2 เจ้าสัวเจริญ กู้เงิน ‘1.5 ล้านล้าน’ คนตัวเล็ก‘เข้าไม่ถึงแหล่งเงิน’

07 มี.ค. 2563 | 11:00 น.

คอลัมน์ห้ามเขียน ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3555 หน้า 20 ระหว่างวันที่ 8-11 มี.ค.63 โดย...พรานบุญ

 

          ตั้งแต่ปลายปี 2561-2563 เกิดปรากฏการณ์ 2 เจ้าสัวเจริญ” ผู้ยิ่งใหญ่ในเมืองไทย แข่งกันกู้เงินก้อนโตจากตลาดเงินตลาดทุนสนั่นคุ้งนํ้าเจ้าพระยา...เรียกว่ากู้เดินหน้ากันหน้าดำครํ่าเครียด

          ช่วง 3 ปี 2 ผู้ยิ่งใหญ่ที่ใครๆ รู้จักดี นักเลงเรียกพี่ ผู้ดีเรียกเจ้าสัว กู้เงินจากตลาดเงินตลาดทุนมาต่อยอดธุรกิจรวมกันกว่า 1.5 ล้านล้านบาท เกือบ 45% ของเงินที่รัฐบาลกู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลเงินงบประมาณมาใช้จนเป็นหนี้สินกันอยู่ 4.23 ล้านล้านบาท

 

2 เจ้าสัวเจริญ กู้เงิน ‘1.5 ล้านล้าน’ คนตัวเล็ก‘เข้าไม่ถึงแหล่งเงิน’

 

          ทำไมต้องกู้...เพราะเงินกู้ในตลาดตํ่าเตี้ยเรี่ยดิน ดอกเบี้ยเงินกู้แค่ 3-4% นี่จึงเป็นโอกาสทองของคนเครดิตดีระดับเจ้าสัว

          2 เจ้าสัวใหญ่ “เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของค่ายไทยเบฟ-ธนินท์ เจียรวนนท์ แห่งค่ายเจริญโภคภัณฑ์” จึงตบเท้าเข้าสู่ป่าดงของเงินตรา เป็นการใช้เงินในตลาดเงินตลาดทุนมาต่อยอดทางธุรกิจ

          อีเห็น ไปสอดส่องออกมาพบว่า ในปี 2561 ธุรกิจในกลุ่ม เจ้าสัวเจริญ เฉพาะในกลุ่มบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ดาหน้าออกหุ้นกู้จากตลาดมาทดแทนเงินกู้ดอกเบี้ยสูงจากธนาคารไปแล้วกว่า 2.5 แสนล้านบาท ขณะที่กลุ่มซีพีกู้ไปแค่ 6-7 หมื่นล้านบาท กู้ชุดสุดท้ายปีนั้นคือหุ้นกู้กึ่งทุนจะถอนเมื่อใดก็ได้อีก 1 หมื่นล้านบาท เจ้าสัวเจริญ ทำสถิติกู้มากที่สุดในเมืองไทย ในปีนั้น!...

 

2 เจ้าสัวเจริญ กู้เงิน ‘1.5 ล้านล้าน’ คนตัวเล็ก‘เข้าไม่ถึงแหล่งเงิน’

 

          อีเห็นบอกว่า เจ้าสัวธนินท์ นั้นปี 2556 สร้างความตกตะลึงไปเมื่อกู้เงินราว 1.88 แสนล้านบาทมาใช้ในการซื้อกิจการของ “แม็คโคร” ด้วยมูลค่า 6,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มาปี 2561 กู้ไปทั้งสิ้น 8 หมื่นล้านบาท และในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2561 บริษัท CPF ประกาศออกหุ้นกู้ 5 ชุดอายุ

          2-12 ปี ระดมทุน 2.5 หมื่นล้านบาท เพื่อนำเงินใช้หนี้กู้ยืมทุนหมุนเวียนบริษัท

          หุ้นกู้ทั้งหมด เจ้าสัวใหญ่ธนินท์จ่ายดอกเบี้ยแค่ 2.75-4.66%...เป็นงัยละคนตัวเล็ก!

 

2 เจ้าสัวเจริญ กู้เงิน ‘1.5 ล้านล้าน’ คนตัวเล็ก‘เข้าไม่ถึงแหล่งเงิน’

 

          พอเปิดศักราชปี 2563 เท่านั้น…นังบ่างรายงานว่า 3 บริษัทในกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์

          ไล่จาก บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่นฯ บริษัท ทรูมูฟฯ และบริษัท ซีพีออลล์ฯ ประกาศระดมทุนครั้งใหญ่ผ่านการออกหุ้นกู้รวมกันเล็กน้อย 42,000 ล้านบาท

          TRUE ขายหุ้นกู้ปี 2562 มูลค่า 12,246 ล้านบาท อายุ 3 ปี ครบไถ่ถอนปี 2565 จ่ายดอกเบี้ย 4.10% จ่ายทุก 3 เดือน

          เงินทั้งหมดนำไปจ่ายหนี้ที่ครบชำระ 11,097 ล้านบาท ที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เป็นงัยละวิธีการเล่นกับเงินของเจ้าสัว...นังบ่างช่างยุ ว่าเข้าไปนั่น

          บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิว นิเคชั่น จำกัด บริษัทในเครือ ทรู ได้ออกหุ้นกู้รวมไม่เกิน 14,000 ล้านบาท ชุดที่ 1 หุ้นกู้อายุ 2 ปี มูลค่า 7,000 ล้านบาท ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2564 จ่ายดอกเบี้ยคงที่ 3.8% ชุดที่ 2 หุ้นกู้อายุ 5 ปี มูลค่า 13,000 ล้านบาท ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2567 จ่ายดอกเบี้ยคงที่ 5.1%

          เฉลี่ยแล้วเจ้าสัวธนินท์ดอกเบี้ยแค่ 4% สบายบรื๋อ สะดือจุ่น...ขณะที่คนทั่วไปกู้กัน 5-7.5%

          บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ขายหุ้นกู้ปี 2562 มูลค่า 15,000 ล้านบาท ขายชุดที่ 1 อายุ 3 ปี มูลค่า 6,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2565 จ่ายดอกเบี้ยคงที่ 2.86%

          ชุดที่ 2 อายุ 8 ปี มูลค่า 3,500 ล้านบาท ครบไถ่ถอนปี 2570 จ่ายดอกเบี้ยคงที่ 3.95%

          ชุดที่ 3 อายุ 10 ปี มูลค่า 3,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2572 จ่ายดอกเบี้ยคงที่ 4.12%

          ชุดที่ 4 อายุ 12 ปี มูลค่า 6,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2574 จ่ายดอกเบี้ยคงที่ 4.40% เฉลี่ย

          แล้วดอกเบี้ยแค่ 4%

 

2 เจ้าสัวเจริญ กู้เงิน ‘1.5 ล้านล้าน’ คนตัวเล็ก‘เข้าไม่ถึงแหล่งเงิน’

 

          เจ้าสัวซีพีขายหุ้นกู้ผ่านธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เกลี้ยงใน 14 วัน

          กุมภาพันธ์ 2562 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ประกาศท้าชนซีพีในการกู้ด้วย

          การออกหุ้นกู้มูลค่า 57,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินไปจ่ายคืนหนี้จากสถาบันการเงิน ที่ดอกเบี้ยแพงกว่า

          มาดูการกู้ของเจ้าสัวเจริญ หุ้นกู้ชุดที่ 1 มูลค่า 34,000 ล้านบาท อายุ 2 ปี 21 วัน ครบไถ่ถอนปี 2564 จ่ายดอกเบี้ยคงที่ 3%

          หุ้นกู้ชุดที่ 2 มูลค่า 12,000 ล้านบาท อายุ 5 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2567 จ่ายดอกเบี้ยคงที่ 3.50%

          หุ้นกู้ชุดที่ 3 มูลค่าไม่เกิน 11,000 ล้านบาท อายุ 10 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2572 จ่ายดอกเบี้ยคงที่ 4%

          เจ้าสัวเจริญ ขายผ่านธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรี อยุธยา ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) บล.ภัทรฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย หมดเกลี้ยงใน 7 วัน

2 เจ้าสัวเจริญ กู้เงิน ‘1.5 ล้านล้าน’ คนตัวเล็ก‘เข้าไม่ถึงแหล่งเงิน’

 

          ดอกเบี้ยที่เจ้าสัวเจริญระดมทุนนั้นตํ่าเตี้ยติดดินเฉลี่ยแค่ 3.5%

          กระทั่งเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศผ่อนผันการกำกับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit : SLL) แก่กลุ่มที่มีศักยภาพและฐานะกิจการมั่นคง จากเดิมที่ให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อลงทุน ก่อภาระผูกพันแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือโครงการหนึ่งโครงการใดได้ไม่เกิน 25% ของเงินกองทุนทั้งหมด มาเป็นปล่อยสินเชื่อได้เกิน 25% เป็นรายกรณีไป ทำให้ 2 เจ้าสัวติดปีก

          ติดปีกขนาดว่า เจ้าสัวเจริญจะไล่กู้อีกก้อนโต 3.14 แสนล้านบาท เพื่อนำเงินกู้ไปซื้อหุ้นในห้างเทสโก้ โลตัสของอังกฤษ ที่ประกาศขายกิจการในไทยและมาเลเซีย ถ้ากู้อีก 3.14 แสนล้าน รวมของเดิมอีก 2.5 แสนล้านบาท ก็ถือว่าก้อนโตมาก

          นอกจากนี้ยังมีแผนกู้เงินของเบอร์ลี่ ยุคเคอร์ หรือ BJC ผ่านการออกหุ้นกู้ใหม่มูลค่า 12,000 ล้านบาท และ ไทยเบฟ (TBEV) ที่อีกราว 10,000 ล้านบาท ต้นเดือนมิถุนายน 2563 จะมีหุ้นกู้ของ BJC ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนซึ่งต้องกู้อีก 17,920 ล้านบาท

          ขณะที่เจ้าสัวธนินท์ ค่ายเจริญโภคภัณฑ์ จะกู้เงินมาใช้เฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม

 

2 เจ้าสัวเจริญ กู้เงิน ‘1.5 ล้านล้าน’ คนตัวเล็ก‘เข้าไม่ถึงแหล่งเงิน’

 

          3 สนามบิน ไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาท จากธนาคารรัฐและธนาคารพาณิชย์ของไทย เจบิค ของญี่ปุ่น และธนาคารเพื่อการพัฒนาประเทศจีน ขณะนี้ทราบว่าทางธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารออมสิน กำลังเร่งหาเงินมาปล่อยกู้ซินดิเคตโลนก้อนนี้

          พรานฯไปส่องแผนการกู้มาพบว่า เดือนพฤษภาคมนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์จะกู้เงินระดมเงินผ่าน CPF มูลค่า 6,500 ล้านบาท และกู้ผ่าน TUC (บจ.ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น) อีก 9,000 ล้านบาท

          ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้แก่ CPALL จะกู้มูลค่า 10,790 ล้านบาทในเดือนตุลาคม และ CPF มูลค่า 6,700 ล้านบาทในเดือนพฤศจิกายน

          มีคำถามว่าเครือซีพีทั้งหมดมีหนี้เท่าไหร่ พรานฯจุดไต้มาส่องหาเฉพาะ 3 บริษัทใหญ่ CPF CPALL TRUE พบข้อมูลดังนี้ CPF มีหนี้ทั้งหมด 3.2 แสนล้านบาท CPALL มีหนี้ทั้งหมด 2.5 แสนล้านบาท

          TRUE มีหนี้ทั้งหมด 3.3 แสนล้านบาท หนี้ทั้งหมดของ 4 บริษัทเครือซีพีร่วม 9 แสนล้านบาท!

          แล้วดอกเบี้ยละเท่าใด ถ้าหนี้ของเจ้าสัวธนินท์ 9 แสนล้านบาทเศษ คิดดอกเบี้ยแค่ 4% จะตกปีละ 36,000 ล้านบาท

          ส่วนเจ้าสัวเจริญนั้น ถ้ากู้ชุดนี้เข้าไปอีก 3.14 แสนล้านบาท บวกกับหนี้เดิมอีก 2.8-3 แสนล้านบาท จะมีภาระดอกเบี้ยที่เสียแค่ 4% ปีละ 2-2.4 หมื่นล้านบาทเอง

          เบาะๆ สิวๆ!