สำนักงบ-สภาพัฒน์ อาวุธลับ‘ลุงตู่’ ป้องผลประโยชน์ชาติ

24 พ.ย. 2562 | 02:45 น.

 

คอลัมน์ ถอดสูตรคุย โดย บรรทัดเหล็ก

หน้า 7 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,525 วันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2562

 

ครบ 4 เดือนแล้วสำหรับการบริหารราชการแผ่นดินอย่างเป็นทาง การ ของรัฐบาล พล.. ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมัยที่ 2

เป็น 4 เดือนของการบริหารราชการแผ่นดินที่เต็มไปด้วยแรงกดดัน และข้อต่อรองทางการเมือง จากบรรดาพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งในเรื่องของการผลักดันนโยบายทางการเมืองที่ได้หาเสียงเอาไว้ออกไปสู่ภาคปฏิบัติ และข้อเสนอให้ทบทวนโครงการเดิมที่รัฐบาล พล.. ประยุทธ์ สมัยที่ 1 ดำเนินการไว้

นับเป็น 4 เดือนที่ข้าราชการ สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า สภาพัฒน์ 2 หน่วยงานราชการในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีต้องทำงานอย่างหนักในการกลั่นกรองโครงการที่แต่ละกระทรวงเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ เพื่อประโยชน์สูงสุด และไม่ก่อให้เกิดปัญหากับประเทศในระยะยาว

การประชุมคณะรัฐมนตรีในช่วงที่ผ่านมาหลายโครงการถูกสำนักงบประมาณ และสภาพัฒน์ เสนอความเห็นค้านในที่ประชุม จนเจ้ากระทรวงต้องถอนวาระกลับไปทำข้อเสนอกลับมาใหม่ ขณะที่บางโครงการก็ถูกปรับลดขนาด หรือลดงบประมาณรายจ่ายลง

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ กรณีกระทรวงคมนาคม เสนอให้ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจทบทวนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ด้วยการปลี่ยนรูปแบบการลงทุนจากเดิมที่ใช้วิธีการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในรูปแบบ PPP Net Cost แบบสัญญาเดียวทั้งงานโยธาและเดินรถ เป็นแยกสัญญาก่อสร้างงานโยธาและงานระบบออกจากกัน โดยอ้างว่าการลงทุนแบบ PPP มีต้นทุนทางการเงินที่สูงกว่า การเปิดประมูลให้เอกชนก่อสร้างโครงการ


 

 

แต่สุดท้ายหลังจากอนุทิน ชาญวีรกูลประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปเรื่องดังกล่าว ปรากฏว่าต้องสั่งปิด การประชุมลงก่อนที่จะมีข้อสรุป หลังจากดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์เลขาธิการสภาพัฒน์ เสนอความเห็นในที่ประชุมระบุ สศช.ไม่ขัดข้องที่จะเปลี่ยนรูปแบบการลงทุน แต่กระทรวงคมนาคมและรฟม.ต้องตอบคำถามให้ได้ว่ารัฐจะได้ประโยชน์อะไรจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เพราะก่อนหน้านี้รฟม.เคยทำการศึกษาความคุ้มค่าการลงทุน และเสนอให้คณะกรรมการสศช. และบอร์ดพีพีพีพิจารณา โดยได้มีการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ EIRR ที่รัฐจะได้รับพบว่า ถ้าลงทุนด้วยรูปแบบ PPP รัฐบาลจะได้ผลตอบแทน 21% แต่ถ้าแยกสัญญาจ้างเอกชนก่อสร้างรัฐบาลจะได้ผลตอบแทน 15.9% หรือลดลงเกือบ 5%

 

สำนักงบ-สภาพัฒน์  อาวุธลับ‘ลุงตู่’  ป้องผลประโยชน์ชาติ

 

นอกจากนี้ยังมีกรณีโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางพารา ระยะที่ 1 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วงเงินกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท ที่สำนักงบประมาณ แสดงความไม่เห็นด้วยที่จะมีการจ่ายเงินประกันรายได้ให้กับเกษตรกรที่ถือบัตรสีชมพู ที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่ดินเกือบ 3 แสนราย เพราะกังวลว่าการดำเนินการดังกล่าวจะผิดระเบียบการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทั้งจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรที่ปลูกพืชชนิดอื่นที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลในโครงการประกันรายได้บุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

แม้ที่ประชุมครม.ครั้งแรกจะเห็นด้วยกับสำนักงบประมาณที่ไม่อนุมัติให้จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางที่ถือบัตรสีชมพู แต่สุดท้ายก็เห็นชอบให้จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาว สวนยางที่ถือบัตรสีชมพู ภาย หลังจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เสนอเรื่องให้ที่ประชุม ครม.ทบทวน

 

นาทีนี้อาจกล่าวได้ว่าสำนักงบประมาณ และสภาพัฒน์ คืออาวุธลับ ที่ พล..ประยุทธ์ เลือกนำมาใช้ในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ หลังจากนี้ยังมีหลายโครงการที่ต้องฝ่าด่าน สำนักงบประมาณ และสศช. ไม่ว่าจะเป็นโครงการสร้างอาคารผู้โดยสารรองรับผู้โดยสารหลังที่ 2 ด้านทิศเหนือ รองรับผู้โดยสาร 40 ล้านคนต่อปี วงเงินลงทุน 4.2 หมื่นล้านบาท ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) การจัดซื้อฝูงบินใหม่ของการบินไทย มูลค่า 1.5 แสนล้านบาท และอีกหลายโครงการ

ไม่นับรวมการแก้ไขปัญหาค่าโง่ทางด่วน ที่ศักดิ์สยาม ชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่คค (ปคร)0202/280 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อขอให้ที่ประชุม ครม.ทบทวนมติครม. เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 เกี่ยวกับข้อพิพาทของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กับบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พร้อมขอให้ครม.มอบหมายให้อนุทิน ชาญวีรกูลและกระทรวงคมนาคม เป็นผู้กำกับดูแลกรณีนี้

โดยให้เหตุผลว่า เนื่อง จากได้มีพระบรมราชโองการโปรด เกล้าฯแต่งตั้งครม.ชุดใหม่เพื่อบริหารราชการแผ่นดินตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2562 และมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีผู้กำกับการบริหารราชการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ โดยนายอนุทินเป็นผู้กำกับ การบริหารราชการกระทรวงคมนาคม ดังนั้นกระทรวงคมนาคมจึงเห็นควรเสนอครม.พิจารณาทบทวนมติครม. เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 ในเรื่องดังกล่าว

 

สำนักงบ-สภาพัฒน์  อาวุธลับ‘ลุงตู่’  ป้องผลประโยชน์ชาติ