ส่องแผน "รื้อใหญ่" กระจายหน้ากาก

30 มี.ค. 2563 | 11:31 น.

รายงานพิเศษ : ส่องแผน "รื้อใหญ่" กระจายหน้ากาก

 

“หน้ากากอนามัย” ยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ ที่รัฐบาลต้องปรับแผนรองรับสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา ต้องจัดหาให้มากพอกับความต้องการที่ขยายวงมากขึ้นไปตามจังหวัดต่างๆ 

มติที่ประชุม “ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)  (ศบค.)” วันที่ 30 มีนาคม 63  ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยการศูนย์  นั่งหัวโต๊ะประชุม เคาะให้ “รื้อแผน” กระจายหน้ากากอนามัยอีกครั้ง ให้มีผลวันที่ 30 มีนาคมทันที 

“รองนายกฯวิษณุ เครืองาม” บอกว่า ที่ก่อนหน้านี้ได้มีการกล่าวถึงจำนวนตัวเลขหน้ากากอนามัยที่อยู่ในสต็อก 200 ล้านชิ้น ตัวเลขทั้งหมดนั้นผิดพลาด วันนี้จึงได้ประเมินใหม่ และทำแผนการจ่ายหน้ากากใหม่ โดยโรงงานที่ผลิตหน้ากากขณะนี้มีทั้งหมด 11 โรงงาน ในหนึ่งวันสามารถผลิตหน้ากากออกมาได้ประมาณ 2.3 ล้านชิ้น โดยมีการจัดทำแผนในการจ่ายหน้ากากวันต่อวัน และสามารถตรวจสอบได้ทุกวันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 

ส่องแผน "รื้อใหญ่" กระจายหน้ากาก

“โดยในเวลา 17.00 น. วันนี้(30มี.ค.)  บริษัทไปรษณีย์ไทยจะขนส่งหน้ากากอนามัย (สีฟ้า) จำนวน 40 คัน ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยมีผู้รับไปบริหารจัดการ 2 หน่วยงาน”

ส่องแผน "รื้อใหญ่" กระจายหน้ากาก

2หน่วยงานที่ว่า นายวิษณุ บอกว่า คือ 1. กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1.3 ล้านชิ้น เพื่อส่งไปให้บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ คือ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่แพทย์ (ทำแผนการจ่ายเป็นรายจังหวัด) และ  2. กระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 ล้านชิ้น เพื่อจะส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และผู้ว่าราชการ กทม. โดยจะแจกจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น อสม. ที่ไปเฝ้าระวังผู้ป่วยในต่างจังหวัด เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่บริการประชาชน เช่น ศูนย์ดำรงธรรม หรือเจ้าหน้าที่อำเภอศาลากลาง รวมถึงเจ้าหน้าที่ซึ่งบริการประชาชนและมีความเสี่ยง เช่น พนักงานเก็บขนขยะ รวมทั้งตำรวจ ทหารที่ตั้งด่านตรวจอยู่ระหว่างทาง และผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงคือ ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ผู้ป่วย และเด็ก เป็นต้น จากนั้นจะมีการปรับแผนการส่งหน้ากากไปสู่ประชาชนและร้านค้าต่าง ๆ ด้วย

ส่องแผน "รื้อใหญ่" กระจายหน้ากาก

ปลัดกระทรวงพาณิชย์ “นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร” ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบการควบคุมสินค้า เล่าย้อนถึงถึงสถานการณ์ปัญหาของหน้ากากอนามัยก่อนที่จะมีการปรับแผนมาให้กระทรวงมหาดไทยมาดำเนินการกระจายแทนว่า ถ้าย้อนหลังไปจนถึงวันที่เริ่มเกิดเหตุการณ์ช่วงนั้นหน้ากากอนามัยเราให้ความสำคัญ  โดยกระทรวงพาณิชย์ได้เชิญผู้ประกอบการโรงงานผลิตที่ขึ้นทะเบียน 11 โรงงาน ที่ลงทะเบียนกับองค์การอาหารและยา(อย.) ณ วันนั้นดีดตัวเลขเร็วๆ บอกว่ากำลังการผลิตจะอยู่ที่ 1.2 ล้านชิ้นต่อวัน หรือ 36 ล้านชิ้นต่อเดือน 

ส่องแผน "รื้อใหญ่" กระจายหน้ากาก

และมีประเด็นที่ประชาชนถามบ่อยคือมีตัวเลขปรากฏอยู่ในสื่อมากมายว่ากระทรวงพาณิชย์มีสต็อก 200 ล้านชิ้น ถามว่ามาจากไหน เรียนว่าตัวเลขนั้นอาจจะคลาดเคลื่อนของการสื่อสาร เราดีดตัวเลขเร็วๆตอนนั้นวันนั้นโรงงานบอกว่าปัญหาของการผลิตอยูที่วัตถุดิบในการผลิตด้วย จะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ คือ ส่วนสีเขียวๆ เป็นใยสังเคราะห์จากจีน ส่วนนี้ยังหาได้ในบางโรงงานในประเทศ แต่ไส้กรอง ถ้าเราฉีกหน้ากากออกมาจะเห็น ต้องนำเข้าเป็นหลัก ในประเทศหาไม่มี ณ วันนั้น โรงงานให้ข้อมูลว่าวัตถุดิบที่มี ณ เวลานั้น บอกว่าจะผลิตได้อีก 200 ล้านชิ้น ถ้าไม่มีวัตถุดิบ ก็จะยังสามารถผลิตได้อีก 200 ล้านชิ้น 

“แต่อาจจะเป็นความคลาดเคลื่อนของการสื่อสาร ทำให้ตัวเลขปรากฏว่าว่าเรามีสต็อก 200 ล้านชิ้น เรียนว่าไม่มี และไม่ได้มีอยู่ ถ้าหากมีความคลาดเคลื่อนจากการสื่อสารก็ขออภัย”

ส่องแผน "รื้อใหญ่" กระจายหน้ากาก

ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ทั้งนั้นกำลังผลิตว่ามี 36 ล้านชิ้นต่อเดือน แต่มีความต้องการมีอยู่ 30ล้านชิ้นต่อเดือน ที่ต้องใช้ในสถานพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์เป็นหลัก ณ เวลานั้นจึงคิดว่าปริมาณการผลิตที่มีอยู่น่าจะเพียงพอกับการใช้งานตัวเลขการส่งออก 70 ล้านชิ้นต่อปี ตามข้อมูล 2561 แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ ประชาชนมีความต้องการใช้หน้ากากเขียวมากขึ้น จึงทำให้กำลังการผลิตที่มีอยู่ที่คาดว่าจะเพียงพอก็ลดลง เพราะประชาชนหาซื้อจำนวนมาก ในเวลานั้นกระทรวงพาณิชย์กำลังทำคือจัดสรรให้บุคลากรทางการแพทย์ก่อน เพราะขาดแคลนไม่มีเพียงพอ กระทรวงพาณิชย์จึงบริหารจัดการให้โรงงานส่ง 50% มาให้พาณิชย์บริหารจัดการเพื่อบุคลากรแพทย์เป็นหลักก่อน ส่วนอีก 50% ที่ให้ทำธุรกิจเป็นปกติ เพราะไม่อยากแทรกแซงตามปกติ 

“สิ่งที่เกิดขึ้นคือ 50% นั้น เราควบคุมไม่ได้ จึงเกิดปัญหาว่าที่โรงงานที่เคยส่งให้สถานพยาบาลก็ส่งน้อยลง และจะด้วยเหตุผลใดไม่ทราบ ทำให้สินค้าส่วนหนึ่งที่อยู่ในตลาดมีราคาสูงขึ้นมาก เหตุนั้นกระทรวงพาณิชย์จึงออกประกาศตามหลัง ขอให้กระทรวงพาณิชย์นำกำลังการผลิตทั้งหมดมาบริหารจัดการ เพื่อให้คนที่ความจำเป็นต้องใช้ในบุคลากรการแพทย์ต้องเพียงพอ แต่ส่วนหนึ่งก็มีจำหน่ายให้ประชาชน ตัวเลขกำลังการผลิตของเรา 1.2ล้านชิ้น และขอความร่วมมือจากโรงงานให้เพิ่มกำลังผลิต และหยุดการส่งออกให้ปรับกำลังผลิตให้พอในประเทศ”

นายบุญฤทธิ์ กล่าวอีกว่า ทำให้ปัจจุบันกำลังผลิตเพิ่มเป็น 2.3 ล้านชิ้นต่อวัน จาก 1.2 ล้านชิ้นต่อวัน แต่หากคิดด้วยคณิตศาสตร์ไวไว จำนวนประชากร 67 ล้านคน กำลังผลิตเรามีหน้ากาก 1 ชิ้น ต่อ 28 คน แต่ต้องใช้ทุกวัน ใช้แล้วทิ้ง ไม่เหมือนสินค้าอย่างอื่นๆ 

ส่วน นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  หัวหน้าผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการสาธารณสุข เล่าถึงการจัดสรรทรัพยากร อุปกรณ์ ในสถานการณ์การระบาดทั่วโลก สหรัฐอเมริกาที่เตรียมเครื่องมือรายใหญ่ของไทย รวมทั้งยุโรปที่เคยซื้อ ทำให้การเตรียมทรัพยากรลดลง ซึ่งมีการกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงพาณิชย์ ในการแก้ปัญหาหน้ากากอนามัยในประเทศ จากที่มี 11โรงงานในประเทศผลิตได้ 5  แสนชิ้นต่อวัน ตอนนี้ได้ 1.3 ล้านชิ้นต่อวัน หลังจากพิจารณาความต้องการได้เพิ่มจำนวนด้านสาธารณสุข

ส่องแผน "รื้อใหญ่" กระจายหน้ากาก

“ระหว่างวันที่ 7-28  มีนาคม 2563 มีการจัดสรรให้ 5 หน่วยงานสาธารณสุข รวม 19.59 ล้านชิ้น ได้แก่ 1.โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข  10.91 ล้านชิ้น 2.โรงพยาบาลนอกสังกัด สธ. 0.77 ล้านชิ้น 3.โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 2.48 ล้านชิ้น 4.โรงพยาบาลเอกชน 4.28 ล้านชิ้น และโรงพยาบาลสังกัดกทม. 1.15 ล้านชิ้น”

ส่องแผน "รื้อใหญ่" กระจายหน้ากาก

นายแพทย์สุขุม กล่าวอีกถึงแผนกระจายหน้ากากอนามัยของวันที่ 30 มีนาคม เป็นต้นไปว่า จะมีการจัดสรรให้ 5 หน่วยงานดังกล่าวเพิ่มขึ้นรวม 1.3 ล้านชิ้นต่อวัน โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยใช้ช่องทางการจัดส่งทางไปรษณีย์  ซึ่งจะกระจายร่วมกับหน้ากากที่จัดสรรให้กับกระทรวงมหาดไทย  ซึ่งจะกระจายไปถึงโรงพยาบาลจังหวัด กระจายไปยังพื้นที่ โดยจะมีการบันทึก การติดตามแบบเรียลไทม์ว่ารถถึงจุดไหนแล้ว

ส่องแผน "รื้อใหญ่" กระจายหน้ากาก

ปลัดสธ. กล่าวถึง ข้อกังวลของสังคมที่กลัวจะขาดแคลนหน้ากากแบบ N95 ที่ใช้กับคนไข้ป่วยหนัก ห้องไอซียู คนไข้โควิด หรือพวกเชื้อดื้อยา ซึ่งสถานการณ์ตอนนี่เมื่อก่อนเคยซื้อ N95 จาก 3M นำเข้าจากอเมริกา ในไทยผลิตได้คือ บริษัท สยามโคเค็น จำกัด ของญี่ปุ่น แต่ไม่ได้ซื้อของเขาเลย ในช่วงสถานการณ์ที่ผ่านมาทำดำเนินโครงการเฉพาะจัดสรรสำหรับ “ผู้ป่วยโควิด” ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้โดยทั่วไปของโรงพยาบาลที่หามาเพิ่มเติม โดยกำหนดว่าผู้ป่วยที่ต้องใช้ N95 จำนวน 15 ชิ้นต่อคน/วัน และผู้ป่วย PUI หรือผู้ป่วยสังเกตอาการ 5 ชิ้นต่อคนต่อวัน ที่มีการกระจายแล้วตาม 5 หน่วยงาน รวม 183,910 ชิ้น ระหว่างวันที่ 7-28 มีนาคม 63 

ส่องแผน "รื้อใหญ่" กระจายหน้ากาก

“มีการคาดคะเนว่าถ้ามีผู้ป่วย 1 หมื่นคน ต้องใช้ 5 แสนชิ้น/วัน  และมีความต้องการ 1.7 หมื่นชิ้นต่อวัน จึงมีการติดต่อ 3M ไปตั้งแต่เดือนมกราคม ตอนนี้กำหนดส่งของต้นเมษายน 2 แสนชิ้น นั้นยังไม่ได้ครบ แนวโน้มคือจะได้แค่หลักหมื่นเท่านั้น เพราะสถานการณ์ของอเมริกาอาจจะมีปัญหาในการส่งหน้ากาก N95 จากอเมริกาส่วนสยามโคเค็นก็มีการพูดคุย เขายินดีมอบให้เพื่อขายในประเทศ เดือนละ 1 แสนชิ้น “

นายแพทย์สุขุม ยืนยันว่าสิ่งที่กำลังดำเนินการไม่สามารทำได้เลยในภาวะปกติ จึงต้องหาแหล่งใหม่ ซึ่งเป็นความพยายามในการติดต่อกับรัฐบาลจีนโดยตรงในการขอรับการสนับสนุนหน้ากาก N95 และเวชภัณฑ์ แบบรัฐต่อรัฐ หรือ G to G เรียนว่านายกรัฐมนตรีมอบหมายให้องค์การเภสัชกรรมดำเนินการ โดยนำเงินจากงบกลางที่ครม.อนุมัติแล้ววงเงิน 1,500 ล้านบาท ไปดำเนินการ  ซึ่งจีนตอบรับมาว่าจะขายให้เรา 1.3 ล้านชิ้น ซึ่งจะดำเนินการเข้า และองค์การเภสัชกรรมจะมีการประชุมในวันพรุ่งนี้ พร้อมจะนำเข้าทันที 4 แสนชิ้นแล้วกระจายทั่วประเทศ

“มีประเด็นว่าเราจะจ่ายให้ผู้ป่วยโควิด 19 เท่านั้น แต่ในโรงพยาบาลทั่วไปมีคนไข้ที่จำเป็นต้องใช้ ได้นำเรียนและปรึกษานายกรัฐมนตรีแล้วว่าอาจจะต้องแบ่งบางส่วนให้การดำเนินการของโรงพยาบาลตามปกติด้วย”นายแพทย์สุขุม

ส่องแผน "รื้อใหญ่" กระจายหน้ากาก