โหลดเลย “กันกวน” บล็อคเบอร์ ขายของ-ทวงหนี้

26 พ.ย. 2562 | 11:36 น.

ธปท.ปี 63 เตรียมปรับหลักเกณฑ์ Market Conduct ครอบคลุมแบงก์รัฐ-นาโนไฟแนนซ์-AMC จ่อประกาศชื่อผู้บริหาร 3 ระดับหากพบผิดหลักมาร์เก็ตคอนดักส์ ระบุพบบังคับขายประกันลดลงจาก 67% เหลือ 7% ล่าสุดจับมือ กสทช.พัฒนาแอปพลิเคชั่น “กันกวน” สกัดเบอร์โทรขายของ-ทวงหนี้ผิดเวลา

โหลดเลย “กันกวน” บล็อคเบอร์ ขายของ-ทวงหนี้

นางธัญญนิตย์   นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภายในปี 2563 ธปท.จะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์แนวทางส่งเสริมบริการทางการเงินที่เป็นธรรม  (Market Conduct) เพิ่มเติมหลังจากได้เริ่มทำไปในปี 2560 โดยจะขยายให้ครอบคุลมไปยังธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) นาโนไฟแนนซ์ และบริษัท บริหารสินทรัพย์ หรือ AMC โดยจะปรับปรุงแนวทางให้เหมาะสมกับประเภทธุรกิจและสถาบันการเงินในแต่ละประเภท เช่น บริษัท AMC หรือ ธุรกิจรถแลกแลกเงิน (Car for Cash) เป็นต้น   
นอกจากนี้ ธปท.จะมีการเปิดเผยการเปรียบเทียบปรับผู้บริหาร แบ่งเป็น 3 ระดับขั้น ทั้งในส่วนของกรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เพื่อให้ผู้ให้บริการขับเคลื่อนเรื่อง Market Conduct อย่างจริงจังภายใต้การยกระดับงาน 9 ด้าน โดยธปท.จะตรวจสอบแนวทางการปฏิบัติงานการขายของธนาคาร อาทิเช่น ธปท.กำหนดตรวจสอบการขายของธนาคาร 30 สาขา และพบว่าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกิน 50% สะท้อนถึงนโยบายของธนาคาร ซึ่งพนักงานระดับปฏิบัติการไม่สามารถตัดสินใจได้ เช่น การคิดค่าธรรมเนียมสินเชื่อเกิน 28% หรือกรณีที่เกณฑ์ไม่ได้เขียนไว้แต่พนักงานทำเอง ธปท.จะพิจารณาตามหลักฐานที่เกิดขึ้น 
 ทั้งนี้ ในช่วงปี 2561-2562 ธปท.ได้เข้าตรวจสอบอย่างจริงเข้มข้นและต่อเนื่องถ้าพบกรณีไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์จะลงโทษ โดยได้เปรียบปรับผู้ให้บริการจำนวน 4 ราย และเปิดเผยสาธารณชนทราบ และที่ผ่านมางานหลายเรื่องเริ่มเห็นเป็นรูปธรรม อาทิ การบังคับขายประกันร่วมกับการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ลดลงจาก 67% ในปี 2560 เหลือเพียง 7% ในปี 2561 

นางธัญญนิตย์   นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภายในปี 2563 ธปท.จะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์แนวทางส่งเสริมบริการทางการเงินที่เป็นธรรม  (Market Conduct) เพิ่มเติมหลังจากได้เริ่มทำไปในปี 2560 โดยจะขยายให้ครอบคุลมไปยังธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) นาโนไฟแนนซ์ และบริษัท บริหารสินทรัพย์ หรือ AMC โดยจะปรับปรุงแนวทางให้เหมาะสมกับประเภทธุรกิจและสถาบันการเงินในแต่ละประเภท เช่น บริษัท AMC หรือ ธุรกิจรถแลกแลกเงิน (Car for Cash) เป็นต้น   

นอกจากนี้ ธปท.จะมีการเปิดเผยการเปรียบเทียบปรับผู้บริหาร แบ่งเป็น 3 ระดับขั้น ทั้งในส่วนของกรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เพื่อให้ผู้ให้บริการขับเคลื่อนเรื่อง Market Conduct อย่างจริงจังภายใต้การยกระดับงาน 9 ด้าน โดยธปท.จะตรวจสอบแนวทางการปฏิบัติงานการขายของธนาคาร อาทิเช่น ธปท.กำหนดตรวจสอบการขายของธนาคาร 30 สาขา และพบว่าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกิน 50% สะท้อนถึงนโยบายของธนาคาร ซึ่งพนักงานระดับปฏิบัติการไม่สามารถตัดสินใจได้ เช่น การคิดค่าธรรมเนียมสินเชื่อเกิน 28% หรือกรณีที่เกณฑ์ไม่ได้เขียนไว้แต่พนักงานทำเอง ธปท.จะพิจารณาตามหลักฐานที่เกิดขึ้น 

ทั้งนี้ ในช่วงปี 2561-2562 ธปท.ได้เข้าตรวจสอบอย่างจริงเข้มข้นและต่อเนื่องถ้าพบกรณีไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์จะลงโทษ โดยได้เปรียบปรับผู้ให้บริการจำนวน 4 ราย และเปิดเผยสาธารณชนทราบ และที่ผ่านมางานหลายเรื่องเริ่มเห็นเป็นรูปธรรม อาทิ การบังคับขายประกันร่วมกับการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ลดลงจาก 67% ในปี 2560 เหลือเพียง 7% ในปี 2561 

“การเปรียบเทียบปรับที่มี 4 รายนั้น เพราะเป็นเรื่องที่พบความผิดก่อนประกาศใช้ Market Conduct แต่ในปี 63 ธปท.จะมีการเปิดเผยรายชื่อผู้บริหารด้วย โดยจะพิจารณาตามหลักฐานที่ปรากฏว่าอยู่ภายใต้กำกับสายงานใคร และเป็นเรื่องที่พนักงานสามารถทำเอง หรือเป็นนโยบายของธนาคารนั้น”  

นางธัญญนิตย์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ล่าสุดธปท.ได้ขอความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชั่น “กันกวน” ที่ออกโดยกสทช.มาใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชน โดยเฉพาะป้องกันการถูกรบกวนจาก ผู้ให้บริการทางการเงิน โดยธปท.ได้มีการออกหนังสือเวียนไปถึงสถาบันการเงิน ให้มีการส่งข้อมูล หมายเลขโทรศัพท์ ที่ให้บริการ ภายใต้ธนาคารรวมไปถึงบริษัทในเครือของธนาคารให้กสทช. เพื่อระบุเบอร์ดังกล่าวเข้าในศูนย์ข้อมูลระบบของกสทช.

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อให้คนที่โหลดแอปพลิเคชั่นมาใช้ สามารถทราบต้นตอของเบอร์โทรศัพท์ที่โทรเข้ามาได้ ว่าโทรมาจากที่ใด เช่น โทรมาจากผู้ให้บริการเกี่ยวกับบัตรเครดิต ประกัน หรือเบอร์ที่ใช้ทวงถามหนี้ และใช้บล็อกเบอร์ต่างๆ ไม่ให้โทรมานอกเวลาที่ทางการกำหนด
สำหรับ แอปพลิเคชั่น “กันกวน” จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.บัญชีสีขาว คือ White list ที่สามารถเลือกที่จะรับสาย หรือไม่รับสายได้ แต่ไม่สามารถบล็อกเบอร์ได้ เช่น เบอร์ขายประกัน ขายตรง สินเชื่อ ทวงถามหนี้ ที่สามารถกำหนดเวลาการโทร เช่น วันธรรมดาตั้งแต่ 08.00-20.00 น. และวันหยุด เวลา 08.00-18.00 น. เป็นต้น และ 2.เบอร์จากบัญชีดำ Black list ที่สามารถบล็อกเบอร์ได้ หากรบกวน สร้างความรำคาญรวมถึงโทรมาในช่วงที่เกินเวลาที่กฎหมายกำหนด