“กนง. คงดอกเบี้ยที่ 1.5% มองอัตราแลกเปลี่ยนอาจผันผวนสูงขึ้น”

12 พ.ค. 2559 | 04:00 น.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ(EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกบทวิเคราะห์เรื่อง “กนง. คงดอกเบี้ยที่ 1.5% มองอัตราแลกเปลี่ยนอาจผันผวนสูงขึ้น”

Key Point

*คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ในการประชุมวันที่ 11 พฤษภาคม 2016

*เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโน้มไปด้านที่แย่ลง เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณอ่อนแรงลง ส่วนหนึ่งเนื่องจากครัวเรือนภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง แม้ว่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐและการท่องเที่ยว

*ภาวะการเงินผ่อนคลายเพิ่มขึ้นจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่อยู่ในระดับต่ำ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ที่ลดลง

*ยังคงต้องติดตามผลของพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนของนักลงทุนที่สูงขึ้น (search for yield) ต่อเสถียรภาพการเงิน

*ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเคลื่อนย้ายเงินทุนอาจสูงขึ้นจากความไม่แน่นอนของทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก

Implication

อีไอซีคาด กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.5% ตลอดปี 2016

*เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ

เพื่อรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (policy space)

แถลงการณ์ของ ธปท. เทียบกับการประชุมครั้งก่อน

เศรษฐกิจไทย(การประชุมครั้งก่อน23 มี.ค. 2016)

เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากแรงสนับสนุนของการใช้จ่ายภาครัฐ การท่องเที่ยว และการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นในบางกลุ่มธุรกิจ แต่ในภาพรวมมีสัญญาณอ่อนแรงลงหลังจากผลชั่วคราวของมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้ายังหดตัวสูงและมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าจากการชะลอ ตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก ขณะที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนเพื่อแสวงหา ผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield)

เศรษฐกิจไทย(การประชุมครั้งนี้ 11 พ.ค 2016)

เศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐและการท่องเที่ยว ในขณะที่การส่งออกไม่รวมทองคำหดตัว ความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโน้มไปด้านต่ำมากขึ้น เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณอ่อนแรงลง ส่วนหนึ่งเนื่องจากครัวเรือนภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง นอกจากนี้ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเคลื่อนย้ายเงินทุนอาจสูงขึ้นจากความไม่แน่นอนของทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก

สถานการณ์เงินเฟ้อ(การประชุมครั้งก่อน23 มี.ค. 2016)

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงติดลบต่อเนื่อง ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลดลงในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่หักผลของภาษีสรรพสามิตยาสูบและรถยนต์มีแนว โน้มชะลอลง สะท้อนแรงสนับสนุนด้านอุปสงค์ที่แผ่วลง

สถานการณ์เงินเฟ้อ(การประชุมครั้งนี้ 11 พ.ค 2016)

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับมาเป็นบวกในเดือนเมษายนตามผลของฐานราคาน้ำมันสูงในช่วงก่อนหน้าที่ลดลง แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยปรับสูงขึ้นตามฐานของราคาน้ำมัน แต่ยังเผชิญความไม่แน่นอนจากราคาน้ำมันในตลาดโลกและอุปสงค์ในประเทศที่มีสัญญาณอ่อนแรง

ความเสี่ยงที่ กนง. ติดตาม(การประชุมครั้งก่อน 23 มี.ค. 2016)

1.เสถียรภาพการเงินจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

ความเสี่ยงที่ กนง. ติดตาม(การประชุมครั้งนี้ 11 พ.ค 2016)

1.ความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยน

2.พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield)

3.การอ่อนแรงลงของการบริโภคภายในประเทศ

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย(การประชุมครั้งก่อน23 มี.ค. 2016)

มติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50%

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย(การประชุมครั้งนี้ 11 พ.ค 2016)

มติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50%

เหตุผลของกนง.(การประชุมครั้งก่อน 23 มี.ค. 2016)

นโยบายการเงินในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ผ่อนปรน และควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย(policy space)

เหตุผลของกนง(การประชุมครั้งนี้ 11 พ.ค 2016)

นโยบายการเงินในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ผ่อนปรนเพียงพอและต่อเนื่อง และควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย(policy space)

EIC_policy_rate2016_11may