สมาคมผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ใหม่ ยื่นหนังสือแก่คลัง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษี

13 มิ.ย. 2560 | 10:40 น.
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560 สมาคมผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ใหม่ นำโดยนายกสมาคมฯนายสมศักดิ์ ศรีรัตนประภาส และตัวแทนได้เดินทางไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อขอเข้าพบและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ

[caption id="attachment_162155" align="aligncenter" width="503"] นายสมศักดิ์ ศรีรัตนประภาส นายสมศักดิ์ ศรีรัตนประภาส[/caption]

โดยหนังสือที่แนบนั้นประกอบไปด้วยเนื้อหาดังต่อไปนี้

เนื่องด้วยสมาคมผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้สมาชิกปฏิบัติตามกฏหมายและระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้ารถยนต์ใหม่จากต่างประเทศอย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่กฏหมายกำหนด และต่อต้านพฤติกรรมการนำเข้ารถยนต์ที่ผิดกฏหมาย เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและรักษาผลประโยชน์ทางภาษีแก่ประเทศชาติ โดยปัจจุบันสมาชิกของสมาคมประกอบด้วยผู้ประกอบการมากกว่า 60 บริษัท ซึ่งได้ชำระภาษีให้กับประเทศปีละกว่าหมื่นล้านบาท แต่จากการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ผ่านมาสมาคมฯได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีนำเข้าประเภทรถยนต์จากต่างประเทศในปัจจุบันมีอัตราที่สูงเกินจริง จึงขอเสนอสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขต่อท่าน ดังนี้

323631 1.ความเป็นมา

การจัดเก็บภาษีการนำเข้าประเภทรถยนต์จากต่างประเทศในปัจจุบันมีอัตราที่สูง สาเหตุจากช่วงที่ประเทศไทยเริ่มก่อตั้งอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ รัฐบาลจึงใช้มาตาการด้านภาษีอาหกรเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ รัฐบาลจึงกำหนดอัตราภาษีดังนี้

1)ภาษีศุลกากรเป็นไปตาม พรบ.ศุลกากรพ.ศ. 2469 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและตามกฏหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศสูงถึงอัตราร้อยละ 80 ของมูลค่ารถยนต์

2)ภาษี่สรรพสามติ เป้นไปตาม พรบ.สรรพสามิต พ.ศ.2527 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในอัตราสูงสุดร้อยละ 111 ของมูลค่ารถยนต์

3)ภาษีเพื่อมหาดไทย ตาม พรบ.จัดสรรเงินภาษีสรรสามิต ในอัตราร้อยละ 10 ของฐานภาษีสรรพสามิต

4)ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้า

การที่รัฐบาลกำหนดอัตราภาษีของรถยนต์นำเข้าที่สูงที่ยากจะปฏิบัติได้จริง ส่งผลให้ผู้ทำธุรกิจการนำเข้ารถยนต์บางรายหาทางหลบเลี่ยงภาษีหรือหนีภาษี เพื่อต้องการต้นทุนของรถยนต์ในราคาที่เหมาะสมเพื่อแข่งขันทางธุรกิจกับรายอื่นได้

เมื่อพิจารณาการเสียภาษีศุลกากรนำเข้า การกำหนดอัตราอากร เป็นไปตามอัตราตามราคาที่แท้จริงของราคาตลาด หรือที่เรียกว่า “ระบบราคาแกตต์ (GATT Valuation)ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization :WTO)ในการกำหนดราคาสินค้าขาเข้า ซึ่งเป็นราคาซื้อขายที่ผู้ซื้อสินค้าได้ชำระจริงหรือที่จะต้องชำระให้กับผู้ขายในต่างประเทศสำหรับของที่นำเข้าด้วยความซับซ้อนในการสำแดงราคา จึงเกิดปแญหาขึ้น เพราะผู้นำเข้าอาจสำแดงราคาสินค่าไม่ชัดเจน

โดยหลักการพิจารณาราคาซื้อขายที่นำเข้าเป็นไปตามกฏกระทรวง ฉบับบที่ 132 (พ.ศ. 2543)แต่หากมีเหตุสงสัยในเรื่องราคา เจ้าหน้าที่ศุลกากรมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการพิจารณาราคา ตามคำสั่งกรมศุลกากร ที่ 317/2547 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 เรื่องแนวทางการพิจารณาราคารถยนต์นั่งสำเร็จรูป

ภายหลังจากการประกาศใช้คำสั่งดังกล่าว พบปัญหาในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ กรมศุลกากรจึงได้มีคำสั่งที่ 69/2553 ในการจัดตั้งศูนย์ควบคุมมาตรฐานการสำแดงและการประเมินภาษีอากรรถยนต์นำเข้า และได้ออกแนวปฏิบัติตามคำสั่งที่ 317/2547 กำหนดให้ด่านศุลกากรทุกแห่งยอดมรับราคาตามที่ผู้นำเข้าสำแดง และนำเข้าข้อมูลราคาบันทึกลงใน intranet ภายในห้าวันทำการ นับตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่รับราคาตามที่ผู้นำเข้าสำแดง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้เป็นฐานข้อมูลในการกำหนดราคาศุลกากร

ซึ่งเมื่อพิจารณาจากคำสั่งดังกล่าวจะพบว่าการยอมรับยราคาของรถยนต์ต่างประเทศที่ผู้นำเข้าสำแดงหรือไม่ ย่อมเป็นอำนาจตามดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ตามที่กฏระเบียบคำสั่งที่กรมศุลกากรกำหนด

2. สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น

โดยตลอดระยะเวลาในการดำเนินการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศของสมาชิกในสมาคมผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ใหม่ ได้เคารพและปฏิบัติตามแนวทางหลักเกณฑ์ของกรมศุลกากรมาโดยตลอด และไม่เคยมีพฤติกรรมการนำเข้าที่เป็นไปในทางที่หนีหรือเลี่ยงภาษีแต่ประการใด แต่อัตราภาษีศุลกากรของรัฐที่กำหนดสูงกว่าความสามารถของผู้ประกอบการที่จะเสียภาษีได้ ส่งผลให้แนวโน้มของการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศลดลง ดังที่ปรากฏในตารางสถิติการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปของผู้นำเข้าอิสระ ในช่วงปีงบประมาณ 2555-2557 โดยในปีงบประมาณ 2555 รัฐจัดเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป รวม 20,776.83 ล้านบาท แต่ในปี 2557 รัฐจัดเก็บได้เพียง 9,730 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากเดิมถึง 11,046.83 ล้านบาท (รายละเอียดปรากฏตามตารางสถิตินำเข้ารถยนต์ เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย หมายเลขที่ 1)

323651 ทางสมาคมผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ใหม่ ขอเรียนว่า การที่รัฐบาลได้กำหนดอัตราภาษีการนำเข้ารถภยนตใหม่จากต่างประเทศ โดยคิดภาษีอากรนำเข้าในอัตราร้อยละ 80 ของมูลค่ารถยนต์ ยังมีภาษีสรรพสามติ ภาษีมหาดไทย และภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งยากแก่การปฏิบัติได้จริงของผู้ดำเนินธุรกิจ ย่อมส่งผลกระทบต่อแนวทางการจัดเก็บภาษี ดังต่อไปนี้

1)ด้านความมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี หากภาษีศุลกากรนำเข้ารถยนต์มีอัตราที่สูงกว่าความเป็นจริง ย่อมส่งผลให้ผู้นำเข้าพยายามหลบเลี่ยงหรือหนีภาษี เพราะไม่ต้องการที่จะชำระภาษีในอัตราที่สูง หรืออาจเป็นการเปิดช่องทางในการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิชอบ ตลอดถึงเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ต้องการหลีกเลี่ยงภาษีส่งผลให้รัฐสูญเสียรายได้จากากรจัดเก็บภาษีเข้าประเทศในส่วนที่ควรจะได้ และต้องเสียเวลาและสูญเสียงบประมาณรวมถุงบุคลากรของรัฐ เพื่อตรวจสอบการทุจริตในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง

2)ด้านความเป็นธรรมในการแข่งขันทางการค้า เมื่อรัฐบาลต้องการสนับสนุนผู้ประกอบการในขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศ (SME)แต่กำหนดภาษีนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับการสนับสนุนการลงทุนของต่างชาติซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ในการได้สิทธิประโยชน์ทางศุลกากร ตาม ASEAN Free Trade Area:AFTA ซึ่งชำระภาษีอากรนำเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าปกติ (ยกเว้น ภาษีศุลกากรนำเข้า โดยคิดในอัตรา 0%) ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในราคาต้นทุนของสินค้าในทางธุรกิจ โดยผ้ประกอบการรายย่อยต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงแต่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่กลับได้สิทธิในการเสียภาษีในอัตราที่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบราคาต้นทุนของสินค้าและจำนวนปริมาณสัดส่วนของสินค้าในตลาดของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อมไม่สามารถแข่งขันทางธุรกิจได้ ทำให้เกิดการกีดกันและผูกขาดทางการค้าในตลาดรถยนต์นำเข้าต่างประเทศ อันจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ

เหตุผลในอดีตที่ว่ารถยนต์นำเข้าจากต่างประเทศ มีลักษณะที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยไม่จำเป็นในชีวิตประจำวัน แต่ปัจจุบันพฤติกรรมของประชาชนในการใช้รถยนต์เปลี่ยนไปจากเดิม บางส่วนมองว่าการใช้รถยนต์ที่นำเข้าจากยุโรปแม้ว่าจะมีราคาสูงกว่ารถยนต์ที่ผลิตในเอเชีย แต่รถยนต์จากยุโรปมีคุณภาพที่ดีกว่าในด้านของความปลอดภัย ความทนทานและการบำรุงรักษา อันจะเป็นการคุ้มครองถึงชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้รถ แต่ด้วยราคาที่สูงเกินความจริงจากการกำหนดอัตราภาษีนำเข้า ซึ่งอาจบิดเบือนพฤคติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจ

การที่ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกสินค้าใดย่อมควรเป็นอำนาจของผู้บริโภคตัดสินใจตามคุณภาพของสินค้าและความพึงพอใจ ภายใต้หลักการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมตามกลไกของตลาด แต่มิใช่การที่รัฐตั้งกำแพงภาษีนำเข้าที่สูงเกิดจริง ทำให้ประชาชนเสียประโยชน์จากการบริโภคที่มีราคาสินค้าสูงเกินความเป็นจริงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจ

3.แนวทางแก้ไข

จากปัญหาการจัดเก็บภาษีสำหรับการนำเข้ารถยนต์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สาเหตุของปัญหาหลักเกิดขึ้นจากอัตราภาษีที่สูงกว่าความเป็นจริงและเกินกว่าความสามารถของผู้นำเข้าที่จะสามารถชำระได้ การปรับโครงสร้างภาษีในอัตราที่ผู้ประกอบการสามารถจะชำระได้จึงเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ และลดปัญหาจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการพิจารณาราคาของสินค้าที่นำเข้า ตามคำสั่งของกรมศุลกากรที่ 317/2547 ซึ่งวทางสมาคมฯขอเสนอแนวทางว่า

1)ควรให้มีการสำแดงราคาตามความเป็นจริงในอัตราราคาสินค้า 100% ซึ่งเป็นราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาขายปลีกที่ปรากฏในเวปไซต์ของประเทศผู้ผลิต

2)ปรับอัตราอากรขาเข้าลงเหลือ 30% (ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมันนี ออสเตรเลีย รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน อัตรานี้ก็ยังถือว่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศดังกล่าว เพราะในขณะนี้อัตราภาษีนำเข้ารถยนต์ในประเทศไทยถือว่าสูงมากเพราะเป็นอัตราภาษีที่สูงเป็นรองแค่ประเทศสิงค์โปร์เท่านั้น)

3)โดยยังคงอัตราภาษีของภาษีสรรพามิต ภาษีมหาดไทย และภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่เปลี่ยนแปลง

4) รัฐควรเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน เสนอความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีดังกล่าว (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีเดิมและแนวทางสำแดงราคาตามจริง เอกสารที่ส่งมาด้วยหมายเลข 2)

4.ผลที่จะได้รับจากแนวทางดังกล่าว

1)รัฐจะมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น โดยเมื่อพิจารณาอัตราเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีเดิมและแนวทางสำแดงตามจริงนั้น แนวทางดังกล่าวหากเปรียบเทียบระหว่าง แนวทางตามที่สมาคมฯเสนอกับการจัดเก็บภาษีแบบเดิมโดยใช้หลักเกณฑ์การสำแดงราคาตามคำสั่งกรมศุลกากร ที่ 317/2547 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 ในแนวทางใหม่จะทำให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีได้มากขึ้นกว่าเดิม เช่น

ตัวอย่าง ในการคำนวณอัตราภาษียนำเข้ารถยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกินกว่า 3000 cc หากพิจารณาโดยใช้คำสั่ง 317/2547 เป็นเกณฑ์ในการสำแดงราคา รัฐจะเก็บภาษีได้ 185.45% แต่แนวทางใหมจะส่งผลให้รัฐจัดเก็บภาษีได้มากกว่าเดิม คือ 209.11 % เพิ่มขึ้น 23.66 %

2)ลดช่องว่างในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่และความซับซ้อนของกฎหมาย การใช้แนวทางตามที่สมาคมเสนอจะทำให้ลดปัญหาความซับซ้อนและขจัดการเกิดช่องว่างทางกฎหมายในการสำแดงราคาที่แท้จริง ทำให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจที่มิชอบในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้ลดปัญหาการประพฤติมิชอบและการทุจริตในระบบราชการ

3)ลดปัญหาการผูกขาดและกีดกันทางการค้า หากรัฐยอมรับแนวทางการปรับโครงสร้างฐานภาษี ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อยในประเทศย่อมสามารถแข่งขันทางธุรกิจกับผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างชาติได้อย่างเป็นธรรม ประชาชนได้มีทางเลือกในการใช้รถยนต์จากต่างประเทศที่มีคุณภาพ ธุรกิจการนำเข้ารถยนต์มีการขยายและเติบโต ส่งผลให้มีอัตราการจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น และมีการเติบโตของตลาดแรงงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการกระจายรายได้ในระบบเศรษฐกิจในอนาคต

5.บทสรุป

หากมีการปรับโครงสร้างภาษีตามแนวทางที่สมาคมฯเสนอจะลดปัญหาการทุจริตในระบบราชการ ซึ่งรัฐจะได้รับการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น  ราคาต้นทุนของรถยนต์นำเข้าจากต่างประเทศลดลง เกิดความเชื่อมั่นในธุรกิจรถยนต์นำเข้า ทำให้ธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศเติบโต การจ้างงานเพิ่มขึ้นในตลาดแรงงาน ประชาชนรผู้บริโภคย่อมได้ปะะโยชน์จากการใช้สินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่ไม่สูงเกินความจริง ส่งผลให้เกิดประโยชน์ในทุกด้าน ทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชน