ธปท.ชี้ 4 ปัจจัยเสี่ยงในระยะข้างหน้า

21 ม.ค. 2563 | 01:39 น.

แบงก์ชาติเปิดรายงานสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน ระบุภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ชี้นาคตยังมี 4ปัจจัยเสี่ยง-ย้ำอย่ากระตุ้นประชาชนให้ติดกับดักหนี้-ห่วงกลุ่มเปราะบาง72%ผิดนัดชำระหนี้หากรายได้ลด20%พร้อมเกาะติดพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนสูงตลาดตราสารหนี้ที่ไม่ได้จัดอันดับและจี้ออกกฎกระทรวงคุมสหกรณ์ออมทรัพยทั้ง 3ด้าน “เกณฑ์จัดการสภาพคล่อง-เดรดิต-ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร”


นายสักกะภพ  พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน ระบุถึงภาพรวมเสถียรภาพระบบสถาบันการเงินอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งธุรกิจประกันภัย   ด้านฐานะการเงินการคลังต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีเช่นเดียวกันไม่ว่าจะดูจากหนี้ต่างประเทศ ต่อจีดีพี หรือเงินสำรองต่อหนี้ระยะสั้นซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่า มาตรฐานสากล และได้ดำเนินการนโยบายแม็คโครโพรเดนเชียลทำให้ลดความเปราะบางในระบบการเงินไปแล้วส่วนหนึ่ง  แต่หากมองไปข้างหน้ายังมีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง จากปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งโลก และไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ทิศทางอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ปัจจัยแวดล้อม มีความผันผวนสูงขึ้นโดยผู้เล่นที่เป็นนันแบงก์ มีบทบาทเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการนำเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาใช้จะทำให้ ความผันผวนในระบบการเงิน และการส่งผ่านระบบความเสี่ยง ทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น

โดยเฉพาะรายงานเสถียรภาพระบบสถาบันการเงินฉบับนี้(ปี2562) สะท้อน  4 ความเสี่ยง หลักๆ ได้แก่1.หนี้ครัวเรือน ยังคงอยู่ในระดับสูง  2. พฤติกรรม แสวงหาผลตอบแทนที่สูง โดยประเมินความเสี่ยงที่ต่ำ( search for yield)  3. สหกรณ์ออมทรัพย์ที่ขาดสภาพคล่อง ที่ปล่อยคู่ระหว่างกันต่อเนื่อง 4. การออกเกณฑ์สัดส่วนการปล่อยสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน(LTV) ซึ่งมีอุปทานคงค้างในภาคอสังหาริมทรัพย์

สำหรับหนี้ครัวเรือนนั้น  สถานการณ์ยังน่ากังวล  โดยมีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพียังสูงที่ระดับ 80% ซึ่งปีนี้ธปท. ประมาณการว่าหนี้ครัวเรือนยังไม่ปรับลดลงและยังขยับตัวสูง  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะสั้น เป็นหนี้เพื่อการบริโภคและมีภาระในการผ่อนชำระดอกเบี้ยค่อนข้างสูง เห็นได้จากหนี้ก้อนใหญ่มีสัดส่วน 42% เป็นสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต นอกจากนี้ในกลุ่มที่มีความเปราะบางสัดส่วน 72%เป็นกลุ่มที่ภาระหนี้สูง มีเงินออมน้อยโดยเฉพาะภาคครัวเรือนเกษตรรวมถึงผู้ใกล้เกษียณและเกษียณอายุแล้วมีเงินออมไม่เพียงพอ ซึ่งกลุ่มนี้หากรายได้ปรับลดประมาณ 20%อาจผิดนัดชำระหนี้ จึงต้องแก้ไขตั้งแต่ต้นน้ำคือ ก่อนการเป็นหนี้ที่เน้นให้ความรู้เพื่อสร้างวินัยการออมและไม่ใช้จ่ายเกินตัว ซึ่งธปท.ได้ผลักดันการให้สินเชื่อรายย่อยที่เหมาะสมไม่กระตุ้นการก่อหนี้เกินตัวกับประชาชนจนติดกับดักหนี้ ขณะเดียวกันพยายามจะสร้างมาตรฐานคำนวณสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้(DSR)และดูแลลูกหนี้ผ่านคลีนิกแก้หนี้สนับสนุนการรีไฟแนนซ์ทำให้ลูกหนี้มีภาระจ่ายหนี้ที่ลดลง

ประเด็นพฤติกรรมSearch for Yield   อาทิ ทางสหกรณ์ออมทรัพย์ ที่มีการจ่ายเงินปันผลสูงมีเงินไหลเข้ามา  โดยรายงานฉบับนี้เน้นในเรื่องตราสารหนี้  ซึ่งพบว่า ตลาดตราสารหนี้ มีการออกตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่เป็นกลุ่มที่อยู่ในระดับ ต่ำกว่าการลงทุนต่ำกว่า BBB+ลงไป และ กลุ่มที่ไม่ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นปีที่แล้ว ยอดคงค้างเพิ่มขึ้น ประมาณ 18%  สิ่งที่ธปท. กังวลคือ คนส่วนใหญ่ประมาณ 60% ที่ถือครองตราสารกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ และเป็นนักลงทุนรายย่อย ที่ได้รับข้อมูลความเสี่ยงไม่ครบถ้วน  

อีกส่วนที่สะท้อน search for you คือการลงทุนในต่างประเทศ ลักษณะของการลงทุนที่เป็นTerm Fund โดยมีการกระจุกตัวค่อนข้างสูงถึง90% ของการลงทุนต่างประเทศทั้งหมด โดยกระจุกตัวรวมกันอยู่ใน 3 ประเทศ อันดับแรก คือ จีน กาตาร์  สหรัฐ อาหรับเอมิเรตส์  ทั้งนี้หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อาจทำให้นักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจ และมีการเทขายสินทรัพย์ออกมาได้  ซึ่งในส่วนนี้สำนักงานกำกับตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์(กลต.)ได้มีการยกระดับเกณฑ์บางส่วนไปแล้วและจะมีบางส่วนที่จะทำเพิ่มในปีนี้ ใน 2 ประเด็นหลัก คือ1. เรื่องการออกและเสนอขาย การให้ข้อมูล เกี่ยวกับตราสารหนี้ให้กับนักลงทุน ให้เหมาะสมกับความเสี่ยง ที่ยอมรับได้  2.เรื่องการจำกัดเทอมฟันด์ ให้มีการกระจายการลงทุน ให้ดีขึ้นและมีการเปิดเผยข้อมูลให้กับนักลงทุน ให้ครอบคลุมขึ้น

ทั้งนี้เรื่อง search for you เรื่องที่ติดตามเพิ่มเติมคือ จะมีการติดตาม การระดมทุนที่ค่อนข้างกระจุกตัวของธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งพบว่าประมาณ 50% ของตราสารหนี้ภาคเอกชน ออกโดยกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ 20 แห่งแรก

สำหรับประเด็น สหกรณ์ออมทรัพย์นั้น ธปท. ได้ส่งสัญญาณเตือน ต่อเนื่อง แต่ยังพบการเติบโตของสินทรัพย์ แม้ว่าอัตราการโตจะชะลอลง สิ่งที่ธปท.กังวลเห็นได้จากความเชื่อมโยงของระบบด้วยกันเองโดยเฉพาะ กลุ่มสหกรณ์ที่ขาดสภาพคล่อง ส่วนใหญ่จะเป็นสหกรณ์ครู ซึ่งมีการกู้ผ่านสหกรณ์กลุ่มที่มีสภาพคล่องส่วนเกิน(Surplus)หรือกู้ชุมนุมสหกรณ์ค่อนข้างสูง  โดยเฉพาะภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง อาจจะส่งผ่านความเสี่ยงในระบบสหกรณ์ได้ง่ายขึ้น

ดังนั้น ในแง่การผลักดันเชิงนโยบาย จำเป็นจะต้องเร่งออกกฎกระทรวง ประกอบพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)สหกรณ์ ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ซึ่งธปท.อยากให้เน้นใน3ด้าน คือ 1. เกณฑ์การจัดการสภาพคล่อง ,2.ด้านเครดิต/การก่อหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ และ3.การดูแลธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสหกรณ์

ส่วนประเด็น LTV ภายหลังจากธปท.ได้ออกมาตรการ LTV เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว  จนถึงปัจจุบันจากข้อมูล 11 เดือนแรก พบว่า ทั้งในแง่จำนวนบัญชีและมูลค่าปรับตัวสูงขึ้น เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยจำนวนบัญชี ปล่อยใหม่ ยังขยายตัวได้ 10.8%มีมูลค่า 6.3%  สินเชื่อปล่อยใหม่ที่ยังเติบโตค่อนข้างดีคือ สินเชื่อแนวราบ ยังเติบโต 17.8% โดยสัญญาแรก(บ้านหลังแรก) ยังเติบโตได้ 5.6% แต่ผู้กู้สัญญาที่ 2 เป็นต้นไปได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว เห็นได้จากผู้กู้แนวสูงสัญญาที่ 2 เป็นต้นไป ปรับลดลง 31.6%

ขณะที่สถาบันการเงินมีความรัดกุมและ มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ โดยเฉพาะ ค่าเฉลี่ยของLTV ของการกู้สัญญาที่ 2 เป็นต้นไปเช่นจากเดิม 90% ลดลงเป็น 81%  นอกจากนี้ ดัชนีของราคาที่อยู่อาศัย ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะคอนโด เดิมมีการเร่งตัวค่อนข้างเร็ว ซึ่งหลังจากนี้มาตรการLTVราคา Condominium มีการปรับ ตัวขึ้นช้าลง ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ซื้อบ้านอยู่อาศัยจริง

สำหรับอุปทานคงค้าง ซึ่งสินเชื่อปล่อยใหม่แนวราบที่ยังเติบโตได้ดี ดังนั้นระยะเวลาของการขายหมดของ อุปทานคงค้างของแนวราบยังทรงตัว โดยธปท. จะติดตามอุปทานคงค้างของแนวสูงพบว่า บางพื้นที่ปรับตัวได้ช้าโดยเฉพาะพื้นที่ เพิ่งพาอุปสงค์จากต่างประเทศ ซึ่งชะลอตัวลง และพื้นที่ที่มีอุปทานคงค้าง ค่อนข้างสูงเดิมอยู่แล้ว