3ธุรกิจ ชู Design Thinking SMEปรับตัว สตาร์ทอัพอยู่รอด

19 ก.ย. 2563 | 21:00 น.

3ธุรกิจชูDesign Thinking SMEปรับตัวสตาร์ทอัพอยู่รอด

3ธุรกิจชูDesign Thinking SMEปรับตัวสตาร์ทอัพอยู่รอด  ค่ายกรุงศรีฟินโนเวตปรับกลยุทธ์เฟ้นลงทุนในสตาร์ทอัพดาวรุ่ง –หนุนเอสเอ็มอีประยุกต์ใช้ฟินเทค –ค่ายวีซ่าแนะดึงเน็ตเวิร์คและพาร์ทเนอร์ต่อยอดธุรกิจ-อุปนายกสมาคม Thailand  Tech  Startupเตือนเจ้าของกิจการจัดเวลาหารูปแบบธุรกิจใหม่ๆอย่าหยุดอยู่กับที่

    ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จัดงาน   VIRTUAL   Bangkok FinTech Fair 2020 “พร้อมรับวิถีใหม่ SME ก้าวต่อไปด้วยดิจิทัล” “Digital  Transformation  For the New Normal”ในวันที่ 19กันยายน 2563ต่อเนื่องจากวันที่ 18กันยายนที่ผ่านมา   Thene :  ปรับแนวคิด พลิกธุรกิจด้วยข้อมูล  หัวเรื่อง FinTech Chat:ฟินเทค คำตอบของ SME Digital Transformation ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นที่สะท้อนหลักคิดในการต่อยอดธุรกิจใหม่สู่ดิจิทัล  
-แนะประยุกต์ใช้ฟินเทคกับSME 
    -นายแซม   ตันสกุล  กรรมการผู้จัดการ บริษัทฟินโนเวต จำกัด  ได้เกริ่นถึงบทบาทของภาคธนาคารและการปรับตัวเพื่อทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีว่า   เนื่องจากธนาคารเป็นเซ็กเตอร์ที่มีปัญหาเรื่องการปล่อยกู้  เป็นห่วงเรื่องหนี้เสียที่จะเพิ่มขึ้นจึงระมัดระวังค่อนข้างสูง  แต่ธนาคารยังทำหน้าที่ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและยังคงช่วยเหลือกันต่อไป  โดยในส่วนของบริษัทฟินโนเวตซึ่งพัฒนานวตกรรมและดูสตาร์ทอัพให้กับธนาคารโดยช่วงโควิดได้ปรับกลยุทธ์ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับNew Normalที่เกิดขึ้น  โดยจัดหมวดหมู่ในการทำงานหรือลงทุนกับสตาร์ทอัพ   เช่น ชะลอการลงทุนกับสตาร์ทอัพในเช็กเตอร์ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด  กลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรม   หรือธุรกิจ Co-Working Space ที่ยังน่าเป็นห่วง  แต่ยังคงสนับสนุนทั้งธุรกิจโรงแรมหรือการขายออนไลน์  ขณะเดียวกันธุรกิจอีคอมเมิร์ชที่ได้รับอานิสงก์ อาทิ   Logistics  ,Work FormHome ,HR Tech บริหารจัดการพนักงานในช่วงเวลาที่ต้องทำงานอยู่ในบ้าน 
“ตอนนี้บริษัทฟินโนเวต ได้เสนอแผนและปรับกลยุทธ์ซึ่งได้รับอนุมัติจากธนาคารกรุงศรีแล้ว โดยโฟกัสเรื่องนี้เป็นพิเศษเพื่อจะนำไปช่วยเหลือเอสเอ็มอีในอนาคตได้”
   บริษัทฟินโนเวต มีการลงทุนในสตาร์ทอัพที่ช่วยเหลือ SME   ช่วงแรกห่วงว่าจะมีลูกค้ายอมใช้เทคโนโลยีเกี่ยข้องกับเอสเอ็มอีหรือไม่  แต่สวนทางกันคือ สิ่งที่เห็นสตาร์ทอัพมีตัวเลขของลูกค้าใหม่ที่ได้จากSMEเพิ่มขึ้นซึ่งสวนทางกับลูกค้าโดยตรง  เช่น เรื่อง ดาต้า และมาร์เก็ตติ้ง 
ยกตัวอย่างฟินโนเวตลงทุนในกิจการ” ช็อกโก”  ซึ่งทำการตลาดขายตรง  โดยหลายผลิตภัณฑ์ขายซุปเปอร์มาร์เก็ต  หรือหน้าร้านที่ไม่เคยเก็บข้อมูลหรือเก็บแต่ไม่เคยนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์  ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกในราคาพอเหมาะจึงแนะนำเอสเอ็มอีได้ใช้ข้อมูล   เช่นเดียวกับ Ricult  ซึ่งเป็นประโยชน์กับเกษตรเป็น Tech ด้านเกษตรซึ่งทีมงานทั้งคนไทยและอิสราเอลเป็นพันธมิตรกัน  ใช้ AI วิเคราะห์สภาพอากาศเพื่อแนะนำเกษตร(การให้น้ำให้ปุ๋ย) ปลูกพืชในจังหวะเหมาะและผลผลิตสูงสุด สำหรับเจ้าของกิจการที่เป็นผู้ซื้อพืช สามารถดูจากบ้านโดยใช้ข้อมูลจากสภาพอากาศและวิเคราะห์จากดาวเทียมทำให้เกษตรกรทำงานทันสมัยมากขึ้น  นอกจากนี้ยังมีสตาร์ทอัพที่เหมาะสมกับเอสเอ็มอีเช่น ระบบบัญชี 
อย่างไรก็ตาม อยากแนะนำSMEปรับตัว  โดยร้านค้าที่ยังไม่มี QR Code สามารถติดต่อทุกธนาคารขอนำQR วางหน้าร้าน ไม่ว่าร้านเล็กหรือใหญ่ เพราะลูกค้าเปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งข้อดีของการชำระชำระเงินผ่าน QR ร้านค้าเงินไม่หาย และยังประหยัดต้นทุน 2-3%โดยไม่ต้องเสียเวลาขนเงินฝากธนาคาร  นอกจากนี้ร้านค้ายังสามารถ เลือกรับชำระเงินผ่านทรูมันนี่วอลเล็ต หรือแรบบิทไลน์เพย์ ซึ่งเป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือร้านค้าไม่อยากเสียค่าชาร์ตจากบัตรเครดิต  เพราะเสียค่าธรรมเนียม 3% เหล่านนื้ทำให้เสียโอกาส เพราะการตัดสินใจซื้อจะซื้อสินค้ามากขึ้น เป็นสองเท่า  ที่สำคัญในจีนยอดซื้อสินค้าผ่านQR 100% เพราะฉะนั้นจะเป็นฐานข้อมูลเข้าธนาคารทันที ซึ่งอีกไม่ถึง  3เดือนธนาคารสามารถปล่อยเงินกู้ได้สินเชื่อได้ ดังนั้นความรวดเร็วเป็นผลประโยชน์กับSME
ในแง่ของการประยุกต์ใช้ฟินเทคกับSME นั้น เจ้าของหรือSME ต้องมี Design Thinking ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นผลิตสินค้าสมบูรณ์แบบแต่อาจจะผลิตออกมาเพียง 30-40%เพื่อทดลองตลาดหากไม่ดีก็นำไปแก้ไข 
“ หลักคิดที่สตาร์ทอัพ ใช้กันFail Fast  Learn  Fast เรียกว่าทำเจ้ง ในวงจำกัด  โดยต้องคิดเรื่องใหม่ตลอดเวลา  หาผลิตภัณฑ์หรือSolution ใหม่ก็ทดลอง  แล้วปรับแก้ไขใหม่  นอกจากนี้การทำงานแบบAgileดึงความสามารถแต่ละอย่างมาทำโครงการร่วมกัน  และซีอีโอมีส่วนในการสรุปงาน เพื่อให้มีการลุยงานโดยให้ความสำคัญกับของใหม่ที่จะออกมา  ดีกว่าทำแต่งานประจำ  ไม่งั้นของใหม่ก็ไม่ออกมา”
“ภาครัฐให้งานกับสตาร์ทอัพ ซึ่งจะมีคนรุ่นใหม่ไฟแรงเข้ามาทำงานได้เร็วในราคาหรือรัฐประกาศโจทย์ออกมาเพื่อหาทีมงานอาจจะเกิดเป็นโปรดักต์ขายได้ในอนาคต และมีแคตตาลอกเทคโนโลยีเพื่อเป็นทางเลือกSMEใช้แพกเกจคุ้มค่าเงินภาษี”

ดึงจุดแข็งเน็ตเวิร์คเสริมห่วงโซ่ธุรกิจ
นายสุริพงษ์   ตันติยานนท์  ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า  ธุรกิจการเชื่อมโยงเครือข่ายการชำระเงินของวีซ่า ที่ผ่านมาปริมาณธุรกรรมลดน้อยลง  เหตุผลส่วนหนึ่งจากการล็อคดาวน์  ซึ่งลูกค้าของวีซ่าได้รับผลกระทบ  เป็นลักษณะภาคธุรกิจ(B2B) รวมถึงร้านค้าและเอสเอ็มอี ถูกกระทบ และมีแนวโน้มจะเหนื่อยกันอีกระยะ  ดังนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสิ่งที่มีอยู่ของตัวเองและผสานกับพันธมิตรทั้งธนาคาร  สิ่งที่เห็นชัด คือ พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทั้งความต้องการซื้อสินค้าออนไลน์และการชำระเงินที่ไม่ต้องใช้เงินสด ทำให้ Cash Society ซึ่งมาเร็วกว่าที่คิด รวมทั้ง อีคอมเมิร์ชที่ขยายตัวเรียนรู้ภายในสองสามเดือน ซึ่งเป็นการสร้าง New Normalขึ้นมา
“เทรนด์ การซื้อขายผ่านบัตรและการชำระเงินออนไลน์  ปีหน้าและปีถัดไปจะเป็นหัวใจหลัก ทุกคนให้ความสำคัญมากขึ้น ขณะที่ SMEก็ต้องวิเคราะห์ความพร้อม  และปรับตัว  ซึ่งทั้งธนาคารและฟินเทคต่างมีSolutionอยู่เยอะ”
 ที่ผ่านมาวีซ่า ช่วยลูกค้าขยายตลาดและมีจุดขายมากขึ้น  ซึ่งวีซ่าช่วยลูกค้าเปิดตลาดไม่ใช่เฉพาะคนไทยให้เพิ่มศักยภาพซื้อขายได้  โดยดึงบริษัทฟินเทค 4-5รายมา ซึ่งรับบัตรเครดิต สามารถซื้อขายโดยได้รับคะแนนสะสมและไม่ต้องจ่ายเงินในทันที  นอกจากนี้ยังSolutionอีกมากสำหรับSMEสามารถใช้ระบบการชำระเงิน เช่น ในสหรัฐฮูเบอร์ใช้บริการวีซ่าไดเร็ก โดยส่งเงินที่คนขับรถฮูเบอร์ได้รับจากลูกค้าเข้าระบบกลางก่อน ซึ่งสร้างประสิทธิภาพได้สะดวก รวดเร็ว 
“ ดังนั้นในอีโคซิสเต็มต้องช่วยกันโปรโมทออฟชั่นให้กับเอสเอ็มอีมีตัวช่วย  เพราะวันนี้ถ้าเริ่มจากศูนย์จะเหนื่อยหรือการทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพซึ่งมีความเชี่ยวชาญมาร่วม”
ส่วนตัวยังยืนยันว่า SMEต้องพิจารณาว่าในกลุ่มมีห่วงโซ่ ประกอบกิจกรรมอะไรบ้าง  เพื่อเป็นSolution เป็นทางเลือกมาช่วย  ซึ่งทุกห่วงโซ่จะมีคนช่วยได้  เช่น  วีซ่าเป็นเครือข่าย หรือเน็คเวิร์ค ซึ่งรู้จักลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์ฟินเทค ซึ่งนำจุดแข็งเน็ตเวิร์คมาช่วยโดยไม่ต้องทำเองเช่นแต่ก่อนโดยเฉพาะบริษัทเล็กอาจทำได้เร็ว 
     “ หลังจากนี้สิ่งที่ยิ่งสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะปีหน้าทุกคนจะต้องหาSolutionมาหรืออาจจะไปทำองค์กรอื่นๆ ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ  คือ ทำอย่างไรให้SMEเข้าถึงเทคโนฯหรือแพลตฟอร์มในระยะยาว ซึ่งมีการอัพเดต ในแง่ของการช่วยเหลือที่ควรจะมีตัวกลางสำหรับทุก ภาคส่วนไม่ใช่เฉพาะธปท.”

เตือนSME อย่ายึดติดโมเดลธุรกิจเดิม
นางสาวอรนุช  เลิศสุวรรณกิจ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง Techsauce Media และอุปนายกสมาคม Thailand  Tech  Startup Association กล่าวยอมรับว่า  ปกติงาน Tech Sauce Global  Summit  จะมีผู้เข้าชมงาน 50ประเทศประมาณ 1.5หมื่นคนจากทุกมุมโลก   เผชิญสถานการณ์ท้าทายเดินทางมาไม่ได้ ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็น ไฮบริดจ์ แทน ซึ่งจะมีทั้งออนไลน์และออฟไลน์  อย่างไรก็ตาม  ในฟากของสตาร์ทอัพโดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวและการเดินทางนั้นทั้งขายแพกเกจทัวร์ ทุกคนต้องลดต้นทุนและปรับตัวเพื่อหารายได้ เช่น ที่ปรึกษาหรือ รับจ้างเขียนซอฟแวร์  แต่ธุรกิจฟินเทคเป็นช่วงขาขึ้น อานิสงก์จากอีคอมเมิร์ช โดยเห็นได้จากต้นปีที่ผ่านมา สตาร์ทอัพที่ได้รับการระดมทุนส่วนใหญ่เป็นฟินเทค หรือกลุ่มที่มีDATA สามารถ ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็ก เช่น  เทคโนโลยีเกษตร “Ricult”  ของธนาคารกรุงศรีฯช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งแนวโน้มจะได้เห็นการปล่อยสินเชื่อ ไมโครเลนดิ้ง  และเห็นความร่วมมือมากขึ้นระหว่างสตาร์ทอัพกับธุรกิจรายใหญ่  แต่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอียังเหนื่อย โดยยังมีเสียงสะท้อน SMEบางรายที่ยังเข้าไม่ถึง หากจะมีช่องทางอื่นน่าจะช่วยรายเล็กได้
เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ร้านค้าหรือ SMEต้องมีSolution  ให้กับลูกค้าขณะเดียวกันเปิดโอกาสให้ธุรกิจ  เพราะหากไม่เปิดรับบัตรเครดิต หรือ QR Code หรือช่องทางชำระเงินที่หลากหลายจะเสียโอกาส รองรับคนรุ่นใหม่  
สำหรับเจ้าของหรือSMEจำเป็นต้อง ปรับMind Setและปรับกระบวนการทำงานใหม่  เพราะความล้มเหลว เป็นหนึ่งในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์  จึงควรจะทดลองโปรดักต์อะไรก็ได้และวนลูฟให้ไว  ที่สำคัญอย่ายึดติดกับโมเดลธุรกิจเดิมซึ่งอาจจะใช้ไม่ได้แล้วในเวลานี้ โดยต้องเกลี่ยงานหรือOperationเดิมๆ แต่อีก 20%ต้องมองหาโอกาสใหม่ๆ โดยเจ้าของSMEต้องจัดเวลาใหม่ให้คุณค่ากับการหารูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ไม่งั้นจะหยุดอยู่กับที่
“อยากให้ภาครัฐพิจารณาให้ Incentive  ระหว่างSMEกับคนที่ทำSolution Startup กับการซื้อขายสนับสนุนระหว่างกัน เช่น มาตรการทางภาษีเพื่อลดหย่อนในการทรานฟอร์ม  นอกจากนี้ตัวอย่างการทำงานระหว่างกระทรวงดิจิทัลและกรมสรรพากร  หากมีกิจกรรมเกิดขึ้นในหลายกระทรวงค้นหาSolutionทำงานร่วมกับภาครัฐก็จะได้Solutionที่ดีไปเวิร์คต่อและช่วยหนุนให้สตาร์ทอัพอยู่รอดได้ในช่วงวิกฤติ ที่สำคัญหลังจากนี้ขอให้มอง Worst Case Scenario เอาไว้ให้มาก”
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-ปรับMind Setพลิกวิกฤตเป็นโอกาส

-เอสซีบี อบาคัส แนะ “เงินทันเด้อ”สินเชื่อออนไลน์ตอบโจธุรกิจรายย่อย

-ก.ล.ต. จัดสัมมนาออนไลน์ “SEC Fintech Virtual Seminar 2020”