สูญ1.4หมื่นล. ลดพาร์เหลือ1สต. ฟื้นฟูการบินไทย-เพิ่มทุน8หมื่นล.

27 พ.ค. 2563 | 07:05 น.

การบินไทยเดินเข้าสู่โหมดฟื้นฟูกิจการเต็มตัว หลังยื่นต่อศาลล้มละลายกลาง ตั้ง 6 อรหันต์เป็นผู้บริหารแผน ทำงานคู่กับอีวาย-เบเคอร์ฯ ที่ปรึกษา วงในเผยต้องลดพาร์เหลือ 1 สตางค์ ซื้อใจเจ้าหนี้รับแผนลดหนี้-แปลงหนี้เป็นทุน ที่ต้องใส่เงินเพิ่มทุนอีก 8 หมื่นล้าน มาทำธุรกิจการบิน   

คณะกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI  ประกอบด้วย พล.อ.อ. ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ประธานกรรมการ พล.อ.เอก ชาญยุทธ ศิริธรรมกุล นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล  รองประธานกรรมการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (รักษาการ) นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ นายวัชรา ตันตริยานนท์ พล.อ.อ.อำนาจ จีระมณีมัย นางสาวนิตยา ดิเรกสถาพร นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค นายบุญทักษ์ หวังเจริญ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร และนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์   ที่เป็นกรรมการ จะทำงานด้านปฏิบัติการการบินเพื่อสร้างรายได้ควบคู่ไปกับคณะผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ 6 คน ที่ได้รับการเสนอชื่อต่อศาลจากบริษัท การบินไทย เพื่อจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการเสนอต่อเจ้าหนี้ทั้งหมดภายใน 2 เดือน

สูญ1.4หมื่นล. ลดพาร์เหลือ1สต. ฟื้นฟูการบินไทย-เพิ่มทุน8หมื่นล.

ขณะที่ผู้บริหารแผน 6 คนประกอบด้วยพล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ นายจักรกฤศฏิ์ นายพีระพันธุ์ นายบุญทักษ์ หวังเจริญ นายไพรินทร์ และนายปิยสวัสดิ์ จะทำหน้าที่เสนอแผนทั้งหมด โดยมีบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายและบริษัท อีวาย คอร์ปอเรท เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ EY เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟู 

คณะผู้บริหารแผนจะจัดทำแผนฟื้นฟูเพื่อเสนอต่อเจ้าหนี้ โดยแผนเบื้องต้นจะทำการลดทุนจดทะเบียนจากหุ้นละ 10 บาท เหลือ 1 สตางค์ เพื่อรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนนำเสนอแผนต่อเจ้าหนี้ จากนั้นจึงจะมีการเพิ่มทุนอีก 5-8 หมื่นล้านบาท เพื่อให้การบินไทยเดินหน้าต่อไปได้

คลังเสียหายหนัก

การลดทุนจดทะเบียนเหลือหุ้น 1 สตางค์ จะก่อให้เกิดความสูญเสียต่อผู้ถือหุ้น โดยกระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 1,044.93 ล้านหุ้น คิดเป็น 47.86% ของทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วหลังจากขายหุ้น 69 ล้านหุ้นหรือ 3.17% ให้กับกองทุนวายุภักษ์ 1 ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนวายุภักษ์ 1 เพิ่มจาก 330.08 ล้านหุ้นเป็น 399.08 ล้านหุ้น คิดเป็น 18.29% ส่วนบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ฯ ถือหุ้น 71.65 ล้านหุ้นคิดเป็น 3.28% และธนาคารออมสิน 46.41 ล้านหุ้นคิดเป็น 2.13%่ 

สูญ1.4หมื่นล. ลดพาร์เหลือ1สต. ฟื้นฟูการบินไทย-เพิ่มทุน8หมื่นล.

ดังนั้นกระทรวงการคลังจะสูญเสียไป 10,438.85 ล้านบาท กองทุนวายุภักษ์ 1 จะสูญเสียไป 3,986.80 ล้านบาท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จะสูญเสียไป 715.78 ล้านบาท และธนาคารออมสินจะสูญเสียไป 463.63 ล้านบาท  ขณะเดียวกันการบินไทยยังมีแผนจะเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 5-8 หมื่นล้านบาท ดังนั้นหากผู้ถือหุ้นใหญ่ต้องการรักษาสัดส่วนการถือหุ้นไว้ กระทรวงการคลังจะต้องใส่เงินเข้าไปอีก 2.35-3.82 หมื่นล้านบาท กองทุนวายุภักษ์ 1 เพิ่มทุนอีก 1.46 หมื่นล้านบาท ไทยเอ็นวีดีอาร์ 2,624 ล้านบาทและ ธนาคารออมสิน 1,704 ล้านบาท 

อย่างไรก็ตามหากคิดต้นทุนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังที่มีต้นทุนอยู่หุ้นละ 14 บาท เท่ากับว่ากระทรวงการคลังจะเสียหายจากการลดทุนครั้งนี้ 1.4 หมื่นล้านบาท

นอกจากนั้น เจ้าหนี้สถาบันการเงิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธนาคารรัฐ จะมีการแปลงหนี้เป็นทุน เพื่อให้เงินกู้ยืมอีก 50,000 ล้านบาท โดยธนาคารกรุงไทยเป็นเจ้าหนี้ 8,000 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 3,000 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า 437 ล้านบาท และธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย 

สูญ1.4หมื่นล. ลดพาร์เหลือ1สต. ฟื้นฟูการบินไทย-เพิ่มทุน8หมื่นล.

รื้อขายตั๋วเครื่องบิน

แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัท การบินไทย เปิดเผยกับ“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ การบินไทยจะควบคุมค่าใช้จ่าย เพื่อรักษาค่าใช้จ่ายคงที่ไม่ให้เกิน 2-3 พันล้านบาทต่อเดือน และเจรจายืดหนี้ได้บางส่วน เพื่อให้การบินไทยมีเงินสดเฉลี่ยราว 5 พันล้านบาทต่อเดือน ซึ่งถ้ารักษาค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้ตามนี้ การบินไทย ก็จะมีสภาพคล่องที่พอไปได้อีกหลายเดือน 

นอกจากนั้นยังมีแผนการเพิ่มรายได้ จะรื้อโครงสร้างการขายตั๋วโดยสารใหม่ โดยจะเพิ่มช่องทางการขายตั๋วผ่านออนไลน์ให้เพิ่มเป็น 90% ลดการขายตั๋วผ่านระบบเอเยนต์ รวมถึงยกเลิกการให้อินเซนทีฟ ในการขายตั๋วของเอเยนต์ในการทำเป้าขายตั๋ว และลดเวลาการให้เครดิตลงจากเดิมสูงสุด 90 วันไปจนถึง 6 เดือน

สูญ1.4หมื่นล. ลดพาร์เหลือ1สต. ฟื้นฟูการบินไทย-เพิ่มทุน8หมื่นล.

“ที่ผ่านมา การบินไทยให้ความสำคัญกับเอเยนต์เมืองนอกมาก เอเยนต์บล็อกที่นั่งไว้ เพื่อนำไปขาย พอขายไม่ได้ใกล้ๆ วันที่จะบินมักจะปล่อยที่นั่งออกมาตอนใกล้ๆ ซึ่งขายไม่ทัน ทำให้เครื่องว่าง และยังต้องคุมราคาขายตั๋วของการบินไทยให้ต่ำกว่าบเอเยนต์ด้วย แต่ขณะนี้ได้รื้อใหม่หมดให้ขายตั๋วออนไลน์ 90% ยกเว้นเอเยนต์ในต่างประเทศ”

สูญ1.4หมื่นล. ลดพาร์เหลือ1สต. ฟื้นฟูการบินไทย-เพิ่มทุน8หมื่นล.

การปรับโครงสร้างการขายตั๋วที่จะเกิดขึ้น จะทำให้การบินไทยมีรายได้จากการขายตั๋วเพิ่มขึ้น จากในช่วงที่ผ่านมาการบินไทย จะขาดทุนในแต่ละเส้นทางทั้งๆที่ผู้โดยสารหลายเส้นทางมีผู้โดยสารกว่า 80% จุดหลักมาจากการขาดทุนในการขายบัตรโดยสารจากเส้นทางบินต่างๆ ทั้งของการบินไทย และสายการบินไทยสมายล์ โดยปี 2561 การบินไทย มีกำไร 59 เส้นทาง ขาดทุน 48 เส้นทาง

ในปี 2562 การบินไทยมีรายได้จากการขายตั๋วเครื่องบิน 1.3 แสนล้านบาท มีกำไร 39 เส้นทาง ขาดทุน 60 เส้นทางโดยเป็นยอดขายจากต่างประเทศ 1.1 แสนล้านบาท ยอดขายในไทย 3 หมื่นล้านบาท (ขายผ่านเอเยนต์ 1.5 หมื่นล้านบาท ขายผ่านเว็บ 8.9 พันล้านบาท ที่เหลือช่องทางอื่นๆ) 

ขณะที่การดำเนินงานของหน่วยธุรกิจต่างๆ ต่างมีกำไรในปีที่ผ่านมา ครัวการบินมีกำไร 2 พันล้านบาท คาร์โก กำไร 3 พันล้านบาท การซ่อมบำรุงอากาศยาน ขาดทุนราว 200-300 ล้านบาท ดังนั้นหากปรับโครงสร้างการขายใหม่เน้นทางออนไลน์มากขึ้นการบินไทยก็จะมีรายได้จากการขายตั๋วเพิ่มมากขึ้น และมีสภาพคล่องทางการเงินได้

1 ในคณะผู้ทำแผนฟื้นฟู เปิดเผยว่าปัญหาใหญ่ของการบินไทยคือทำอย่างไรที่สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้จะอนุมัติเงินกระยะสั้นสัก 2-3 หมื่นล้านบาท เพื่อนำมาในช้ในการทำธุรกิจ

หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ  ฉบับที่ 3,578 วันที่ 28 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตา "ไพรินทร์ "อาจถอนตัว"ผู้ทำแผน-บอร์ด"การบินไทย"

ด่วน! ศาลล้มละลาย รับฟื้นฟู "การบินไทย" พักชำระหนี้ทันที