แล้งสะเทือน สินเชื่อข้าว 1.64 แสนล้าน

20 ก.พ. 2563 | 23:40 น.

ทีเอ็มบีชี้ “ภัยแล้ง”จะกระทบสินเชื่อข้าวในระบบ 1.64 แสนล้าน จี้แบงก์ออกมาตร การดูแลลูกค้าภาคเกษตร หวั่นกระทบปากท้องประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ด้านธ.ก.ส.แจงมีมาตรการดูแลครอบคลุมทั้งระยะสั้น กลาง และยาว ยันไม่กระทบหนี้เสีย 

 

อย่างที่รู้กันว่าปีนี้จะเป็นปีที่ไทยประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก โดยสถานการณ์นํ้าล่าสุด วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ของกรมชลประทาน พบว่าสภาพนํ้าในอ่างเก็บนํ้าขนาดใหญ่และขนาดกลาง  ปริมาตรนํ้าในอ่าง 42,656 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ..) คิดเป็ 56%         ขณะที่มีนํ้าใช้การได้ 18,888 ล้านลบ.. คิดเป็ 36% เท่านั้น ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์(บล.) ทิสโก้ฯ ออกบทวิเคราะห์ว่า สถานการณ์นํ้าในเขื่อนเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ลดลงตํ่ากว่าระดับนํ้าในปี 2558 ซึ่งเป็นปีล่าสุดที่เกิดภัยแล้งรุนแรงและก่อให้เกิดความเสียหายถึง 1.6 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะภาคกลางและภาคตะวันออก ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวนาปรัง ได้รับความเสียหาย ขณะที่การปลูกข้าวนาปรังในบริเวณลุ่มนํ้าเจ้าพระยาล่าสุดสูงถึง 2.83 ล้านไร่  มากกว่าแผนที่กำหนดไว้ถึง 1.78 ล้านไร่ ที่อาจได้รับความเสียหายจากการขาดแคลนนํ้าในการเพาะปลูก

นายนริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่า เกษตรกรโดยรวมทุก Sector ในปีนี้มีแนวโน้มจะเติบโตลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบ จากภัยแล้ง ซึ่งสะท้อนอาการหนักมากกว่าวิกฤติภัยแล้งปี 2557 ที่มีปริมาณนํ้าในเขื่อนอยู่ที่ 51,000 ล้านลบ.. เทียบกับปีนี้อยู่ที่ 44,000 ล้านลบ.. ขณะที่ปริมาณนํ้าฝนยังตํ่าสุดในรอบ 7-8 ปีที่ผ่านมา โดยปีนี้อยู่ที่ระดับ 1,384  มิลลิเมตร

แล้งสะเทือน สินเชื่อข้าว 1.64 แสนล้าน

ทั้งนี้ในแง่ผลกระทบจากปัจจัยภัยแล้ง ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่างและภาคอีสาน เพราะผลผลิตนอกฤดูกาล โดยเฉพาะการปลูกข้าวหรือมันสำปะหลังที่ต้องอาศัยแหล่งนํ้าจากเขื่อน เห็นได้จากการปลูกข้าว ในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ส่วนมันสำปะหลังจะอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกกับภาคอีสาน

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจของ TMB Analytics พบว่าอัตราการเติบโตเฉพาะสินเชื่อข้าวในระบบธนาคารพาณิชย์ปี 2562 อยู่ที่ประมาณ 1.64 แสนล้านบาท ลดลงจากปี 2561 โดยในส่วนของมูลค่าสินเชื่อ 1.64 แสนล้านบาทนั้น กระจายตัวอยู่ในรายเล็ก ซึ่งมียอดขายตํ่ากว่า 100 ล้านบาท ยอดสินเชื่ออยู่ที่ 4.8 หมื่นล้านบาท, รายกลางที่มียอดขายตั้งแต่ 100-1,000 ล้านบาท มีสินเชื่อ 5.9 หมื่นล้านบาทและรายใหญ่ที่มียอดขายตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป มียอดใช้สินเชื่อ 5.7 หมื่นล้านบาท

 

แล้งสะเทือน สินเชื่อข้าว 1.64 แสนล้าน

สมเกียรติ กิมาวหา

อัตราการเติบโตของสินเชื่อข้าว ทุกกลุ่มปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่น รายใหญ่ปีที่ผ่านมาติดลบ 13% จากก่อนหน้าที่เคยเติบโตถึง 20% หากปีนี้นับรวมภัยแล้ง แนวโน้มการให้สินเชื่อใหม่คงยากขึ้น เพราะคุณภาพสินเชื่อเดิมมีความเปราะบางมาก เห็นได้จากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)สูงถึง 15.9% หรือประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท และหนี้ที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) 7.2% หรือประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2561 ค่อนข้างมาก ดังนั้นแบงก์ในระบบคงต้องเน้นดูแลลูกค้าให้อยู่รอดผ่านไปได้

นายนริศกล่าวว่า ต่อไปธนาคารพาณิชย์คงจะต้องมีมาตรการดูแลลูกค้าภาคเกษตร  โดยเฉพาะสินเชื่อข้าว ที่มีประมาณ 1.64 แสนล้านบาท ซึ่งหากรวมสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(...)ย่อมมีจำนวนไม่น้อยทีเดียว ที่สำคัญผลกระทบที่เกิดขึ้นในภาคเกษตร จะส่งผลกระทบ เรื่องปากท้องของเกษตร กรและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

ขณะที่นายสมเกียรติ กิมาวหา ผู้ช่วยผู้จัดการ ... กล่าวว่า ธนาคารไม่ได้รับผลกระทบเรื่องหนี้เอ็นพีแอลจากภัยแล้ง เนื่องจากได้ยืดการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้าออกไป 2 ปี ให้ครบกำหนดชำระในปี 2564 ถือว่าครอบคลุมระยะเวลาที่จะเกิดภัยแล้งรอบนี้แล้ว ขณะเดียวกันยังเตรียมวงเงิน 5,000 ล้านบาท เพื่อให้กู้ฉุกเฉินรายละไม่เกิน 5 หมื่นบาท ดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน โดยเป็นเกษตรกรที่ิอยู่ในพื้นที่ประสบภัยแล้งตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ของกระทรวงมหาดไทย

 

ขณะนี้เกษตรกรที่เป็นลูกค้าธ...ไม่ต้องกังวล เพราะเรามีมาตรการรองรับทั้งระยะสั้น กลางและยาวแล้ว โดยหลังจากประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ว จะเข้าไปดูว่ามีเกษตรกรประสบเหตุเท่าไหร่ สิทธิของเกษตรกรคืออะไร มีการทำประกันภัยไว้หรือไม่ หากเงินชดเชยประกันภัยไม่พอจะได้เงินกู้ฉุกเฉิน ถือว่ามีการดูแล 2-3 ระบบ ทั้งประกันภัย เงินยังชีพมีเงินเพิ่มให้ ขณะที่ภาระหนี้ก็ยืดออกไปแล้ว

สำหรับแผนการปล่อยสินเชื่อธ...ในปีงบ ประมาณ 2563 (ปีบัญชี 1 เมษายน 2563 -31 มีนาคม 2564) ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่ 6.2 หมื่นล้านบาท  โดยจะเป็นสินเชื่อใหม่จากโครงการประชารัฐสร้างไทยเข้ามาประมาณ 1-1.5 หมื่นล้านบาท และสิ้นปีจะมียอดสินเชื่อคงค้าง 1.4  ล้านล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อนอกภาคเกษตร 2 แสนล้านบาท ที่เหลือ 1.2 ล้านล้านบาทเป็นสินเชื่อภาคเกษตร โดยเป็นเกษตรกรนาข้าวประมาณ 5-6 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม ...ยังมีสภาพคล่องส่วนเกินประมาณ 2 แสนล้านบาท ที่พร้อมจะสำรองเงินเพื่อดำเนินการตามมาตรการของรัฐบาลได้อย่างไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

หน้า 13-14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,550 วันที่ 20-22 กุมภาพันธ์ 2563