วิเคราะห์อนาคตเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤติโควิด-19

08 เม.ย. 2563 | 06:15 น.

คาดการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยภายใต้มาตรการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไทยอย่างสิ้นเชิง(ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19)

คอลัมน์ เศรษฐศาสตร์ นอกขนบ โดย สุวิทย์ สรรพวิทยศิริ “มูลนิธิ สวค.” [email protected]

“ถ้าคาดว่า GDP จะหดตัว 10% ผมจะทำมาตรการให้เสมือนหนึ่งว่า GDP หดตัว 20%” ดร.โอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี (6 เม.ย. 2563)

บทความและวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกจากหลายสำนักทั้งในและต่างประเทศออกมาในทิศทางเดียวกันโดยมีข้อฉันทานุมัติ (consensus) ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจะหดตัวร้อยละ 8-10 ซึ่งเป็นระดับที่อันตรายอย่างยิ่งตามสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยที่อยู่ในภาวะปริ่มน้ำตามบทความที่ผมเสนอไปในก่อนหน้านี้ ในบทความนี้ขออนุญาตนำเสนอ แนวความคิดหรือข้อเสนอเพื่อการฟื้นฟูและเยียวยาประเทศไทย 1.5 ล้านล้านบาท (ไม่รวมการแทรกแซงเพื่อรักษาตลาดสารหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย)

โดยข้อเสนอแรก 1 ล้านล้านบาท เพื่อการจัดทำมาตรการบรรเทาลดผลกระทบจากปัญหาในระยะสั้น เรียกว่า (Short-term Economic Relief Measure: SERM) ไม่ให้ลุกลามไปกว่านี้ และข้อเสนอที่สอง 200,000 ล้านบาท เพื่อจัดทำมาตรการเพื่อฟื้นฟูสภาพการทำงานและปรับเปลี่ยนองค์กรที่ยืดหยุ่นและรองรับความเสี่ยงในอนาคต (Massive Assistance Package: MAP) และอีกข้อเสนอที่สาม 300,000 ล้านบาท จัดทำมาตรการเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศในระยะยาวอย่างสิ้นเชิง (Long-term Comprehensive Restructure Measures: LCRM)

โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และจัดสรรทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ รวมเม็ดเงินทั้งหมดประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท ในระยะเวลา 3 ปี (2020-2022)

Facts: เศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วง 10 ปีผ่านมา การเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราที่ชะลอตัวลง การเปลี่ยนแปลงโดยการเติบไปเพิ่มขึ้นที่ภาคบริการมากยิ่งขึ้น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในระหว่างภาคการเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมกับภาคอุตสาหกรรมและบริการที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น

 1) Long-term economic growth ร้อยละ 3.2 ต่อปี (2009-2019) ลดลงอย่างต่อเนื่อง มูลค่าทางเศรษฐกิจ GDP ในปี 2019 เท่ากับ16.9 ล้านล้านบาท โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาคบริการมากยิ่งขึ้น

2) Long-term employment growth ร้อยละ -0.3 ต่อปี (2009-2019) หดตัวอย่างต่อเนื่อง จำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 0.6 ต่อปี กำลังแรงงานหดตัวต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ -0.2 ต่อปี โดยจำนวนผู้มีงานทำ (Employed Person) ปี 2019 เท่ากับ 37.6 ล้านคน

3) Long-term net fixed capital stock ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.8 ต่อปี (2008-2018) ค่าเสื่อมที่แท้จริงของปัจจัยทุนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.1 ต่อปี (ภาคเกษตรกรรม: 3.7%, ภาคอุตสาหกรรม 3.2% และภาคบริการ 3.1%) การลงทุนรวมที่แท้จริงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.6 ต่อปี (ภาคเกษตรกรรม 2.9%, ภาคอุตสาหกรรม 6.8% และภาคบริการ 9.7%) มูลค่าของมูลภัณฑ์สุทธิของประเทศไทยปี 2018 อยู่ที่ 38.2 ล้านล้านบาท

4) GDP per Capita หรือรายได้ต่อหัวของประเทศไทย (ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคนต่อปี)

 

2011

2019

%เปลี่ยนแปลงเฉลี่ยต่อปี

เกษตรกรรม

1,892

2,080

1.24

อุตสาหกรรม

13,808

14,829

0.92

บริการ

6,180

9,676

7.07

ทั้งหมด

5,787

8,166*

5.14

*ประเทศรายได้สูงจะเริ่มต้นที่ 12,450 USD/คน/ต่อปี

การวิเคราะห์สถานการณ์และภาพอนาคตหลังจากวิกฤตโควิด-19

ขออนุญาตนำส่วนหนึ่งของบทความ McKinsey & Company ที่ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “กล่องเวลา” (Timebox) ซึ่งเป็นภาพฉาย ของระยะเวลาตั้งแต่การเริ่มเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 (หรือโรคระบาดอื่น ๆ) ไปจนสิ้นสุดการระบาด (เส้นกราฟสีขาว เป็นแนวทางในการรักษาชีวิต “Safeguard our lives”) เทียบกับตัวชี้วัดและสภาพทางเศรษฐกิจ (เส้นกราฟสีฟ้า เป็นแนวทางในการทำให้การดำรงชีวิตเป็นปกติสุข “Safeguard our livelihoods”) ในช่วงเวลานั้น ๆ

วิเคราะห์อนาคตเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤติโควิด-19

ที่มา: McKinsey & Company แปลโดย กระทรวงอุดมศึกษาฯ

การรักษาชีวิตทำได้โดย ลดการแพร่ระบาดให้ได้ (ตำแหน่ง 1a ในกราฟ) กล่าวคือ ทำให้ยอดของผู้ติดเชื้อมีจำนวนน้อย “Flattening the Curve” เพื่อให้ระบบสาธารณสุขในประเทศสามารถรองรับผู้ป่วยใหม่ และในเวลาเดียวกันก็ทำการเพิ่มศักยภาพของระบบสาธารณสุข ตามเส้นกราฟสีแดง (ตำแหน่ง 1b) ทำให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น

เช่น การเพิ่มจำนวนเตียงในโรงพยาบาล หรือการสร้างโรงพยาบาลสนาม รวมทั้งการเพิ่มอุปกรณ์ช่วยชีวิต เช่น เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น และในระยะยาว การแพร่ระบาดจะไม่เกิดขึ้นเมื่อมีวิธีรักษาและป้องกันโรค ด้วย ยาและวัคซีน (ตำแหน่ง 1c) ในเวลาเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนยังสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นปกติมากที่สุดในภาวะที่เศรษฐกิจถดถอย (ซึ่งอาจมีอัตราการหดตัวทางเศรษฐกิจมากถึงร้อยละ 8 ถึงร้อยละ 13) รัฐบาลอาจต้องมีการเยียวยาและช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดเมือง (ตำแหน่ง 2a) และเตรียมมาตรการในการกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ เมื่อการระบาดเลยจุดสูงสุดไปแล้ว (ตำแหน่ง 2b) เตรียมมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจเมื่อการระบาดสิ้นสุดลง (ตำแหน่ง 2c)

จัดทำมาตรการบรรเทาลดผลกระทบจากปัญหาในระยะสั้น (Short-term Economic Relief Measure: SERM) จากที่ตำแหน่ง 2a

•จัดทำมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับกระทบจาก Covid-19 ด้วยข้อเสนอรัฐกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อจ่ายค่าจ้างให้กับแรงงานที่ได้รับผลกระทบเป็น 2 ส่วน

1.ผู้ประกอบการที่มีปัญหาทางด้านการเงินระยะเวลา 6 เดือน ในฐานข้อมูลประกันสังคมมาตรา 33 มีแรงงานจำนวน 12 ล้านคน คิดอัตราเงินเดือนเฉลี่ย 20,000 บาทต่อคน และจำนวนกิจการที่เข้าร่วมร้อยละ 50 และรัฐช่วยจ่ายเงินเดือนร้อยละ 80 ในสามเดือนแรก และร้อยละ 50 ในสามเดือนหลัง จะใช้เงินเป็นจำนวนเงิน 4 แสนล้านบาท

2.ผู้ประกอบการที่ไม่มีปัญหาทางด้านการเงินรัฐบาลเสนอไม่จัดเก็บภาษีนิติบุคคลเป็นระยะเวลา ½ ปี โดยผู้ประกอบการยังคงจ่ายเงินเดือนแก่พนักงานในอัตราปกติซึ่งคาดว่าจะทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ภาษีนิติบุคคลจำนวน 3 แสนล้านบาท

  • จัดการบูรณาการจำนวนผู้ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ผู้มีรายได้น้อย ผู้รับสวัสดิการจากรัฐ แรงงานนอกระบบ เพื่อจัดกลุ่มและให้ความช่วยเหลือในขั้นต่ำอย่างน้อย 6 เดือน 3 เดือนแรกเดือนละ 5000 และอีก 3 เดือนที่เหลือ เดือนละ 2500 บาท ระบบข้อมูลที่ดีในอนาคตไม่ต้องลงทะเบียนอีก ทั้งนี้กลุ่มคนโสด กลุ่มคนหย่าร้าง และกลุ่มครอบครัว จะต้องนำมาพิจารณาด้วย ซึ่งทั้งหมดคาดว่าจะมีผู้เข้ารับการช่วยเหลือจำนวน 12-15 ล้านคน อาจจะใช้เงิน 3 แสนล้านบาท

จัดทำมาตรการเพื่อรักษาเยียวยาเศรษฐกิจ (Massive Assistance Package: MAP) (จากตำแหน่ง 2b)

  1. จัดการเรื่องห่วงโซ่อุปทานให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยให้ความสำคัญกับการจัดการสมัยที่ลดขั้นตอนของภาครัฐและนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้
  2. จัดการเรื่องโครงสร้างพื้นฐานระเบียบกฎเกณฑ์ภาครัฐ ที่เอื้อให้เกิดการทำงานแบบทางไกล การประชุม การสัมมนาวิชากร รวมทั้งการทำงานจากที่บ้านและกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดการศูนย์รวมข้อมูล (Dashboard) และการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานในอนาคต รูปแบบทางธุรกิจ พฤติกรรมผู้ที่จะเปลี่ยนแปลงไป และช่องทางของธุรกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้น
  4. จัดทำมาตรการวัดความเสี่ยงและความแข็งแรงทางธุรกิจ (Stress test) ที่รองรับต่อความผันผวนทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และโรคระบาด
  5. จัดทำเรื่องมาตรฐานสาธารณสุขและสุขอนามัยในสถานประกอบการ สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า พนักงานและผู้รับบริการ

จัดทำมาตรการเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศในระยะยาวอย่างสิ้นเชิง (Long-term Comprehensive Restructure Measures: LCRM)

  • จัดตั้งกองทุนเพื่อบริหารสถานการณ์ในยามฉุกเฉิน โดยจะต้องมีการ Stress Test ระบบเศรษฐกิจทุกปี
  • จัดทำแผนควบรวมจังหวัดเพื่อบูรณาการเศรษฐกิจใช้ EEC Model (จาก 3 เหลือ 1) เพื่อลดความซ้ำซ้อนของระบบรัฐ จะทำให้จำนวน 77 จังหวัดเหลือเพียง 20 เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งในแง่ของเศรษฐกิจจะทำให้เกิดความคุ้มค่าต่อขนาด ในแง่ของบริการจากภาครัฐก็มอบให้ท้องถิ่นดูแลเหมือนเดิม
  • จัดทำแผนปฏิรูปสังคม การจัดระเบียบสังคมเมืองและชนบท ใช้ตัวชี้วัดด้านสังคมมาเป็นเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณแก่ท้องถิ่น เช่น จำนวนอุบัติเหตุบนถนน จำนวนนักโทษ ยาเสพติด คุณภาพด้านการศึกษา เป็นต้น
  • จัดทำมาตรการป้องกันสมองไหล แรงงานไทยในระดับฝีมือจะไปทำงานในต่างประเทศ ที่มีปัญหาประชากรลดลง ทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์
  • จัดเตรียมการออกแบบเมืองใหม่ เมืองแห่งอนาคต ที่มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้สูงสุด โครงการ Mixed-Use มีพื้นที่สาธารณะและพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ห้ามขยายพื้นที่ออกไปชานเมือง ให้ระบบการขนส่งมวลชนกระจุกตัวเพื่อลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง (ตัวอย่างสิงคโปร์และฮ่องกง) และเชื่อมโยงเมืองใหม่แต่ละแห่งด้วยรถไฟความเร็วสูง เช่น กรุงเทพฯ-เมืองใหม่โคราช กรุงเทพฯ-เมืองใหม่ระยอง เป็นต้น
  • จัดเตรียมมาตรการสร้างกลไกการจับคู่คนให้ตรงกับงาน งานที่มีคุณค่า งานในอนาคต สร้างระบบอุปสงค์และอุปทานของแรงงานอย่างเป็นระบบ โดยใช้ระบบ skill future credit คือรัฐเติมเงินให้ประชาชน (ไม่สามารถโอนหรือกดออกมาใช้จ่ายได้) โดยเครดิตจะไม่หมดอายุและรัฐจะเติมให้เรื่อย ๆ แต่มีข้อแม้คือ ต้อง Reskill และ Upskill กับอาชีพและมาตรฐานที่รัฐกำหนดไว้เท่านั้น
  • จัดเตรียมมาตรการในยุคขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven) ด้วยการทำ Financial Transform ซึ่งเป็นมาตรการบังคับในทุกหน่วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Firms) ใช้ Cashless ผ่านทาง e-wallet หรือ prompt pay เนื่องจากอนาคตของการยกระดับนวัตกรรมและผู้ประกอบการชำระเงินจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญ

Projections: เศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วง 5 ปีข้างหน้า ขึ้นอยู่กับการออกแบบและการดำเนินมาตรการทั้ง SERM, MAP และ LCRM หากดำเนินการและเปลี่ยนแปลงประเทศไปตามเป้าหมายใหม่ ตามนโยบายที่ถูกต้องและเข้าใจโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทย การเติบโตทางเศรษฐกิจจะลดปัญหาความเหลื่อมล้ำให้ลดลง เศรษฐกิจจะมี Potential growth เฉลี่ยที่สูงขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีและการจัดการสมัยใหม่มาใช้อย่างแท้จริง และตระหนักถึงปัญหาระยะยาว

จึงต้องมีการจัดระเบียบเมืองและรูปแบบการบริหารราชการแผ่นดิน มิฉะนั้นแล้วประเทศไทยจะเกิดความล่มสลายจนไม่อาจจะฟื้นคืนมาอีก เหมือนหลายประเทศในละตินอเมริกา บนสมมติฐานที่สำคัญ 2 ประการคือ 1) จำนวนนักท่องเที่ยวปี 2020 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 90 และใช้เวลา 18 เดือนเป็นกรณี Best Case ที่นักท่องเที่ยวกลับมาเท่าปี 2019 2) ค่าเงินบาทสิ้นปี 2025 อยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ 3) ข้อสมมติฐานอื่น ๆ ทั้งปัจจัยภายนอกและนโยบายการเงินเหมือนกันสถาบันวิจัยอื่นๆ ผลลัพธ์ของแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Model) ให้ผลลัพธ์ดังนี้

วิเคราะห์อนาคตเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤติโควิด-19

1) Long-term economic growth จะขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่อปี (2021-2025) มูลค่าทางเศรษฐกิจ GDP ในปี 2025 เท่ากับ 22.3 ล้านล้านบาท โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น

 

2009

2019

2025

เกษตรกรรม

(สัดส่วน)

(การเติบโตเฉลี่ย)

0.94 ล้านล้านบาท

1.35 ล้านล้านบาท

2.23 ล้านล้านบาท

9.8%

8.0%

10.0%

1.03%

7.12%

อุตสาหกรรม

(สัดส่วน)

(การเติบโตเฉลี่ย)

3.46 ล้านล้านบาท

5.22 ล้านล้านบาท

7.10 ล้านล้านบาท

35.8%

30.9%

31.8%

2.01%

4.96%

บริการ

(สัดส่วน)

(การเติบโตเฉลี่ย)

5.25 ล้านล้านบาท

10.31 ล้านล้านบาท

13.00 ล้านล้านบาท

54.4%

61.1%

58.2%

4.42%

4.88%

2) Long-term employment growth จะต้องขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี (2021-2025) จำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 0.6 ต่อปี กำลังแรงงานหดตัวต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ -0.2 ต่อปี โดยจำนวนผู้มีงานทำ (Employed Person) ปี 2025 เท่ากับ 38.2 ล้านคน มีโครงสร้างการจ้างงานเป็นดังต่อไปนี้

 

2009

2019

2025

เกษตรกรรม

(สัดส่วน)

(การเติบโตเฉลี่ย)

14.9 ล้านคน

11.8 ล้านคน

12.8 ล้านคน

38.7%

31.4%

33.4%

-2.63%

1.41%

อุตสาหกรรม

(สัดส่วน)

(การเติบโตเฉลี่ย)

5.5 ล้านคน

6.4 ล้านคน

6.3 ล้านคน

14.4%

17.0%

16.6%

1.99%

-0.26%

บริการ

(สัดส่วน)

(การเติบโตเฉลี่ย)

18.0 ล้านคน

19.4 ล้านคน

19.1 ล้านคน

46.9%

51.6%

50%

0.92%

-0.25%

3) Long-term net fixed capital stock จะต้องขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.5 ต่อปี (2021-2025) ค่าเสื่อมที่แท้จริงของปัจจัยทุนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.7 ต่อปี การลงทุนรวมที่แท้จริงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.5 ต่อปี มูลค่าของมูลภัณฑ์สุทธิของประเทศไทยปี 2025 อยู่ที่ 53.8 ล้านล้านบาท

 

2009

2019

2025

เกษตรกรรม

(สัดส่วน)

(การเติบโตเฉลี่ย)

(การลงทุนเฉลี่ย)

1.93 ล้านล้านบาท

2.97 ล้านล้านบาท

4.21 ล้านล้านบาท

7.36%

7.77%

7.82%

3.4%

4.1%

2.9%

13.2%

อุตสาหกรรม

(สัดส่วน)

(การเติบโตเฉลี่ย)

(การลงทุนเฉลี่ย)

6.76 ล้านล้านบาท

10.35 ล้านล้านบาท

13.71 ล้านล้านบาท

25.82%

27.07%

25.48%

2.9%

3.1%

6.8%

7.0%

บริการ

(สัดส่วน)

(การเติบโตเฉลี่ย)

(การลงทุนเฉลี่ย)

5.25 ล้านล้านบาท

10.31 ล้านล้านบาท

 

66.82%

65.16%

63.40%

2.7%

3.6

9.7%

7.4

4) GDP per Capita หรือรายได้ต่อหัวของประเทศไทย (ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคนต่อปี)

 

2011

2019

2025**

เกษตรกรรม

1,892

2,080

2,821

อุตสาหกรรม

13,808

14,829

18,078

บริการ

6,180

9,676

10,987

ทั้งหมด

5,787

8,166*

9,434

*ประเทศรายได้สูงจะเริ่มต้นที่ 12,450 USD/คน/ต่อปี ** อัตราแลกเปลี่ยน 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

สิ่งที่เป็นตัวเร่งทำให้เกิดความยากลำบากในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ทั้ง 3 มาตรการข้างต้น ที่ผู้ดำเนินนโยบายพึงระวัง คือ

1) Technology Disruption

1) ทำให้ส่วนแบ่งรายได้แก่แรงงานที่ไร้ทักษะน้อยลง การจ้างงานต่อชั่วโมงแรงงานไร้ทักษะลดลง เพราะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงที่ช้าของรัฐไทยในการ Transform สู่ Digital ช้า ทำให้เจอปัญหาต้นทุนที่สูงในการดำเนินธุรกิจ (ยกตัวอย่างเช่น ยังมีบริการช่องทางปกติของการชำระเงิน และมีช่อง Digital ไปพร้อม ๆกัน) ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำ

2) ทำให้ไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง และมี Barrier to entry ให้แก่ผู้ประกอบการ ทำให้ธุรกิจไม่แข็งแรง

3) ทำให้ต้องพึ่งพา platform digital หรือ e-commerce จากต่างประเทศ 100% ทำให้ส่วนแบ่งรายได้แก่แรงงานอยู่ในระดับต่ำ

2) Aging Society ทำให้ผลิตภาพการผลิตของแรงงาน (Labor Productivity) โดยเฉลี่ยต่ำลง ผลตอบแทนแก่แรงงานที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่ำลง

3) Urbanization ทำให้เกิดการอพยพเข้าสู่เมืองใหญ่ เมืองอุตสาหกรรม เมืองท่องเที่ยว มีปัญหาการจัดการเมืองและปัญหาสังคมตามมา จากค่าจ้างโดยเปรียบเทียบที่เหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท เกิดความแตกต่างระหว่างโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเมืองมากกว่าชนบท

ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการระบาดใหญ่ของ Covid-19 ที่เกิดขึ้นในปี 2020 นี้ จะไม่ใช่เป็นการดำเนินการและบทเรียนที่สูญเปล่า ขอให้ผู้มีอำนาจที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินถอยออกมา เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นหากท่านรับมือกับการเปลี่ยนแปลงไม่ได้หรือไม่ดีพอ ไม่เพียงแค่ความย่ำแย่ของตัวเลขทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ความโกลาหล/จลาจล (riots) และชีวิตของประชาชนชาวไทยเป็นเดิมพัน