ราชสำนักสวีเดน กับการถวายพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล

05 ธ.ค. 2563 | 01:00 น.

Serafimerringningen ราชสำนักสวีเดน กับการถวายพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล

ราชสำนักสวีเดน กับการถวายพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล

 

เมื่อ 13 ตุลาคม 2560 สำนักข่าวหลายประเทศรายงานข่าวการพระราชพิธีบางประการที่ “ทางการ” สวีเดนจัดขึ้นเพื่อเทอดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช มหาราช ผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย เปนการเชิญตราของพระองค์ท่าน ในฐานะทรงเปนสมาชิกแห่งอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของสวีเดน เข้าประดิษฐาน ณ วิหารสำคัญ กลางกรุงสต็อกโฮล์ม นัยว่าเพื่อส่งเสด็จให้ได้ทรงพักผ่อน (rest) โดยสันติสุขท่ามกลางผู้คนและสถานที่ทรงเกียรติตามคติความนับถือทางคริสต์ศาสนา

 

ก็มีผู้สอบถามเข้ามามากถึงเรื่องดังกล่าว ภาษาสมัยนี้คงว่าอะไรยังไง (อย่างไร) 

 

ในทางวัฒนธรรมก็ต้องว่าเช่นนี้เหมือนป้ายบรรพชน (ที่จีนเรียก แกชิ้ง) ประดิษฐานในที่อันควร อนุชนย่อมได้สักการะบูชา

 

ในทางที่มาก็ต้องย้อนกลับไปท้าวความถึง การสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของฝ่ายคริสตชนเสียก่อน แล้วจึงจะสามารถอธิบายเกียรติยศของเครื่องราชย์สำหรับ เซราฟีม อันทรงเกียรติสูงสุดของสวีเดน ได้

 

แต่เดิมการแสดงความสําคัญของบุคคลแต่ละประเทศนั้นต่างกัน ตะวันออกอย่างเราแสดงความสําคัญของบุคคลจากเครื่องใช้ส่วนตัว อาวุธและพาหนะ (คลุมศัพท์ว่า ราชูปโภค_จำพวกเครื่องเสลี่ยง คานหาม โถหมาก ตะไกร เครื่องใช้พานรอง)  แต่ฝ่ายยุโรปแสดงความสําคัญที่เสื้อ โดยเฉพาะพวกอัศวินที่ต้องสวมเสื้อเกราะโลหะปิดหน้าปิดตัว ไม่สามารถบอกได้ว่าใครเป็นผู้ใด ดังนั้นอัศวินจึงนิยมใส่เสื้อกั๊กปัก ตราประจําตระกูลหรือสัญลักษณ์ประจำตัว บ่งบอกเอาไว้เปน Coat of Arms

ราชสำนักสวีเดน กับการถวายพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล

 

ราชสำนักสวีเดน กับการถวายพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล

 

 

นี่ข้อพื้นฐานก่อนจะไปถึงส่วนเครื่องราชย์ของฝรั่ง

 

เมื่อสงครามครูเสดเกิดขึ้นค.ศ. 1095 ชาวคริสต์พิพาทดินแดนปาเลสไตน์ คือตัวถือว่าเป็นถิ่นกําเนิดของพระเยซูเจ้า จำจะต้องพิทักษ์ไว้ให้รอดพ้นจากการครอบครองของอีกศาสนา

 

ประดากษัตริย์และศักดินา ฟยูดัล feudal ทั้งหลายในยุโรป พากันรับอาสาไปเป็นกองหน้าเข้าครูเสดกันหลายประเทศ เพราะถือเปนภาระกิจยิ่งใหญ่_สงครามศาสนา

 

ตานี้ แต่ละคณะมีเครื่องหมายบ่งสังกัดของตนเองต่างกัน พระสันตะปาปาในฐานะผู้ทรงอำนาจคริสตจักรสูงสุด (ซึ่งท่านมีฉลองพระบาทแดง_ดังได้เล่าแล้ว) จึงทรงคิดให้เครื่องหมายแก่บรรดาอัศวินนักรบทั้งหลายเสียด้วย “กางเขน” ของท่าน อันเปนการหลอมรวมความเป็นพวก ฝ่ายหรือคณะเดียวกันให้ปรากฏ นี่คือที่มาว่าเหตุใดตรากางเขนถึงปรากฏในตราประจำตัวของอัศวินโดยส่วนมาก

 

การเกิดสงครามครูเสดนี้นับเป็นครั้งแรกที่ทหารได้ทํางานร่วมกับพระ พวกทหารหรืออัศวินนี่ก็ทำบาปมามาก มักเลื่อมใสในการกิจการงานของพระ ซึ่งนอกจากปฏิบัติกิจทางศาสนาแล้ว พระยังอุทิศตนทําประโยชน์ให้สังคม เช่น สงเคราะห์ผู้เจ็บป่วย สอนหนังสือ ดังนั้นยามว่างจากการศึก อัศวินจึงเข้าไปช่วยพระทํางานสังคมสงเคราะห์!

 

ข้างพระในสมัยนั้นก็ยังแบ่งคณะไปตามความนิยมในการถือศีลและพันธกรณีต่อสังคม ต่างเรียกชื่อคณะของตนตามชื่อนักบุญที่คณะเลื่อมใส และมีศัพท์เรียกคณะของตนว่า “Order” 

 

บางสมรภูมิที่ตั้งของหน่วยทหารมิได้อยู่ใกล้กับวัด แต่พวกอัศวินยังประสงค์จะทํางานสังคมสงเคราะห์โดยลําพัง เขาเหล่านั้นจึงตั้งคณะทํางานขนานนามเหมือนกันว่า Order 

 

ทีนี้มันก็จึงเกิด Order ของพระ และ Order ของอัศวินขึ้น 

 

ตามธรรมดาในสังคมไหนๆก็ต้องเกิดการแบ่งลำดับชั้นทางสังคม พวกอัศวินนี้ ตัวเองคือ อัศวะ_อิน = คนรบบนหลังม้า มีเกียรติสูงสุด คือ Knight บางกษัตริย์ทรงเปน Knight เสียเอง และมีทีมเปนทหารชั้นรองลงมาตลอดจนเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นพลเรือน

 

เมื่อสงครามครูเสดครั้งต่อๆ มา พัฒนาเปนมหาสงคราม มีผู้เข้าร่วมรบมากขึ้น เครื่องหมายกางเขนจึงเป็นที่แพร่หลายและมีความหมายของสากลถึง ความกล้าหาญในสงคราม (และต่อมาก็ค่อยพัฒนามาเป็นเหรียญ เหรียญกล้าหาญของหลายชาติ
เปนกางเขน เช่น วิคตอเรียครอสต์ ที่เล่าไว้ในเรื่องทหารกูรข่า)

 

หลังสงครามเลิกค.ศ.๑๒๙๑ คณะอัศวินซึ่งส่วนมากมีกษัตริย์เป็นผู้นํา ก็กลับเข้าที่ตั้งเปลี่ยนตัวเองมาเป็นข้าราชสำนัก ทำหน้าที่จงรักภักดีสถาบัน/ประเทศชาติต่อไป 

 

ราชสำนักสวีเดน กับการถวายพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล

 

อันเครื่องหมายต่างๆ ของอัศวินที่แต่เดิมเป็นรูปกางเขนนั้น พอยุคภายหลังสงครามนี้แหละจึงได้ประดิษฐ์ตกแต่งให้งดงามแตกต่างตามยศชั้น ตามตําแหน่ง ตามบําเหน็จความชอบ ตามความกล้าหาญ ซึ่งได้รับพระราชทานอวยให้จากกษัตริย์ เครื่องหมายเหล่านี้ได้กลาย มาเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เพราะได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้นคําว่า Order จึงมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า “ตระกูล” ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์


 

ต่อไปจะกล่าวถึงเซราฟิม ในกรณีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ The Royal Order of Seraphim ซึ่งกษัตริย์สวีเดนทรงเปนประธานเเห่งเครื่องราชตระกูลนี้

 

พระเจ้ากรุงสวีเดนทรงเครื่องราชย์เซราฟิม

 

เซราฟ_เซราฟิม เปนเทวดาโบราณ หนึ่งในสาม สามในเก้า ที่พระเปนเจ้าในหมู่ร่วมศรัทธาดั้งเดิม (ยูดาย คริสต์ อิสลาม) ตรัสบอกไว้

 

เซราฟ_อิม ปรากฏกายในลักษณาการปีกสามคู่ คู่นึงปิดบน คู่นึงปิดล่าง คู่นึงปีกตัวเอง ถ้าแง้มปีกจะเห็นใบหน้าเยาว์ ปีกบนปิดหน้าด้วยไม่กล้าสบจ้อง_มองพระพักตร์พระเปนเจ้าโดยตรง ปีกล่างปิดเท้าด้วยกิริยาสำรวม ปีกตนใช้บินรอบพระบัลลังก์ของพระเปนเจ้า เปนเทวทูต ที่จริงควรเรียกท่านให้ตรงเผงๆว่า อัครเทวะ เนื่องจากตามดำรัสของพระเปนเจ้า เซราฟิม (หรือ เอกพจน์ เซราฟ) นั้นเปนผู้ที่อยู่ใกล้ชิดพระองค์ท่านมาก ลำดับศักดิ์คือวงศ์ชั้นหนึ่ง ลำดับหนึ่ง (เหมือนไทยทหารดีหนึ่งประเภทหนึ่ง) ตาม Dionysius the Areopagite_คัมภีร์กำหนด

 

ราชสำนักสวีเดน กับการถวายพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล

 

เซราฟ_อีม มีลำดับศักดิ์สูง เนื่องจากอยู่ใกล้พระเปนเจ้ามากที่สุด ใกล้จนแทบละลายไหม้เผาจากรัศมีแห่งพระองค์ บางคนไม่กล้าเรียกชื่อตรงๆ เรียก the burning one  ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้มีอะไรไหม้เผา เปนเรื่องตัวเซราฟเองนั้นมีแสงสว่าง แต่ไม่บังอาจอ้างว่าทำแสงได้เอง จึงอิงพระบารมีสว่างกระจ่างใจมนต์มากกว่า อารมณ์ดาวฤกษ์_ดาวเคราะห์ เปนเทวะที่ทำหน้าที่ชำระบาป อีกโสตหนึ่งด้วย

 

เซราฟ_อิม เปนเทวะผู้ภักดี ปากจะสรรเสริญพระเกียรติคุณพระเปนเจ้าว่า Holy Holy Holy ตลอดเวลา คล้ายหนุมานออกปาก นาร้ายณ์ นารายณ์ คล้ายหลวงจีนว่า อมิตาพุทธ คล้ายพ่อท่านเน ควนขนุน ว่า นะโนนุนิ_เน 

 

ตามศาสนเปรียบเทียบ_ย่อมเปนบริกรรมกรรมฐานชนิดวาจาสำรวม ประการหนึ่ง

 

เทวทูตคืออะไร_ใช่ ชาวสวรรค์นั่นหละ แต่ทว่าการอันมนุษย์แม้จะติดต่อพระองค์พระเปนเจ้าโดยตรงผ่านการ pray ได้แต่ยามพระองค์ส่งสาส์นกลับมา พวกเทวทูตนี่จะเปนผู้ติดต่อ มาในรูปนิมิตบาง กระแสบ้าง ฯลฯ

 

นึกเอาเองในที่นี้ว่า เซราฟิมนี้ท่านช่างเปนเทวดาที่สุภาพ สำรวมอย่างยิ่ง

 

Serafimerringningen ในเรื่องนี้นั้นสรุปได้ว่าราชสำนักสวีเดนทำพิธีอัญเชิญ ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ราชสำนักสวีเดน กับการถวายพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล

 

 

ราชสำนักสวีเดน กับการถวายพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล

 

เซราฟีม (Royal Order of the Seraphim) อันประกอบตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระครุฑพ่าห์ ซึ่งประทับใน Coat of Arms ส่วนพระองค์ ในฐานะทรงเปนสมาชิกอัศวินแห่งเซราฟิมขึ้นประดิษฐาน ณ พระแท่นอัศวิน เซราฟิม พระมหาวิหาร Riddarholmen กรุงสต็อกโฮล์ม แทนสัญลักษณ์ ทรงพักผ่อนในสันติภาวะนิรันดร

 

นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 หน้า 23 ฉบับที่ 3,633 วันที่ 6 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563