การบริโภค-มาตรการรัฐ หนุนปี 63 ศก.ไทยขยายตัว

02 ม.ค. 2563 | 07:31 น.

 

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยังเป็นโจทย์ยากสำหรับภาคการผลิตและส่งออกในปี2563   “ฐานเศรษฐกิจ” สำรวจความคิดเห็นจากภาคเอกชนถึงมุมมองการเคลื่อนไหว สนั่น  อังอุบลกุล  ซีอีโอบมจ.ศรีไทยซุปเปอร์แวร์  มองว่าปี 2563 ยังมีความไม่แน่นอนจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน และ Brexit รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมืองต่างประเทศในช่วงของการเลือกตั้ง อาทิ เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

การบริโภค-มาตรการรัฐ  หนุนปี 63 ศก.ไทยขยายตัว

สนั่น  อังอุบลกุล

 อย่างไรก็ตามคาดว่าภาวะเศรษฐกิจโลกมีโอกาสขยายตัวได้  1.7 % โดยเศรษฐกิจของสหรัฐขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่  2.1 % สหภาพยุโรป 1.4 % ในขณะที่ญี่ปุ่นคาดว่าจะปรับตัวลดลงเหลือ 0.5% ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจจีนมีโอกาสขยายตัวต่ำกว่า 6 % โดยคาดว่าจะอยู่ที่ 5.8%

ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 คาดว่าจะมีโอกาสในการขยายตัว 3.1  % ซึ่งจะขยายตัวมากกว่าในปี 2562 ทั้งนี้เป็นผลจากการบริโภค คาดว่าการจะขยายตัว 4.0%  ทั้งนี้เป็นผลมาจากมาตรการของรัฐบาล การปรับขึ้นค้าจ้างขั้นต่ำ รวมทั้งมารตรการประกันราคาสินค้าเกษตร เป็นต้น แต่สิ่งที่ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงในการขยายตัวทางด้านการบริโภค ได้แก่ ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคและนักลงทุนยังคงอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทำให้ผู้บริโภคชะลอการบริโภค  

 

การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 4.1 % เป็นผลจากระดับอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ มาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมทั้งการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ นอกจากนี้คาดว่าผลจาการให้ BOI จะทำให้เกิดการผลิตจริงและการจ้างงานในปีนี้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ยังคงเป็นปัจจัยที่กังวลคือ เรื่องของการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลที่อาจล่าช้า ทำให้การลงทุนของภาครัฐ และเอกชนมีการชะลอตัวลงได้

 

การส่งออกมีโอกาสขยายตัว 1.8  % ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงมีโอกาสในการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนที่ยังคงเติบโต ถึงแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงต่ำกว่าร้อยละ 6  นอกจากนี้สิ่งที่ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างมากต่อการส่งออกคือ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ โดยคาดว่าค่าเงินบาทอาจอยู่ในระดับ 29.75-30.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2563

 

ภาคการเกษตรของไทยคาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 2.8 เนื่องจากรัฐบาลมีการประกันราคาสินค้าเกษตรส่งผลให้ระดับราคาสินค้าเกษตรทรงตัว รวมทั้งระดับราคาได้ของภาคเกษตรสูงขึ้น แต่สิ่งที่เป็นความเสี่ยงทางด้านเกษตรคือ การเปลี่ยนแปลงของราคาพลังงาน ต้นทุนการผลิต รวมทั้งภัยธรรมชาติ ที่อาจเกิดขึ้น

 

ภาคนอกเกษตรคาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 3.2 เนื่องจากการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ถึงแม้ว่าจะชะลอตัวลงก็ตาม นอกจากนี้การส่งเสริมและการให้สิทธิทางด้าน  BOI ของภาครัฐ แต่สิ่งที่ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงคือ สถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ระดับราคาพลังงานที่มีความไม่แน่นอน รวมทั้งสถาการณ์ภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ยังคงไม่มีความแน่นอน

 

การท่องเที่ยว คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ 41-42 ล้านคน เนื่องจากการส่งเสริมการท่องเที่ยว และการทำการตลาดของภาครัฐฯ   

 

-ปัจจัยเสี่ยงรอบทิศ

นายสนั่น  กล่าวว่า ความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะความเสี่ยงในเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมทั้ง Brexit  สถานการณ์เศรษฐกิจจีนที่คาดว่าจะมีการขยายตัวต่ำกว่า 6 % ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยไปยังประเทศจีน ซึ่งถือเป็นตลาดที่สำคัญของไทย

 

ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดว่าจะมีโอกาสแข็งค่าขึ้นอยู่ระหว่าง  29.75-30.50  บาทต่อดอลลาร์

ความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ   ส่วนหนี้ NPLs ของสถาบันการเงิน และความเข็มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินจากการใช้มาตรฐานทางบัญชี TFRS9   รวมถึงปัจจัยทางด้านภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง เป็นต้น   ส่วนDisruptive Technology และ Platform ธุรกิจใหม่ๆ เริ่มส่งผลกระทบและ Disrupt ธุรกิจเดิมๆ รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการรายย่อยเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น Operating Cost ของผู้ประกอบการถูกลง เช่น ด้านการโฆษณา

 

การบริโภค-มาตรการรัฐ  หนุนปี 63 ศก.ไทยขยายตัว

-ปัจจัยบวกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลหลังจากที่ในปี 62 มีความล่าช้า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายมาตรการที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น มาตรการลดค่าครองชีพ มาตรการประกันราคาสินค้าเกษตร เป็นต้น

สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยคาดว่าจะมีจำนวน 41-42 ล้านคน ในปี 2563 การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลที่เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับปี 62   ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะยังคงมีการใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับธนาคารกลางทั่วโลก

มาตรการส่งเสริมหรือช่วยเหลือ SMEs ให้เข้าถึงสินเชื่อ และแหล่งตลาด

 

Trade war ทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิต และการลงทุน  กลางของ ASEAN ในด้าน Logistics และด้านการบิน-Connectivity เป็นเรื่องสำคัญ ที่จะทาให้เกิดการเข้าถึงและกระจายความเจริญ ไทยมีโครงการEEC ที่กาลังเร่งผลักดันเช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ท่าเรือมาบตาพุด เป็นต้น และด้านการบิน ก็เป็นแผนอุตสาหกรรมเป้าหมายเช่นกัน

 

-เอกชนรับมือปัจจัยเสี่ยง

สำหรับปี 2563 บมจ.ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ มีแผนหรือมาตรการ ที่ต้องนำมาใช้ในการรับมือ หรือบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง  รวมถึงทำการศึกษาพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ที่มีผลมาจาก Disruptive Technology เพื่อใช้ในการปรับปรุงกลยุทธ์ในการเข้าถึงผู้บริโภค  การเพิ่มทักษะแรงงานให้ความสามารถมากขึ้น เป็นรูปแบบของการ upskill เพื่อให้แรงงานสามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้น  การใช้โอกาสในการทำการตลาดจาก Technology ที่มีอยู่ในปัจจุบัน    การมองหาตลาดในกลุ่มอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่ยังมีศักยภาพ และเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มตลาดให้กับองค์กร ทั้งนี้เนื่องจากตลาด ASEAN ที่มีขนาดตลาดใหญ่ (~640 ล้านคน ปี 2018 หรือ10x ของไทย) CLMVT (242 ล้านคน) มีโอกาสการเติบโตมาก ทั้งในมุมการค้า การท่องเที่ยว และ ความร่วมมือด้านต่างๆ รวมถึง South Asia เช่น บังคลาเทศ และจีนตอนใต้  และการวางแผนองค์กรให้อยู่ใน Trend BCG (Bio, Circular, Green Economy) เพื่อการปรับตัวในระยะยาว

การผลักดันให้เกิดการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ โดยการ เจาะตลาดใหม่ หรือเจาะ Segment ใหม่ๆ พัฒนา และเพิ่มมูลค่าสินค้าหรือบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้า (Demand driven) โดยเฉพาะในกลุ่มตลาด ASEAN ที่มีขนาดตลาดใหญ่

 

การพัฒนา SMEs โดยเฉพาะด้าน Creativity, Storytelling และผู้ประกอบการรายใหญ่ เน้นพัฒนาด้านInnovation R&D   การ ผลักดันสินค้าและบริการของไทยที่เป็นที่ยอมรับและมีเอกลักษณ์ในตลาด โดยอาศัย E-commerce และ Logistics ที่เข้มแข็งร่วมกับ Strategic partner  การผลักดัน BCG (Bio, Circular, Green Economy) และSharing economy (Grab, Line Man, etc.) ที่ทาให้เกิดการลงทุนต่อเนื่องอีกมากมาย  การสร้างความพร้อมของคน/ การศึกษา (upskill-reskill) –ในอนาคตอันใกล้ เราอาจต้องมาดูเรื่อง Economies of skill นอกเหนือจาก Economies of scale  และการผลักดันขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย และการลดความเหลื่อมล้า เพื่อให้เศรษฐกิจของไทยมีความเข้มแข็ง