อยู่บนภู : ‘อนาคตใหม่’ กับการปกป้องสถาบัน กับความเสี่ยงละเมิดอำนาจศาล

08 มี.ค. 2562 | 13:45 น.

อยู่บนภู : ‘อนาคตใหม่’ กับการปกป้องสถาบัน  กับความเสี่ยงละเมิดอำนาจศาล
อยู่บนภู : ‘อนาคตใหม่’ กับการปกป้องสถาบัน  กับความเสี่ยงละเมิดอำนาจศาล
พลันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำพิพากษา โดยมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค10 ปี พรรคอนาคตใหม่ที่มี ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นหัวหน้าพรรคได้ออกแถลงการณ์ทันที ข้อความในแถลงการณ์สุ่มเสี่ยงละเมิดอำนาจศาลและหมิ่นเหม่ต่อความจงรักภักดีต่อสถาบัน


อ่าน | สั่งยุบ ทษช. ศาลตัดสินผิด รธน.!!
อ่าน | อ่านชัด ๆ ศาลสั่งฟัน ทษช. ตัดสิทธิ 10 ปี กก.บห. "สมัคร ส.ส. - ตั้งพรรคใหม่" 


ย้อนไปอ่านคำพิพากษาบางตอนสรุปว่า การกระทำของพรรคไทยรักษาชาติ ในการเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เพื่อแข่งขันกับพรรคการเมืองอื่นในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งและในกระบวนการให้ความเห็นชอบบุคคล ในนามพรรค การเมืองเพื่อนายกรัฐมนตรี ตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการกระทำย่อมเล็งเห็นผลว่าจะทำให้การปกครองของไทยแปรเปลี่ยนไปสู่สภาพที่สถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาใช้อำนาจทางการเมืองปกครองประเทศ สภาพการณ์เช่นนี้ย่อมมีผลให้หลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต้องถูกเซาะกร่อนบ่อนทำลายให้เสื่อมทรามไปโดยปริยาย

อยู่บนภู : ‘อนาคตใหม่’ กับการปกป้องสถาบัน  กับความเสี่ยงละเมิดอำนาจศาล

โบราณราชประเพณีแม้จะไม่มีบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรตามรัฐธรรมนูญ แต่พออนุมานความหมายเบื้องต้นได้ว่าเป็นประเพณีการปกครองที่ยึดถือปฏิบัติมานาน จนได้รับการยอมรับ ยึดถือปฏิบัติ และสมควรได้รับการถนอมรักษาไว้ มิใช่ประเพณีการปกครองประเทศอื่น และประเพณีการปกครองของไทยหมายถึงการปกครองในระบอบเสรี ประชาธิป ไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ใช่ประชาธิปไตยรูปแบบอื่น ทฤษฎีอื่น หรือลัทธิอื่น ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่สถาบันต้องอยู่เหนือการเมือง เป็นกลางทางการเมือง ไม่เปิดช่องเปิดโอกาสให้สถาบันถูกนำไปใช้ประโยชน์ ฝักใฝ่ทางการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม แม้จะไม่มีบทบัญญัติทางรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะแต่ต้องนำโบราณราชประเพณีมาใช้บังคับด้วย
 

ถ้าพรรคการเมืองใดกระทำการล้มล้างหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อการเมืองและการปกครอง พรรคการเมืองนั้น รวมทั้งกรรมการบริหารพรรคย่อมต้องถูกลงโทษตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง จะอ้างความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความเห็นความเชื่อของตนมาเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้ ถึงแม้รัฐธรรมนูญจะไม่ได้นิยามศัพท์คำว่า “ล้มล้าง” หรือ “เป็นปฏิปักษ์” ไว้แต่ทั้ง 2 คำก็เป็นภาษาไทยธรรมดา มีความหมาย และความเข้าใจตามที่ใช้กันทั่วไป โดยศาลเห็นว่า คำว่า “ล้มล้าง” หมายถึงทำลายล้างผลาญไม่ให้ธำรงอยู่ ส่วนคำว่า “ปฏิปักษ์” ไม่จำเป็นต้องรุนแรง ถึงขนาดตั้งตนเป็นศัตรู เพียงแค่เป็นการขัดขวางไม่ให้เจริญก้าวหน้า หรือเซาะกร่อน บ่อนทำลายจนเกิดความชำรุดทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลงก็เข้าข่ายการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ได้แล้ว
อยู่บนภู : ‘อนาคตใหม่’ กับการปกป้องสถาบัน  กับความเสี่ยงละเมิดอำนาจศาล อยู่บนภู : ‘อนาคตใหม่’ กับการปกป้องสถาบัน  กับความเสี่ยงละเมิดอำนาจศาล

อยู่บนภู : ‘อนาคตใหม่’ กับการปกป้องสถาบัน  กับความเสี่ยงละเมิดอำนาจศาล
ด้านแถลงการณ์พรรคอนาคตใหม่ ระบุว่า

1.ในรัฐเสรีประชาธิปไตย บุคคลที่มีแนวคิดอุดมการณ์เดียวกันย่อมมีเสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐ โดยผ่านการนำเสนอนโยบายเพื่อให้ประชาชนเลือก พรรคการเมืองจึงเป็นสถาบันการเมืองอันสำคัญยิ่งในระบอบประชาธิปไตย การยุบพรรคการเมืองจะกระทำการได้ก็ต่อเมื่อเหตุอันจำเป็นที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น
 

2. ตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา มีกระบวนการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง มีการยุบพรรคการเมืองซึ่งครองเสียงข้างมากมาแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งไม่ได้ส่งผลดีต่อระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ตรงกันข้าม การยุบพรรคการเมืองกลับทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยต่อการใช้อำนาจขององค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ
 

 3. การยุบพรรคการเมืองในช่วงเวลาก่อนถึงวันเลือกตั้งเพียง 17 วัน ย่อมส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งที่กำลังเกิดขึ้นนี้ด้วย
 


พรรคอนาคตใหม่ยังพูดไปถึงกขบวนการ “ตุลาการภิวัฒน์” หรือการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองตลอดกว่าทศวรรษ ไม่ได้ช่วยให้ความขัดแย้งทางการเมืองลดลง แต่กลับทำให้ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจถูกตั้งคำถาม จนกลายเป็นว่า ฝ่ายหนึ่ง ก็มองว่ารัฐบาลเสียงข้างมากใช้อำนาจโดยมิชอบ อีกฝ่ายหนึ่งก็มอง ว่าองค์กรตุลาการและองค์กรอิสระต้องการทำลายฝ่ายเสียงข้างมาก

 

พรรคอนาคตใหม่อาจรีบร้อนในการออกแถลงการณ์มากเกินไป หรืออาจจะหวังผลทางการเมืองในด้านคะแนนเสียง จึงแสดงจุดยืนในทางตรงข้ามกับคำพิพากษา ที่แม้แต่กระทั่งกรรมการบริหาร ทษช. ที่ถูกตัดสิทธิยังยอมรับ แต่พรรคอนาคตใหม่แถลงการณ์โต้ทันที
 

พรรคจึงสุ่มเสี่ยงละเมิดอำนาจศาล โดยมาตรา 38 วรรค 3 ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่าการวิจารณ์คำสั่งหรือการวินิจฉัยคดีที่กระทำโดยสุจริตและมิได้ใช้ถ้อยคำหรือมีความหมายหยาบคายเสียดสีหรืออาฆาตมาดร้ายไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
 

แต่ตามแถลงการณ์ในข้อ 2 เป็นถ้อยคำที่ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยต่อการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ และแถลงการณ์ข้อ 3 การยุบพรรคการเมืองในช่วงเวลาก่อนถึงวันเลือกตั้งเพียง 17 วัน ย่อมส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งที่กำลังเกิดขึ้น ตัดโอกาสพรรคการเมืองทำลายเจตจำนงของประชาชน
อยู่บนภู : ‘อนาคตใหม่’ กับการปกป้องสถาบัน  กับความเสี่ยงละเมิดอำนาจศาล

อันที่จริงศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาไปตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่ากระทำการเข้าข่ายยุบพรรคหรือไม่ ต้องตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารอย่างไรหรือไม่ จะมีผลกระทบต่อการเลือกตั้งอย่างไรหรือไม่นั้น ไม่ใช่ประเด็นการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญและการพิจารณาของศาลก็มิได้หวังผลที่จะมีต่อการเลือกตั้ง
 

การแถลงการณ์ดังกล่าวจึงมีประเด็นให้ต้องขบคิดว่ากระทำโดยสุจริตหรือไม่ หรือมีเจตนา หรือการใช้ถ้อยคำแอบแฝง และต้องการให้ประชาชนเข้าใจว่าการพิจารณาคดีของศาลมีข้อเคลือบแคลงสงสัย และพิจารณาวินิจฉัยคดีโดยหวังให้มีผลกระทบต่อการเลือกตั้ง ซึ่งข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น

แถลงการณ์พรรคอนาคตใหม่ระบุว่ายึดมั่นในระบอบประชาธิป ไตย ทั้งที่รัฐธรรมนูญที่มีมาโดยตลอดของไทย ต้องเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และคำวินิจฉัยครั้งนี้ เป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดแจ้ง มิให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งมาบ่อนทำลาย

แต่เหตุไฉนพรรคอนาคตใหม่ ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้แต่อย่างใด ทั้งที่ต้องเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนในฐานะพสกนิกรที่ต้องพิทักษ์รักษาสถาบันกษัตริย์ไว้อย่างสูงสุด

อ่าน | 'อนาคตใหม่' แถลงการณ์ปมยุบ "ทษช." แนะแก้ รธน. จัดดุลยภาพสถาบันทางการเมืองใหม่ 


|คอลัมน์ : อยู่บนภู
|โดย : กระบี่เดียวดาย
|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3451 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 10-13 มี.ค.2562 
อยู่บนภู : ‘อนาคตใหม่’ กับการปกป้องสถาบัน  กับความเสี่ยงละเมิดอำนาจศาล