“เกียรตินาคินภัทร” วิเคราะห์เศรษฐกิจไทยปีหน้าฟื้นตัวยาก

24 ก.ย. 2563 | 04:57 น.

เสี่ยงสะดุดจาก 3 ปัจจัย จีดีพี-ท่องเที่ยว และ ผลกระทบต่อภาคธุรกิจโดยเฉพาะการจ้างงานไม่สามารถเหมือนเดิมรวมทั้งมาตรการพักชำระหนี้กำลังสิ้นสุดลง

จากกรณีที่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย  นั่นจึงเป็นที่มาที่ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำ บทวิเคราะห์เกียรตินาคินภัทร (KKP) เศรษฐกิจไทยปีหน้าฟื้นตัวยากเสี่ยงสะดุดจาก 3 ปัจจัย ซึ่ง “ฐานเศรษฐกิจ” ได้สรุปรายละเอียดจากบทวิเคราะห์ ของ KKP ที่น่าสนใจไว้ดังนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

KKPลุ้น 3ปัจจัย ดึงเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง –เตือนระวัง 2ความเสี่ยง 

KKP ห่วงถ้าคนตกงานเพิ่มครึ่งปีหลัง-อาจฉุดลูกหนี้ดี 65-70%ชำระหนี้ไม่ได้-เร่งลูกหนี้ติดต่อธนาคารก่อนครบกำหนดเดือนต.ค.

“เกียรตินาคิน” ออกมาตรการช่วย “ธุรกิจโรงแรม-รายย่อย”ถูกกระทบไวรัสโคโรนา

  • KKP Research ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของ GDP สำหรับปี 2021 จาก 5.2% เหลือ 3.4% ตามการปรับประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวในปีหน้า จากสถานการณ์COVID-19 ที่ยังแพร่ระบาดในหลายประเทศ และแนวคิดเกี่ยวกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในไทยยังเป็นที่ถกเถียงในวงกว้าง

 

  • ในปี 2021 การฟื้นตัวจะแตกต่างกันในแต่ละธุรกิจ ในกลุ่มธุรกิจที่มีการพึ่งพานักท่องเที่ยวสูงจะยังไม่สามารถฟื้นตัวได้มากนักจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวที่ยังทำได้ยาก ในขณะที่กลุ่มที่พึ่งพาการบริโภคในประเทศและการส่งออกเป็นหลักจะสามารถกลับมาขยายตัวได้บ้าง

 

  • แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่ผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานยังมีต่อไปในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่สามารถกลับไปสู่ระดับเดิมได้และมาตรการพักชำระหนี้กำลังจะสิ้นสุดลง

ขณะที่  3 ความเสี่ยงที่น่าจับตา

แม้ตัวเลขเศรษฐกิจน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เศรษฐกิจในประเทศค่อย ๆ ฟื้นตัว แต่ยังมีความท้าทายจากอีก 3 ปัจจัย

1.ฐานะการเงินของธุรกิจได้รับผลกระทบรุนแรง ธุรกิจขนาดกลางและเล็กมีความเสี่ยงในการเลิกกิจการหากสถานการณ์การปิดประเทศยังคงลากยาว แต่ผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของธุรกิจอาจเลวร้ายลง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีการพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก โรงแรมจะยังประสบปัญหาอัตราการเข้าพักที่ยังไม่กลับมาจนถึงระดับที่คุ้มทุนในการดำเนินกิจการ เมื่อดูตัวเลขจากกำไรจากการดำเนินงานในรูปเงินสด (EBITDA) ของบริษัทในกลุ่มโรงแรมที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) พบว่ากระแสเงินสดเปลี่ยนจากตัวเลขบวก เป็นติดลบในไตรมาส 2 ของปีนี้ซึ่งจะกระทบต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจและการชำระหนี้ของบริษัททั้งนี้ สถานการณ์มีแนวโน้มจะรุนแรงมากกว่าสำหรับโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์

 

2.ผลกระทบต่อการว่างงานอาจรุนแรงขึ้นอีก

ความเสี่ยงด้านกระแสเงินสดอาจส่งผลต่อเนื่องมายังการจ้างงาน แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นบ้างจากการผ่อนคลายการปิดเมือง แต่เรายังคาดว่าผลที่จะเกิดขึ้นกับการจ้างงานยังไม่ถึงจุดต่ำสุด จากความเสี่ยงในการเลิกกิจการใน

ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวที่จะยิ่งสูงขึ้นหากสถานการณ์ลากยาวต่อไป ตัวเลขชั่วโมงการทำงานในเดือนมิถุนายน ปรับตัวลดลงถึง 12% เมื่อเทียบกับปีก่อนและหดตัวลงในแทบทุกกลุ่มอาชีพ สะท้อนให้เห็นว่าลำพังเฉพาะตัวเลขสำรวจการจ้างงานในไตรมาส 2 ที่ระบุว่ามีการว่างงานประมาณ 7 แสนคน หรือ 1.9% อาจไม่ใช่ปัจจัยที่สะท้อนสถานการณ์ในตลาดแรงงานได้ทั้งหมด หากนับรวมกลุ่มคนที่ถูกพักงานไม่ได้รับเงินเดือน หรือ คนที่ถูกลดจำนวนชั่วโมงทำงานลงจะทำให้ตัวเลขนี้รวมกับคนว่างงานในปัจจุบันสูงถึงกว่า 3 ล้านคน

ทั้งนี้ KKP Research คาดว่าจำนวนการว่างงานอาจสูงถึง 5 ล้านคน หรือมากกว่านั้นได้หากเศรษฐกิจเข้าสู่กรณีเลวร้ายที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถกลับมาได้ในปีหน้า ปัญหาการขาดรายได้และการว่างงานเป็นวงกว้างเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะกระทบต่อชีวิตผู้คนซ้ำเติมปัญหาหนี้ครัวเรือน และ ปัญหาทางสังคมอื่น ๆ เท่านั้น แต่ยังส่งผลทางอ้อมต่อเศรษฐกิจอีกรอบหนึ่งอีกด้วยผ่านการชะลอลงของการบริโภค

โดยเฉพาะการบริโภคในกลุ่มสินค้าคงทน เช่น บ้าน รถยนต์ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 18% ของการบริโภคทั้งหมด ทำให้การบริโภคในปี 2021 อาจฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดได้

3.มาตรการพักชำระหนี้แบบทั่วไปกำลังจะหมดลง

 มาตรการพักชำระหนี้ที่ช่วยหนุนภาคธุรกิจและการบริโภคภาคเอกชนในช่วงที่ผ่านมากำลังจะหมดลง หลังจากที่มีการ ระบาดของ COVID-19 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจผ่านธนาคารพาณิชย์ในหลาย รูปแบบไม่ว่าจะเป็นการลดอัตราดอกเบี้ย การพักและเลื่อนการชำระหนี้ออกไป 3 -6 เดือน การเพิ่มระยะเวลาในการคืนหนี้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของหนี้และสถาบันการเงิน จำนวนลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ของธนาคารแห่ง ประเทศไทย ณ เดือนกรกฎาคม โดยรวมมีถึง 12.5 ล้านบัญชี รวมมูลค่า 7.2 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของหนี้ทั้งระบบ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศว่าหลังจากเดือนตุลาคมเป็นต้นไปจะไม่มีการต่อโครงการพักชำระ หนี้แบบทั่วไปเช่นในปัจจุบันอีก เพื่อป้องกันปัญหาการเข้าร่วมโครงการทั้งที่อาจจะไม่ได้รับผลกระทบจริง (Moral Hazard) และป้องกันความเคยชินจากการไม่จ่ายหนี้ของลูกหนี้ธนาคารแต่ละแห่งอาจจะต้องปรับโครงสร้างหนี้กับลูกค้าเป็นราย ๆ ไป ทำให้เรายังต้องจับตาดูว่าหลังจากนี้จะมีลูกหนี้สัดส่วนมากน้อยเพียงใดที่จะไม่สามารถกลับมาจ่ายหนี้ได้ และหนี้จำนวน มากแค่ไหนที่จะกลายเป็นหนี้เสีย (NPL) สถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจะทำให้ธนาคารไม่ปล่อยกู้เพิ่มเติม จะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่จะกดดันการบริโภค สินค้าคงทน เช่น บ้าน รถยนต์ รวมถึงการลงทุนที่ต้องพึ่งพาการกู้ยืมเงินจากธนาคาร มาตรการเพิ่มเติมจากรัฐยังจำเป็นต่อเศรษฐกิจ จากมุมมองต่อเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าที่ยังอ่อนแอและมีความไม่แน่นอนสูง ภาครัฐยังจำเป็นต้องมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อ ช่วยประคับประคองเศรษฐกิจให้เดินหน้าและรองรับแรงงานที่ตกงานจำนวนมหาศาล แม้ว่ารัฐบาลจะมีการออกชุด มาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจมาแล้วในจำนวน 1 ล้านล้านบาท (6% ของ GDP) แต่การใช้จริงยังทำได้น้อยมาก ใน จำนวน 6 แสนล้านบาทที่เป็นมาตรการเยียวยามีการใช้เงินไปเพียง 390,000 ล้านบาท ผ่านโครงการแจกเงิน 5,000 บาทให้กับชาวนาและแรงงานนอกระบบจำนวน 24 ล้านคน และที่เหลืออีก 4 แสนล้านบาทที่จะใช้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ก็มี เพียง 42,000 ล้านบาทที่ใช้ไปเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวในประเทศ เราประเมินว่ารัฐยังมีความสารถในการทำนโยบายการคลังเพิ่มเติมหลังจากนี้แม้ว่าจะมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับหนี้ สาธารณะที่มีแนวโน้มจะแตะระดับ 60% ซึ่งเป็นเพดานตามกฎหมายในปัจจุบัน แต่จากต้นทุนในการกู้ยืมเงินของรัฐที่ต่ำลง มากเมื่อเทียบกับอดีต (อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี อยู่ที่ 1.5% เทียบกับ 3.5% ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา) ทำให้ เราประเมินว่าประเด็นเรื่องความสามารถในการจ่ายหนี้และความมั่นคงทางการคลังจะไม่เป็นปัญหามากนักบนเงื่อนไข 3 ข้อ

 (1) หนี้ที่กู้ยืมมาต้องถูกใช้ไปอย่างเหมาะสมเพื่อสร้างการเติบโตของ GDP ในอนาคต

 (2) ตลาดยังมีความเชื่อมั่นใน ความมั่นคงทางการคลังและอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง

 (3) รัฐมีการวางแผนในการลดการขาดดุลการคลัง ในอนาคตที่ชัดเจนเช่นการปฏิรูปภาครัฐเพื่อลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ภาครัฐในอนาคต “ภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่ แน่นอนสูงเช่นนี้รัฐจำเป็นต้องเร่งออกมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติมและคิดถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อเตรียม เครื่องมือให้พร้อมหากสถานการณ์ไม่ได้เป็นไปตามคาด”

 

ที่มา:บริษัทหลักทรัพย์รตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)