รวมฮิตฉายานายกฯ 3 ยุค ‘ตู่-ปู-มาร์ค’

25 ธ.ค. 2562 | 02:00 น.

 

“รัฐเชียงกง” ฉายารัฐบาลประจำปี 2562 ที่ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ตั้งฉายารัฐบาล พร้อม 10 รัฐมนตรี หลังว่างเว้นมา 6 ปี ส่วนบิ๊กตู่ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ฉายาอิเหนาเมาหมัดเป็นการยกคำสุภาษิตไทย ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง เปรียบแนวทางปฏิบัติ และนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่เห็นได้ชัดหลายเรื่อง มักจะตำหนิหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต และสุดท้ายก็กลับมาทำเอง เช่น โครงการลักษณะประชานิยม บอกไม่เป็นนายกฯ สุดท้ายก็กลับมา, ไม่อยากเล่นการเมือง ก็หนีไม่พ้นฯ

ส่วนรมต.ท่านอื่นๆ อีก 9 ท่าน ก็หาอ่านได้จากข่าวตามช่องทางอื่นที่สามารถหาอ่านได้ไม่ยาก แต่โอกาสนี้ผมจึงรวบรวมฉายาของนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านายกฯลุงตู่ มาให้พอเห็นภาพการเมืองในอดีต

ปี 2555 “พี่ชายคนแรกคือฉายารัฐบาลของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นฉายาภาคต่อของฉายาทักษิณส่วนหน้าในปี 2554 ล้อมาจากนโยบายรถคันแรกและบ้านหลังแรกของรัฐบาล เพราะรัฐบาลชุดนี้บริหารประเทศภายใต้เงาของพี่ชาย พี่สาว รวมทั้งปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาก็มาจากเรื่องของพี่ ทำให้ปัญหาปากท้องประชาชน ข้อครหาเรื่องทุจริตไม่ได้รับการแก้ไขอย่างที่ควรจะเป็น เพราะรัฐบาลมัวแต่ยุ่งอยู่กับพี่ชายเรื่องของพี่ต้องมาก่อนเป็นอันดับแรกนั่นเอง


 

 

และตัวของนางสาวยิ่งลักษณ์ เองได้ฉายาปูกรรเชียงก็เป็นภาคต่อของปี 2554 ที่คว้าฉายานายกฯ นกแก้วเพราะชอบท่องสคริปต์ แต่ปูกรรเชียงโดยล้อมาจากชื่อเล่นปูของนายกฯ ที่มีลักษณะเดินเซไปเซมา ไม่ตรงทาง เหมือนกับการบริหารงานที่ต้องแบกรับภาระ และใบสั่งจากพี่ชายที่ชื่อทักษิณ และพี่สาวที่ชื่อ เจ๊ . ทำให้ไม่เห็นผลงานเป็นรูปธรรม และเมื่อเกิดปัญหาทางการเมืองขึ้น เจ้าตัวก็มักจะตีกรรเชียงลอยตัวหนีปัญหา จนถูกฝ่ายค้านวิจารณ์อยู่เรื่อยๆ

 

รวมฮิตฉายานายกฯ  3 ยุค ‘ตู่-ปู-มาร์ค’

 

ส่วนยุค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปี 2552 ได้ฉายารัฐบาลใครเข้มแข็ง?” มาจากการประกาศแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งเพื่อลงทุนยกเครื่องประเทศครั้งใหญ่ ภายใต้ ... และพ...เงินกู้รวม 8 แสนล้านบาท นำมาสู่การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความโปร่งใส และการตั้งคำถามตัวโตๆ ว่า การกู้เงินมากขนาดนี้มีการเอื้อประโยชน์ฝ่ายใด หรือไม่ จนนำมาซึ่งคำถามว่า ใครเข้มแข็ง

ส่วนนายอภิสิทธิ์ ได้รับฉายาหล่อหลักลอยจากภาพลักษณ์หน้าตาดี การศึกษาดี และเมื่อรับตำแหน่งได้ประกาศกฎเหล็ก 9 ข้อ ให้คณะรัฐมนตรี ต้องมีความรับผิดชอบทางการเมืองมากกว่าความรับผิดชอบทางกฎหมาย แต่เมื่อมีรัฐมนตรีบางคนมีปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย หรือมีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใส กลับไม่ได้แสดงความรับผิดชอบทางการเมือง หลักที่เคยประกาศไว้จึงเหมือนคำพูดที่เลื่อนลอย ไม่เป็นไปตามหลักการที่วางไว้

 

ต่อมาปี 2553 นายอภิสิทธิ์ ได้รับฉายารัฐบาลว่ารัฐบาลรอดฉุกเฉินเพราะต้องเผชิญกับวิกฤติหลายด้าน จนต้องประกาศใช้ ...การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ..2548 เพื่อควบคุมสถานการณ์ จนสุดท้ายรอดจากวิกฤติต่างๆ รวมทั้งรอดพ้นจากคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่นายอภิสิทธิ์ ได้รับฉายาว่าซีมาร์คโลชันเพราะการปฏิบัติหน้าที่ทำได้เพียงเป็นการบรรเทาโรค ไม่ต่างจากซีม่าโลชันทาแก้คันเท่านั้น

แต่สิ่งที่ผมอยากจะยํ้าตอนท้ายกับคุณผู้อ่าน คือ การตั้งฉายารัฐบาลและรัฐมนตรีประจำปีสื่อทำเนียบ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมา เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่อการทำงานรัฐบาล จากประสบการณ์การทำงานที่ปรากฏต่อสื่อสาธารณะ โดยมิได้มีอคติ หรือเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ใดผู้หนึ่ง ทั้งหมดเกิดจากมติส่วนรวมของสื่อมวลชนนะครับผม

คอลัมน์อินไซด์สนามข่าว โดย : จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง

หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,534 วันที่ 26-28 ธันวาคม 2562

รวมฮิตฉายานายกฯ  3 ยุค ‘ตู่-ปู-มาร์ค’