พักรบ ร่วมใจ ฝ่าวิกฤติ

22 เม.ย. 2563 | 06:40 น.

ประวัติศาสตร์ในการบริหารราชการแผ่นดินต้องบันทึกไว้อีกวันหนึ่ง 17 เมษายน 2563 เวลา 18.00 . หลังเคารพธงชาติ ที่ นายกฯลุงตู่ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด- 19 (ศบค.) ออกแถลงการณ์นายกรัฐมนตรี ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) หรือทีวีพูล เนื้อหาตอนหนึ่งแบบ คำต่อต่อพูดว่า

 

พักรบ ร่วมใจ ฝ่าวิกฤติ

พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

เราจะต้องหา ความร่วมมือ ดึงทุกภาคส่วนของสังคม รวมถึงกลุ่มธุรกิจ ทุกกลุ่ม ทุกคนที่มีความรู้ความสามารถ และพร้อมที่จะช่วยเหลือประเทศ เราต้องการคนเก่ง ที่มีอยู่มากมายในประเทศของเราให้มาร่วมมือกัน นี่คือ ทีมประเทศไทย ไม่ว่าจะมาจากภาครัฐ จากมหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยต่างๆ มาจากภาคเอกชน กลุ่มมหาเศรษฐี หรือพี่น้องประชาชน ที่ยอมเสียสละตัวเอง เข้ามาร่วมกันต่อสู้ เหมือนกับที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ร่วมกับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข และอาสาสมัครมากมายได้เสียสละตัวเองอย่างกล้าหาญ เผชิญความเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย อยู่ทุกวัน เพื่อช่วยรักษาชีวิตของผู้อื่น

ผมทราบว่า หลายภาคส่วนในทีมประเทศไทย ได้เริ่มลงมือทำอะไรที่สำคัญ และมีประโยชน์ไปแล้วหลายอย่าง แต่วันนี้ ผมต้องการเพิ่มความร่วมมือกับท่านทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น โดยเริ่มที่ภาคเอกชนก่อน

 

สิ่งที่ผมจะทำในช่วงสัปดาห์ข้างหน้า ประการแรก คือ ผมจะออกจดหมายเปิดผนึก ถึงมหาเศรษฐีที่รํ่ารวยที่สุดในประเทศไทย 20 ท่าน ขอให้ท่านเหล่านั้นได้บอกผมว่า ในฐานะที่ท่านเป็นผู้อาวุโสของสังคม ท่านจะร่วมมือกันกับเราอย่างไร และท่านจะลงมือช่วยเหลือประเทศไทยของเราให้มากขึ้นได้อย่างไรบ้าง มหาเศรษฐีของประเทศไทยทั้งหลาย ล้วนมีอิทธิพลอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ และถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มบุคคล ที่รํ่ารวยที่สุดในโลก ผมขอให้ท่านได้มีบทบาทสำคัญในการร่วมกันช่วยเหลือประเทศ และร่วมเป็นทีมประเทศไทย ด้วยกันกับเรา ผมเข้าใจและซาบซึ้งที่หลายท่านได้ลงมือทำไปแล้วหลายเรื่อง แต่ผมต้องการให้ทุกท่านทำเพิ่มเติมมากกว่าที่ท่านได้ทำไป

แถลงการณ์นี้ไม่มีเวิร์ดดิ้งไหนที่พูดว่า ขอเงินแต่ทำให้นึกถึงวันที่ผมทำข่าวนํ้าท่วมใหญ่ของประเทศเมื่อปี 2554 เกิดภาพประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในขณะนั้น พร้อมแกนนำพรรค เดินทางไปที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อหารือกับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรีในตอนนั้น และรัฐมนตรีหลายคนร่วมวง

พักรบทางการเมืองเมื่อถกแนวทางการแก้ปัญหานํ้าท่วม

 

 

ตอนหนึ่งของการสนทนา นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวกับ นายอภิสิทธิ์ว่า รัฐบาลพร้อมยินดีจะรับฟังคำแนะนำในการแก้ไขปัญหานํ้าท่วมจากทุกด้าน อยากให้เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติโดยทั้งรัฐบาลและภาคประชาชนมีการทำงานร่วมกัน เรายินดีรับข้อเสนอในทุกอย่าง ตอนนี้เราทำเพื่อชาติ

ขณะที่นายอภิสิทธิ์ ได้บอกว่า อย่าได้เป็นกังวลกับเรื่องนี้ และเห็นว่าเรื่องนี้จะต้องร่วมมือกันทำงาน ไม่ใช่เป็นเรื่องของต่างพรรค จากนั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้เชิญ นายอภิสิทธิ์ และคณะเข้าไปหารือร่วมกัน ในที่ประชุมศูนย์ ศปภ. เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการหารือเรื่องการเตรียมป้องกันสถานการณ์นํ้า ที่อาจจะทะลักเข้าพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีการนำแผนที่มาประกอบการหารือด้วย

ภาพเหตุการณ์นํ้าท่วมใหญ่ครั้งนั้น แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ทำให้ย้อนนึกถึงภาพแถลงของ พล..ประยุทธ์ ที่กำลังต้องการแนวร่วม ด้วยการเปิดระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ในสถานการณ์วิกฤติแบบนี้

 

คอลัมน์ อินไซด์สนามข่าว โดย จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,568 วันที่ 23-25 เมษายน 2563