การปฏิรูปมนุษย์ในสังคมไทย l สุพิศาล ภักดีนฤนาถ

19 เม.ย. 2559 | 08:25 น.
ในหลายๆ ปีที่ผ่านมานี้ผมมัวแต่ยุ่งอยู่กับการทำงานให้กับระบบราชการเสียเป็นส่วนใหญ่ ตลอด 40ปี การมีอาชีพรับราชการที่น่าเบื่อหน่ายและยังซ้ำๆซากๆแบบเดิมอยู่ไม่เคยเสื่อมคลาย มีทั้งวิ่งเต้นวุ่นวายสับสนกับการรับราชการที่จะต้องเอาใจบุคคลบางจำพวก แต่ในระยะหลังๆมานี้รัฐบาลเองย่อมจะรู้ตัวมากยิ่งขึ้น จึงมีการเปลี่ยนวิธีคิดโดยยึดเอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง แต่ก็มีแต่ท่าทีก็ยังเหลวยังคงนำมาปฏิบัติและลงไปสู่ระบบรากฐานของสังคมไทยไม่ได้

เมื่อจบชีวิตราชการนั้นผมได้เตรียมตัวในการเติบโตอีกครั้งหนึ่งของชีวิตด้วยการเรียนรู้และเข้าศึกษาจนได้รับการศึกษาขั้นสูงสุดในสาขาหนึ่งของวิชาการแต่คิดว่า มันคงยังไม่พอเพียงสำหรับการเติบโตต่อไปในวัยสูงอายุซึ่งหากเป็นข้าราชการแล้วก็คงคิดว่าจะต้องกลับไปเลี้ยงหลานหรือเฝ้าบ้านให้กับลูกๆ ตื่นเช้ามาดื่มกาแฟกินข้าวกลางวันหลับบ้างนอนบ้าง บางวันก็ไปหาหมอโดยไม่คิดที่จะทำอะไรให้เกิดประโยชน์

ผมเองได้รับโอกาสจากเพื่อนที่รู้จักให้เข้ามาทำงานหลังจากที่เกษียณโดยไม่ยึดอาชีพใหม่เรียกว่ากรรมการอิสระ(Independent Director)ของบริษัทมหาชนแห่งหนึ่ง มันทำให้ผมได้เห็นความโลดแล่นและการทำงานของภาคธุรกิจซึ่งเอกชนได้ขับเคลื่อนในสังคมไทยอีกระดับหนึ่ง และเป็นเครื่องยนต์สำคัญที่สร้างความแข็งแกร่งอย่างยิ่งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ผมจึงไม่ได้หยุดนิ่งต่อความรู้และประสบการณ์ที่มียังค้นหาและหาเพิ่มความรู้นั้นด้วยการรับการอบรมหรือเข้าเรียนในหลักสูตรต่างๆของภาคเอกชนในระดับผู้บริหารสูงสุดและความรู้ที่มีความจำเป็นสำหรับอาชีพที่จะดำรงอยู่ได้ จึงพบทางสว่างอีกหลายส่วนของชีวิตที่พอจะมาบอกเล่าหรือเสนอแนะให้กับสังคมไทยของเราเพื่อให้ทันยุคของการปฏิรูปสังคม ที่รัฐบาลต้องการนักหนาจากองค์ความรู้ต่างๆและประสบการณ์ของผู้รู้ที่บอกเราให้ได้ยินได้ฟังและนำประสบการณ์ตลอดจนสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นฐานของสังคมไทยตลอดจนความก้าวหน้าของเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอลอันที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันไกลแต่ใกล้นี้

ผมจึงอยากเผยแพร่ความรู้และแนวคิดบางอย่างให้เห็นว่าหากสังคมไทยในเปลี่ยนไปบ้างก็จะดีประเทศไทยเรามีโจทย์สำคัญยิ่งจากสังคมโลกเราเป็นประเทศที่ตกอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง(Middle Trapped Income)ให้ความหมายของมันคือประชาชนทั่วไปยังมีรายได้ไม่เพียงพอในระดับปานกลาง สรุปว่าเดือนๆหนึ่งควรจะมีเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท ขึ้นไปแต่ในความเป็นจริงแล้ว ระดับพื้นฐานของสังคมไทยซึ่งเรามีอยู่ 67ล้านคนเศษนั้น ปัจจุบันนี้เรามีวัยผู้สูงอายุ 10.4 ล้านคน และกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในอีก 20 ปีข้างหน้าอันเรียกว่า Super Aged Society มันคือโจทก์ที่สำคัญยิ่งของพื้นฐานสังคมไทย แล้วเราจะช่วยกันทำอย่างไรล่ะให้มันพ้นกับดักรายได้ปานกลางและช่วยสังคมผู้สูงวัยให้อยู่รอดต่อไปได้ งั้นผมขอกลับไปทบทวนว่าพื้นฐานของสังคมไทยเรามีอะไรที่เป็นปัญหาอันยาวนานและควรปรับเปลี่ยนหรือที่เรียกว่าปฏิรูปกันเสียที

เอาง่ายๆ สองเรื่องที่อยากจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงๆ
1. การเปลี่ยนแนวคิดในการทำงานระบบ
ในราชการก็ดีระบบเอกชนก็ดีเรามีรูปแบบและหยุดการทำงานในหนึ่งวันทำ 8 ชั่วโมงนี่คือหลักทั่วไปที่ใช้กันทั้งสังคมไทย โลกมันเปลี่ยนไปแล้วตอนนี้ทั้งโลกมีความตื่นตัวและหมุนรอบตัวเองตลอดเวลาหนึ่งวันมี 24 ชั่วโมง แล้วควรจะใช้ให้มันคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดของสังคมไทยได้แล้ว ถ้าเรายังคงทำงานโดยใช้หลักการเดิมอยู่เช่นนั้น เราก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ในสังคมไทยได้อีกเลย

กลับมาลองคิดดูใหม่นะครับว่าขณะนี้โลกสังคมต่างๆได้เปลี่ยนไปหลายภาคส่วนแล้วและอีกหน่อยมันก็จะไม่มี
Robot หรือที่เรียกว่าหุ่นยนต์มนุษย์ แม้กระทั่งปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence:AI)ก็จะมาทดแทนสิ่งที่มนุษย์ทำอยู่ทุกวันนี้ สังคมไทยเรามักจะบอกกันเสมอว่าขาดแรงงานขาดกำลังผลิตขาดนวัตกรรมและอื่นๆมากมาย แต่สิ่งที่สำคัญผมว่าเราขาดนวัตกรรมมนุษย์(Human Innovation)แต่ก่อนที่เราจะมีมนุษย์จำพวกนี้เกิดขึ้นเราต้องเปลี่ยนเวลาเสียก่อนเปลี่ยนยังไงเหรอครับ รัฐบาลเองเอกชนก็ตามต้องพร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงว่ามนุษย์ควรจะ
ทำงานเป็นกะหรือผลัด ผลัดละ 6 ชั่วโมงก็เพียงพอต่อหนึ่งธุรกิจหรือในองค์กรนั้นนั้นโดยเฉพาะภาครัฐเลิกทำงาน 8 ชั่วโมงได้แล้ว ควรจะทำงาน 12 ชั่วโมงเพราะ งานที่เกิดขึ้นมันจำเป็นจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วตอบแทนความต้องการของสังคมมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รัฐบาลเองควรจะออกกฏหมายหรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ให้ข้าราชการตั้งแต่ระดับ 8 ลงไปทำงานเป็นกะหรือผลัด ผลัดละ 6 ชั่วโมง เพื่อให้บริการแก่สังคมไทยใหม่

และมีคำถามอีกว่า จะเอาคนจากที่ไหนเรื่องนั้นไม่ต้องเป็นห่วงมีระบบงานและคนที่ยังตกงานและพร้อมที่จะเข้างานอีกจำนวนมากในสังคมไทยลองมองภาพให้เห็นความกว้างๆว่า หากราชการไทยทำงานตั้งแต่ 06.00 ถึง 12.00 และ 12.00 ถึง 18.00 แบ่งงานออกไปสองผลัดดังกล่าวใช้คนงานหรือข้าราชการเป็นสองชุดแน่นอน งบประมาณที่จ่ายล่วงเวลาคงไม่ต้องจ่ายแล้วเอามาจ่ายเป็นเงินเดือนให้กับอีกชุดหนึ่งและสามารถที่จะมีกำลังพลเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวในการบริการให้แก่สังคมไทยย้ำว่าขณะนี้เรามีเทคโนโลยีที่สามารถสร้างเป็นระบบ รองรับการทำงานเป็นกะหรือผลัดหรือชุดทำงานได้แล้ว การทำต่อเนื่องจากการสร้างระบบที่ดีจะเสริมสร้างให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นแน่นอน  นี่คือจุดเปลี่ยนที่สำคัญ...

หากข้าราชการได้เปลี่ยนวิธีคิดดังกล่าวคนงานบริการที่ทำงานในกะหรือผัดแรกนั้นสามารถที่จะใช้ประสบการณ์หรือทักษะในการประกอบอาชีพอีกอาชีพหนึ่งในช่วงเวลาที่เหลือให้เกิดมีรายได้อีกหนึ่งเท่าตัวไม่ว่าจะเป็นงานนั้นๆที่อยู่ในภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรมหรือธุรกิจส่วนตัวก็ตาม อันมีโลกเสมือน (Cyber World) ที่สามารถรองรับการทำงานของกลุ่มคนงาน พนักงาน ข้าราชการ และเช่นกันการคาดการณ์นั้นก็สามรถทำได้เฉกเช่นเดียวกันคนงานฯในผลัดที่สองนั้นก็ย่อมจะใช้เวลาในช่วงแรกของวัน(ช่วงเช้า)ไปทำงานดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน

ลองคิดดูน่ะว่าคนงานหรือข้าราชการตั้งแต่ระดับ8ลงไป อันมีเงินเดือน 15,000 ถึง 30,000 บาทสามารถไปทำงานเพิ่มอีกทักษะหนึ่งได้และมีรายได้เพิ่มขึ้นจริงๆแล้ว เช่นเดียวกันกลุ่มลูกจ้างคนงานแรงงานกรรมกรในภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรมหรืออื่นๆก็ สามารถที่จะทำงานในลักษณะเวลาเป็นกะทำงานหรือชุดหรือผลัดในการทำงานครั้งละ 6 ชั่วโมง ก็จะทำให้เขาเหล่านั้นสามารถทำงานได้สองช่วงเวลา(ถ้าขยัน)ในลักษณะที่มีงานแตกต่างโดยจะต้องยึดเอาหลักงานประจำที่ทำเป็นสาระสำคัญก่อน แล้วจึงนำทักษะในการทำงานชนิดที่สองไปทำในช่วงทีสองเพื่อสร้างรายได้ดังเช่นคนงานในภาคเอกชนที่ทำงานตามบริษัทห้างร้านเป็นเสมียนพนักงาน เมื่อทำงานจบสิ้นในภาคเช้าสามารถที่จะไปทำงานในภาคบ่ายในทักษะและอีกอาชีพหนึ่งได้ เช่นไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรมย่อยหรือภาคเกษตรกรรมที่มีลักษณะงานตรงกับทักษะของพวกเขาเหล่านั้นมันจะทำให้ ประชาชนระดับรากหญ้าที่เป็นลูกจ้างคนงานกรรมกรพนักงานสามารถที่จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวหนึ่งจากการทำงานในอาชีพหลักและจะทำให้พวกเขาเหล่านั้นเกิดรายได้อีกหนึ่งเท่าตัวจากเดิมที่เป็นพนักงานมีเงินเดือนประจำ 15,000 บาทและมาทำงานในภาคอุตสากรรมหรือภาคเกษตรกรรมสร้างรายได้อีก 10,000 ถึง 15,000 บาท เราจะเห็นได้ว่าเขาเหล่านั้นที่เป็นพื้นฐานของภาคสังคมและเป็นกำลังแรงงานที่ใช้อยู่จะสามารถก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางของคนทั้งประเทศ ทำให้สังคมโลกมองเราว่าเราสามารถพ้นกับดักรายได้แน่นอน

ประเทศใกล้เคียงเราจะได้เอาเป็นตัวอย่างได้ปัญหาต่างๆนั้นก็จะถูกแก้ปัญหาได้อย่างหมดสิ้น เราลองเอาตัวเลขแรงงานต่างประเทศมาคำนวณดูทางสถิติและชี้แจงกับภาคเอกชน ส่วนสำคัญภาครัฐต้องปลดปล่อยเครื่องพันธนาการทางด้านเวลาให้กับประชาชนคนไทยในชาติที่เขามีความสามารถ อนาคตภายภาคหน้า ภาคการศึกษาของไทยเองจะต้องสร้างให้เกิดคลื่นมนุษย์(Human Wave)ที่มีคุณลักษณะในการทำงานได้สองทักษะและสามารถเข้าสู่ระบบงานที่เป็นกะเวลาในสองชุดเวลาของหนึ่งวันดังกล่าวได้ มันจะเป็นการเพิ่มพูนให้ประชาชนมีรายได้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อสังคมปัจจุบัน

หากรัฐบาลใดกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงลองมองภาพรวมอันไกลที่จะเกิดขึ้น รถก็คงจะไม่ติดเพราะช่วงของเวลามันเปลี่ยนไป การทำงานการเข้า-ออกงาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีที่สามารถสนับสนุนการทำงานได้จริงมันก็เกิดขึ้นมากมายความแน่นอนในยุคเศรษฐกิจสังคมดิจิตอล(DE)และความชัดเจนคือ"เราจะพ้นกับดักรายได้ปานกลาง"ใครเป็นผู้มีอำนาจกลับไปลองคิดดูนะครับว่าแนวคิดนี้มันจะเกิดประโยชน์และเป็นการปฏิรูปรากฐานของแรงงานในสังคมไทยได้หรือไม่

2.แรงงานจากสังคมผู้สูงวัย

นอกจากปัญหาดังกล่าวข้างต้นแล้ว อยากจะกล่าวอีกหนึ่งปัญหาที่เป็นจุดสำคัญคือประเทศไทยเข้าสู่ประเทศสังคมผู้สูงวัยในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยเราเองเป็นจะศูนย์กลางของภูมิภาคโดยมียุทธศาสตร์ของชาติที่จะเป็น Hub ในหลากหลายมิติ และคิดว่าอนาคตอันไกลคนงานพม่าลาวเขมรคงจะกลับบ้านเกิดเมืองนอนของเข้าไปอีก เมื่อประเทศเขามีความเจริญมากกว่าเราและมีรายได้สูงกว่าประเทศเรา คนไทยเราเองคงจะต้องกลับมาทำงานในบางส่วนด้วยกันเองเสียแล้ว สิ่งที่จะขอให้คำแนะนำในสังคมผู้สูงวัยนั้นคงคิดกันใหม่ว่าวัยที่สูงขึ้นมันมิได้อาจกั้นในการทำงานที่เขาเหล่านั้นยังสามารถทำได้ในลักษณะงานที่มีกำลังเพียงพอและสมองยังสั่งให้เกิดผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าในสังคมที่อยู่ในภาครัฐบาลก็ดีหรือแม้ในภาคเอกชนนั้น ควรจะเปิดโอกาสในการนำคนสูงวัยกลับเข้ามาสู่ระบบงานหรือแรงงานที่สงวนไว้สำหรับผู้สูงวัยไม่ว่างานนั้นจะมีลักษณะงานในประเภทใดก็ตาม รัฐบาลเองน่าจะลองสำรวจดูทั้งประเทศว่าผู้สูงวัยที่อยู่ในวัยเกษียณจากงานหลักเดิมนั้นมีความพร้อมที่จะทำงานในสาขาใด ตำแหน่งใด และใช้ความชำนาญทักษะอย่างไรได้ก็จะทำให้กลุ่มผู้สูงวัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของประเทศอันมีสัดส่วน 30% นั้นได้มีงานและช่วยให้สังคมขับเคลื่อนไป

ตัวอย่างเช่น งานที่ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานมากใช้เสียงใช้ทักษะพิเศษใช้ความรู้ประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้สูงวัย ซึ่งมันน่าจะเพียงพอต่ออาชีพรัฐบาลไทยควรที่จะสนใจให้ กลุ่มคนผู้สูงวัยที่สามารถจะทำงานได้เข้าสู่วัยทำงานอีกครั้งหนึ่งและยังเป็นการช่วยเหลือเจือจุนให้กลุ่มผู้สูงวัยเรานั้นมิได้เป็นส่วนเกินของสังคมที่จะต้องรอคอยความช่วยเหลือของคนในสังคมอีกต่อไปหากเราได้ร่วมกันแก้ไขอย่างจริงจังแล้วคิดว่าภาครัฐคงจะตระหนักและสร้างกิจกรรมอันมีประโยชน์ต่อคนสูงวัยต่อไปในอนาคตเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและซึ่งต้องตั้งงบประมาณมาสนับสนุนอีกมากมายต่อไป
แค่ในสองประเด็นนี้นับว่าจะทำให้ประเทศไทยให้เกิดเศรษฐกิจที่หมุนเวียนในทุกภาคส่วนมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง

การหมุนเวียนจากคลื่นมนุษย์ที่เข้ามาใช้แรงงานและสร้างงาน ในห่วงโซ่อุปทานมากยิ่งขึ้น ตลอดจนภาคเอกชนอันเป็นแรงขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่หากสามารถตอบรับเงื่อนไขของช่วงเวลาใหม่(มนุษย์ทำงานใน 6 ชั่วโมงต่อหนึ่งกะหรือผลัดและในหนึ่งวันอย่างน้อยต้องมีสองกะหรือผลัดเวลา)ที่จะทำให้คนในชาติได้สร้างรายได้ มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมอีกทั้งยังเสริมสนับสนุนให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการสร้างชาติสร้างความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนสืบต่อไปอีกด้วย
"ประเทศไทยพร้อมจะยอมรับการเปลี่ยนในครั้งนี้ไหม??"

"คนโง่"