ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดธปท.เล็งออกมาตรการลดแรงกดดันค่าเงินบาท

04 มิ.ย. 2563 | 10:47 น.

ธปท. จับตา 2ปัจจัย “ธุรกรรมของกลุ่มผู้ค้าทองคำ-การกลับเข้ามาพักเงินระยะสั้นอีกครั้งของนักลงทุนต่างชาติ" หลังเห็นสัญญาณทยอยซื้อบอนด์อายุต่ำกว่า 1ปี

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมิน ธปท. จับตา 2ปัจจัย “ธุรกรรมของกลุ่มผู้ค้าทองคำ-การกลับเข้ามาพักเงินระยะสั้นอีกครั้งของนักลงทุนต่างชาติ หลังเห็นสัญญาณทยอยซื้อบอนด์อายุต่ำกว่า 1ปี”

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดช่วงที่เหลือ เงินบาทยังมีโอกาสแข็งค่าไปอยู่ในกรอบ 31.00-31.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ประเมิน ธปท. จับตา 2ปัจจัย “ธุรกรรมของกลุ่มผู้ค้าทองคำ-การกลับเข้ามาพักเงินระยะสั้นอีกครั้งของนักลงทุนต่างชาติ หลังเห็นสัญญาณทยอยซื้อบอนด์อายุต่ำกว่า 1ปี”อาจออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทในระยะข้างหน้า

 จากผลของเงินดอลลาร์ฯ ที่อ่อนค่าลงตามสัญญาณพร้อมผ่อนคลายด้วยทุกเครื่องมือทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกอบกับมีปัจจัยอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่มีความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก ที่ส่งผลทำให้เงินบาทมีแรงหนุนในด้านแข็งค่ามากขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุถึงปัจจัยที่สนับสนุนการแข็งค่าเงินบาท ประกอบด้วย  1.การส่งออกทองคำ หนุนดุลการค้าถึงกว่า 98% ในเดือนเม.ย. 2563 ขณะที่ความกังวลต่อความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปทั่วโลกหนุนราคาทองคำ จากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยที่มากขึ้น
    จากยอดการเกินดุลการค้าของไทยที่ระดับ 2,462 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนเม.ย. นั้น เป็นผลมาจากยอดสุทธิของการส่งออกทองคำ (ส่งออกทองคำ หักนำเข้าทองคำ) ถึง 2,427 ล้านดอลลาร์ฯ โดยในช่วงดังกล่าว “ปริมาณ” การส่งออกทองคำของไทยเร่งตัวขึ้นกว่า 90% เป็น 46,732 กิโลกรัม หรือ 1.8 เท่า เมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกเฉลี่ยที่ 25,500 กิโลกรัมต่อเดือนในช่วงไตรมาสแรก ขณะที่ “ราคา” ทองคำในตลาดโลกทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบกว่า 7 ปีที่ 1,747.74 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ในเดือนเม.ย. ขณะที่ คาดว่า สถานการณ์ดังกล่าว จะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักในเดือนพ.ค. เพราะราคาทองคำทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 7 ปีครั้งใหม่ที่ 1,765.30 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ในช่วงกลางเดือนพ.ค. และยังทรงตัวในกรอบสูงหลังจากนั้น
 
2. การปรับสถานการณ์ลงทุนและประเด็นด้านสภาพคล่อง โดย “เงินทุนฝั่งไหลเข้า”  มีจำนวนที่มากกว่า “เงินทุนฝั่งไหลออก” 
ส่วนทิศทาง เงินบาทระยะข้างหน้ายังมีโอกาสแข็งค่าไปอยู่ในกรอบ 31.00-31.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ได้ในช่วงที่เหลือของปี 2563

ขณะที่ธปท. ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ของเงินบาทอย่างใกล้ชิด โดยเน้นการดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผิดไปจากปัจจัยพื้นฐาน เพื่อเลี่ยงผลกระทบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และจากสัญญาณล่าสุด สะท้อนว่า ธปท. น่าจะอยู่ระหว่างการติดตามธุรกรรมทางการเงินที่อาจจะมีผลต่อความผันผวนของเงินบาทใน 2 ส่วน ได้แก่ 1.ธุรกรรมของกลุ่มผู้ค้าทองคำ โดยเฉพาะในช่วงที่ปริมาณการส่งออกทองคำยังอยู่ในระดับสูง และ 2. การทยอยกลับเข้าซื้อพันธบัตรระยะต่ำกว่า 1 ปีซึ่งสะท้อนการกลับเข้ามาพักเงินระยะสั้นอีกครั้งของนักลงทุนต่างชาติ และอาจพิจารณามาตรการเพิ่มเติมเพื่อลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทในระยะข้างหน้า

อ่านฉบับเต็ม https://medias.thansettakij.com/media/pdf/2020/1591268079.pdf