ปตท.ปี 62กำไรสุทธิ 92,951 ลบ. ลด22% ปันผล1.10บ./หุ้น

21 ก.พ. 2563 | 00:07 น.

ปตท.ปี 62 กำไรสุทธิ 92,951 ล้านบาท ลดลง 22.3% เหตุผลดำเนินงานกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศและธุรกิจน้ำมันลดลง ภาระหนี้สินและดอกเบี้ยเงินกู้ ประกาศจ่ายปันผล 1.10 บาท/หุ้น วันที่ 30 เม.ย.นี้ 

 

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)หรือ PTT รายงานผลการดำเนินงานปี 2562 โดยบริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจ่านวน 2,219,739 ล้านบาท ลดลง 116,416 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.0 จากปี 2561โดยหลักลดลงจากธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และธุรกิจน้ำมันลดลง จากราคาขายเฉลี่ยผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีที่ลดลงตามราคาน้่ามันดิบ แม้ว่าจะมีรายได้ขายเพิ่มขึ้นจากธุรกิจเทคโนโลยีและวิศวกรรม (GPSC เข้าซื้อ GLOW) ธุรกิจส่ารวจและผลิตฯ (จากปริมาณขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากการเข้าซื้อสัดส่วนการลงทุนเพิ่มในโครงการบงกชการเข้าซื้อ Murphy และ Partex ในปี2562และราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น) รวมถึงกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติโดยหลักจากธุรกิจจัดหาและ จัดจ่าหน่ายก๊าซฯ (ปริมาณขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น)

EBITDA บริษัทปี 2562 มีจำนวน 288,972 ล้านบาท ลดลง 62,424 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.8 จาก 351,396 ล้านบาท ในปี 2561 สาเหตุหลักจากผลการด่าเนินงานของกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นปรับลดลงตามส่วนต่างราคาที่ลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ทั้งปิโตรเลียมและปิโตรเคมีแม้ว่าในปี 2562 มีก่าไรจากสต๊อกน้่ามันประมาณ 2,800 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2561 มีขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันประมาณ 6,900 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากราคาน้่ามันดิบในปี 2562 มีความผันผวนน้อยกว่าปี 2561

เช่นเดียวกับกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติที่มีผลการด่าเนินงานลดลง โดยหลักจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ตามก่าไรขั้นต้นที่ลดลงจากราคาขายตามราคาอ้างอิงปิโตรเคมีที่ปรับลดลงมาก ในขณะที่ต้นทุนก๊าซฯ ปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ดีกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีและวิศวกรรมที่มีผลการด่าเนินงานดีขึ้นโดยหลักจากการเข้าซื้อ GLOW ของ GPSC ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562และผลการด่าเนินงานของธุรกิจส่ารวจและผลิตฯ ปรับเพิ่มขึ้นตามรายได้ขายที่เพิ่มขึ้นตามกล่าวข้างต้น

ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ่าหน่ายในปี 2562 มีจ่านวน 133,204 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,611 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.8 จาก123,593 ล้านบาท ในปี 2561โดยหลักมาจากธุรกิจเทคโนโลยีและวิศวกรรมจากการเข้าซื้อ GLOW ของ GPSC และธุรกิจส่ารวจและผลิตฯ จากการเข้าซื้อสัดส่วนลงทุนเพิ่มในโครงการบงกช (เพิ่มร้อยละ 22.2) และโครงการ Murphy ในประเทศมาเลเซีย และ Partex บริษทั ปตท. จำกัด (มหาชน)

ในปี 2562 มีส่วนแบ่งก่าไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้าและบริษัทร่วมจ่านวน 6,008 ล้านบาท ลดลง 2,507 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.4จาก 8,515 ล้านบาท ในปี 2561โดยหลักลดลงจาก PTTAC ที่ผลการด่าเนินงานปรับลดลงตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์AN และ MMA ที่ลดลง รวมถึงผลการด่าเนินงานที่ลดลงของ HMC จากเงินปันผลรับและส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของ PP ที่ลดลง

บริษัทมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น 8,959 ล้านบาท จาก 6,354 ล้านบาท ในปี2561 เป็น 15,313 ล้านบาท ในปี 2562โดยหลักมาจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นแล้วและยังไม่เกิดขึ้นจากการแปลงค่าลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น ของ PTTEP และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการแปลงค่าเงินกู้ยืมและเจ้าหนี้สกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นของ GC และ ปตท. จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากกว่า ปี 2561(ปี 2562 เงินบาทแข็งค่า 2.28 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2561ในขณะที่ปี 2561 เงินบาทแข็งค่า 0.24 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2560) 

นอกจากนี้ในปี 2562 บริษัทมีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจ่า (Non-recurring Items) ได้แก่ ค่าชดเชยเพิ่มเติมตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ของกลุ่ม ปตท. ตามที่ได้กล่าวข้างต้นจ่านวน 4,219 ล้านบาท ค่าความเสียหายของคดีความและ ค่าเผื่อด้อยค่าท่อส่งก๊าซฯ ของ ปตท. จ่านวน 2,105 ล้านบาท และ 498 ล้านบาท ตามล่าดับ รวมทั้ง IRPC มีการรับรู้การกลับรายการด้อยค่าสินทรัพย์และรายได้ค่าปรับจากการรับประกันผลงานก่อสร้างของโครงการ UHV (Warranty Claim) จ่านวน 770 และ 271 ล้านบาท ตามล่าดับ

ภาษีเงินได้ ลดลง 20,658 ล้านบาท หรือร้อยละ 38.5จาก 53,647 ล้านบาท ในปี 2561เป็น 32,989 ล้านบาท ในปี2562โดยหลักมาจากผลการด่าเนินงานโดยรวมของกลุ่ม ปตท. ที่ลดลง และภาษีเงินได้ที่ลดลงของ PTTEP ตามผลกระทบของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากกว่าปีก่อน รวมถึงในปี2561 ปตท. มีค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้สุทธิที่เกี่ยวข้องกับปรับโครงสร้างหน่วยธุรกิจน้ำมัน จ่านวน 6,033 ล้านบาท

ณ วันที่ 31ธันวาคม 2562 บริษัทและบริษัทย่อยมีหนี้สินรวมจำนวน 1,183,399 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ 31 ธันวาคม 2561 จ่านวน 147,282 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.2 โดยมีสาเหตุหลักมาจากหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 115,334 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.2 โดยหลักเป็นผลจากการกู้ยืมของ GPSC เพื่อซื้อกิจการ GLOW รวมถึงเงินกู้ระยะยาวและหุ้นกู้ที่เพิ่มขึ้นของ PTTEP GC และ TOP

จากที่กล่าวข้างต้น ส่งผลให้กำไรสุทธิของ ปตท. และบริษัทย่อยในปี2562 มีจำนวน 92,951 ล้านบาท ลดลง 26,696 ล้าน บาท หรือร้อยละ 22.3 จากจ่านวน 119,647 ล้านบาท ในปี 2561 

ส่วนผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 4 ปี 2562  บริษัทมีกำไรสุทธิจำนวน 17,446 ล้านบาท ลดลง 10.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิจำนวน 19,501 ล้านบาท เนื่องจาก EBITDA ที่ลดลง หลังค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากของกลุ่มเทคโนโลยีและวิศวกรรมจากการเข้าซื้อกิจการบริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW) ของบริษัทโกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) และธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมตามปริมาณการผลิตท่ีเพิ่มขึ้นของโครงการตามที่กล่าวข้างต้น 

นอกจากนี้บริษัทยังรับรู้ค่าความเสียหายของคดีความของข้อพิพาทตามสัญญาโครงการท่อก๊าซฯ (ไทรน้อย-โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ/ใต้) จำนวน 2,105 ล้านบาท และการตังค่าเผื่อด้อยค่าท่อส่งก๊าซฯ เพื่อส่งมอบพื้นที่ในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินจำนวน 498 ล้านบาท 

ที่ประชุมคณะกรรมการปตท.คร้ังที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ยังมีมติเห็นชอบในเห็นจัดสรรกำไรสุทธิและการจ่ายเงินปันผล สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2562 ในอัตราหุ้นละ 2.00 บาท จำนวน 28,562,996,250 หุ้น รวมเป็นเงิน 57,126 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักเงินปันผลระหว่างกาล สำหรับผลประกอบการ 6 เดือนแรกของปี2562 ในอัตราหุ้นละ0.90 บาท คิดเป็นเงิน 25,707ล้านบาท ที่ได้จ่ายให้กับผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 คงเหลือเป็นเงินปันผลที่จะจ่ายสำหรับผลการดำเนินงาน 6 เดือนหลังของปี 2562 อีกในอัตราหุ้นละ 1.10 บาท คิดเป็นเงิน 31,419  ล้านบาท โดยกำหนดจ่ายในวันที่ 30 เมษายน 2563