้ามาเติมเต็มไลน์อัพในกลุ่มเอสยูวีของออดี้ให้ครบถ้วน ตั้งแต่ตัวเล็ก คิว2 คิว3 และพี่ใหญ่คิว7 ซึ่งจะว่าไปผมก็ลองสัมผัสมาแล้วทุก “คิว” ยืนยันได้ว่าเอสยูวีของออดี้มีดีมาก กว่ารูปลักษณ์ที่เราเห็นภายนอกแน่นอน

MP33-3300-A ด้วยเทคโนโลยียานยนต์ระดับโลก ถ่ายทอดมาเป็นสุดยอดสมรรถนะ ขับขี่ได้เต็มที่มั่นใจ และนวลเนียนในสไตล์ที่แตกต่างจากคู่แข่ง ในขณะที่ “คิว5 โฉมใหม่” สิ่งที่เป็นไฮไลต์คือ ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ “ควอตโตร” รุ่นล่าสุด หรือ Quattro with ultra technology ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในรถแบบเอสยูวีของออดี้

สำหรับ Quattro with ultra technology เป็นระบบขับเคลื่อนที่ล้อที่ใช้การควบคุมในแบบกลไกและไฟฟ้า ใช้กับรถแบบเครื่องยนต์วางตามยาว โดยพัฒนาต่อยอดมาจากควอตโตรแบบเดิม Self locking center differential พร้อมนํ้าหนักเบาลง 4 กิโลกรัม

ตามข้อมูลของออดี้ระบุว่า หลังสตาร์ตเครื่องออกตัว ระบบจะกระจายแรงบิดไปยังล้อทั้ง 4 ล้อ แต่เมื่อระบบตรวจพบว่ารถอยู่ในสถานการณ์ขับขี่ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องใช้แรงบิดทุกล้อ ระบบจะเปลี่ยนมาขับเคลื่อน 2 ล้อหลังโดยอัตโนมัติ (หน้า 0% หลัง 100%) หวังให้รถกินนํ้ามันน้อยลง

MP33-3300-1A ส่วนกรณีที่รถต้องการเสถียรภาพจากระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ระบบจะประมวลผลจากข้อมูลการขับขี่ ทั้งองศาการหมุนพวงมาลัย จังหวะกดคันเร่ง และแรงบิดที่ส่งมายังล้อ โดยประมวลผลทุก 10 มิลลิวินาที เพื่อหาความเป็นไปได้ที่ล้อใดล้อหนึ่งจะเสียการควบคุม แล้วถ้าระบบตรวจพบความเป็นไปได้ ระบบจะส่งกำลังลงไปยังเพลาขับล่วงหน้าทันที หรือก่อนที่รถจะเสียการทรงตัวใน 0.5 วินาที

…ถือเป็นความอัจฉริยะ และสามารถเรียนรู้พฤติกรรมคนขับ พร้อมปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ซึ่งต่อไป Quattro with ultra technology จะค่อยๆ เข้ามาแทนระบบเดิม Self locking center differential ตามการเปิดตัวรถยนต์ออดี้รุ่นใหม่ครับ

MP33-3300-2A ออดี้ คิว5 โฉมใหม่ ตัวถังใหญ่กว่าเดิมเล็กน้อย ด้วยความยาว4,663 มม. ระยะฐานล้อ 2,819 มม. กว้าง 2,140 มม.สูง 1,659 มม. แต่ด้วยการขึ้นรูปด้วยวัสดุหลักคืออะลูมิเนียมออดี้สามารถ ลดนํ้าหนักลงได้ 90 กิโลกรัมเมื่อเทียบกับเจเนอเรชันแรก

รุ่นที่ผมขับเป็นเครื่องยนต์เบนซิน TFSI 2.0 ลิตร บล็อกพิมพ์นิยม มาพร้อมระบบฉีดจ่ายนํ้ามันตรงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ (ไดเร็กอินเจ็กชัน) ระบบวาล์วแปรผัน และรีดแรงด้วยเทอร์โบ กำลังสูงสุด 252 แรงม้า ที่ 5,000-6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 370 นิวตัน-เมตร ที่ 1,600-4,500 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ “เอส-ทรอนิกส์” (ดูอัลคลัตช์) 7 สปีด

MP33-3300-4A สมรรถนะเต็มร้อยครับ เกียร์ส่งกำลังกระชับฉับไว ตอบสนองดีตั้งแต่ออกตัวไปจนถึงความเร็วปลาย อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. 6.3 วินาที ในภาพรวมขับสนุกเร้าใจกว่าเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร เทอร์โบ ประกบเกียร์ 9 สปีดของเมอร์เซเดส-เบนซ์ จีแอลซี ซึ่งรายนี้พลังดีแต่ออกแนวนุ่มนวลต่อเนื่อง

เช่นเดียวกับช่วงล่าง “ออดี้ คิว5” พัฒนาใหม่ใช้แบบ 5 จุดยึดทั้งหน้าและหลัง ประกบล้ออัลลอย 20 นิ้ว ยางคอนติเนนตัล สปอร์ต คอนเทค 5 ขนาด 255/45 R20 (รุ่นเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 19 นิ้ว) การรองรับออกแนวสปอร์ตแข็งกว่าคู่แข่ง ผสานกับพวงมาลัยผ่อนแรงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ควบคุมหนึบแน่นอยู่มือ ถือเป็นเอสยูวีที่มีสมรรถนะโดดเด่นเน้นเอาใจคนขับ แต่ถ้าใครเน้นความคุ้มค่าหวังอัตราบริโภคนํ้ามันที่เป็นมิตรคงต้องคบหากับรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล

สำหรับ “คิว5” เครื่องยนต์เบนซิน 45 TFSI quattro S line ราคา 3.899 ล้านบาท แพงกว่าตัวดีเซล 35 TDI quattro อยู่ 5 แสนบาท

MP33-3300-3A รวบรัดตัดความ...ผมเป็นนักข่าวสายรถยนต์คนหนึ่งครับ ที่เริ่มเบื่อการขับเอสยูวี(ครอสโอเวอร์) ที่หลังๆค่ายรถยนต์กระหนํ่าเปิดตัวออกมามากมาย การเบื่อที่ว่าเป็นการลองขับรถแบบนี้บ่อยๆ ซํ้าๆ ซึ่งสมรรถนะต่างไปตามระดับราคา ทว่าหลังจากได้สัมผัส Q5 45 TFSI quattro S line กลับทำให้ผมใจจดใจจ่อ ตื่นเต้นเมื่อนั่งอยู่หลังพวงมาลัย และปกติเป็นคนชอบสมรรถนะและความคุ้มค่าของรถเครื่องยนต์ดีเซลเป็นทุนเดิม แต่สำหรับ “คิว5” ต้องบอกว่าใส่ไปไม่ต้องยั้งกับรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน ที่ขับได้มันมือ สนุกเท้า แถมสบายตัว เมื่อใช้วิ่งทางใกล้ๆหรือตะบันทางไกลออกต่างจังหวัด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,300 วันที่ 28 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1