เข้าถึงแหล่งเงินโจทย์ท้าทายศก.ภูมิภาค-SME (ตอน1)

25 ม.ค. 2560 | 10:03 น.
การพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคและการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เป็นเป้าหมายที่สำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะนำพาประเทศไปสู่การเป็น "ไทยแลนด์ 4.0" นอกเหนือจากการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาใน 2 ด้านนี้จะก่อให้เกิดการขยายตัวของ "เศรษฐกิจฐานราก" ซึ่งจะช่วยให้เกิดการกระจายความอยู่ดีกินดีของประชาชนอย่างทั่วถึง และขณะนี้รัฐได้เริ่มดำเนินการแล้วในหลายส่วน อาทิ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ SME รายใหม่ (Start-up) โครงการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคใน 18 กลุ่มจังหวัด ฯลฯ

MP27-3230-A อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากสิ่งที่ภาครัฐทำไปแล้ว ปัจจัยสำคัญอันเป็นกุญแจที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEsในส่วนภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม คือ "การเข้าถึงแหล่งเงินทุน" เพราะหากผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายก็หมายถึง "โอกาสที่จะนำเงินไปลงทุนต่อยอดธุรกิจให้เติบโต สิ่งที่ตามมาคือ เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ นำไปสู่การกระจายความมั่งคั่งของเศรษฐกิจส่วนภูมิภาค"

ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลในอดีตในช่วงปี 2548-2559 พบว่าหากผู้ประกอบการใช้สินเชื่อในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น 1.0% จะทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 0.4% ดังนั้นถ้าต้องการให้เศรษฐกิจภูมิภาคขยายตัว มีความจำเป็นที่จะต้องขยายฐานแหล่งเงินทุนไปยังเศรษฐกิจในส่วนภูมิภาคมากขึ้น เพื่อให้เกิดการนำเงินไปต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ของผู้ประกอบการก่อนจะเข้าสู่ประเด็นเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน จะขอฉายภาพรวมสินเชื่อภาคธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ไทยซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ของระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างการให้สินเชื่อก่อน

(อ่านต่อตอนต่อไป)

ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นของ TMB Bank แต่อย่างใด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,230 วันที่ 26 - 28 มกราคม 2560