การบริหารธุรกิจครอบครัว แบบ Working Backwards

18 ต.ค. 2563 | 05:34 น.

การถ่ายโอนกิจการ ให้เป็นไปอย่างราบรื่น ประสบความสำเร็จ และถูกใจทุกฝ่าย ไม่ใช่เรื่องง่าย ใน "ธุรกิจครอบครัว"

การส่งผ่านกิจการถือเป็นความท้าทายสำคัญที่เจ้าของธุรกิจครอบครัวทุกรุ่นต้องเผชิญ และไม่ว่าจะเป็นผู้ให้หรือผู้รับสืบทอดกิจการล้วนมีความพยายามที่จะให้การถ่ายโอนกิจการเป็นไปอย่างราบรื่นด้วยกันทั้งนั้น ทั้งนี้ในระหว่างการตัดสินใจขายและการถ่ายโอนกิจการไปสู่สมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ ต้องใช้ความอดทนและที่ปรึกษาผู้สามารถให้คำแนะนำเพื่อหาทางออกที่เป็นผลดีมากที่สุด เพราะไม่มีใครอยากทุ่มเทสร้างธุรกิจเพียงเพื่อที่จะเห็นมันพังทลายลงในตอนท้าย และเมื่อใดก็ตามที่ครอบครัว ธุรกิจ เงินและอารมณ์อยู่ในที่เดียวกันและเวลาเดียวกันแล้วก็เป็นสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงอย่างที่สุด

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากทุกคนไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในกระบวนการ เว้นแต่คนที่มีส่วนได้ส่วนเสียจะได้ร่วมรับฟังและทำความเข้าใจเสียก่อนที่กระบวนการสืบทอดจะแล้วเสร็จ บ่อยครั้งแทนที่จะเป็นการส่งผ่านธุรกิจก็กลายเป็นการส่งผ่านความขัดแย้งในครอบครัวต่อไปยังคนรุ่นต่อไปอีก Philip Harriman ที่ปรึกษาด้านการเงินและหุ้นส่วนของ Lebel & Harriman LLP ใน Falmouth มีคำแนะนำเอาไว้ดังนี้

การบริหารธุรกิจครอบครัว แบบ Working Backwards

การบังคับให้สมาชิกครอบครัวคือ อันตรายอย่างที่สุด การส่งผ่านธุรกิจหากมีความเห็นต่างควรได้รับการหาข้อสรุปอันเป็นที่ยอมรับ และอย่าลืมสมาชิกในครอบครัวที่ไม่ได้ทำงานอยู่ในธุรกิจโดยตรงแต่อาศัยอยู่ร่วมกับคนที่ทำงานในธุรกิจด้วย ซึ่งมักมีความเห็นในเรื่องนี้ เทคนิคของผู้บริหารธุรกิจครอบครัวก็คือให้ทำงานแบบพร้อมที่จะส่งต่อธุรกิจไปยังคนรุ่นต่อไป

              

โดยเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมายที่สำคัญต่างๆ ไว้ พร้อมกับช่วงเวลาที่ต้องทำให้เสร็จ ซึ่งรวมถึงการบ่มเพาะทายาท หรือการสร้างทีมงานมืออาชีพ ที่เรียกว่าการทำงานแบบย้อนกลับ (Work Backwards) ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงานจะทำให้ความเสี่ยงในการส่งผ่านกิจการน้อยลง โดยต้องแน่ใจว่าทายาทรุ่นต่อไปต้องการโอกาสนี้ มีความสุขและพอใจกับความท้าทายนี้อย่างแท้จริง

 

แม้คนรุ่นใหม่จำนวนมากชอบทำงานที่มีรายได้ดี แต่หากความต้องการส่วนตัวกลับไม่ได้รับการเติมเต็มเพราะงานทำให้พวกเขารู้สึกว่างเปล่า และแน่นอนว่าไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากเห็นลูกที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้วรู้สึกเหมือนติดกับดักเพียงเพราะต้องทำตามความคาดหวัง การมีที่ปรึกษาผู้มากประสบการณ์เข้ามาช่วยจัดลำดับวาระงานของแต่ละคน

 

โดยที่ปรึกษาจะใช้เวลาในการพบปะทำความเข้าใจว่าอะไรสำคัญที่สุดสำหรับแต่ละคน เพื่อที่พวกเขาจะได้แบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับอนาคตของธุรกิจและจุดที่เหมาะสมสำหรับตนได้ และที่ปรึกษาควรมีความฉลาดทางอารมณ์ในการบ่งชี้และจัดการแก้ไขจุดที่ทำให้เกิดความเครียด วาระซ่อนเร้นหรือปัญหาใหญ่หรือร้ายแรงที่ทุกคนรู้ดีแต่ไม่มีใครอยากพูดถึงได้ด้วย

 

ที่มา: Harriman, P. 2020. How to get a family businesses ready for the next generation. Available:https://www.mainebiz.biz/article/how-to-get-a-family-businesses-ready-for-the-next-generation

ข้อมูลเพิ่มเติม: www.famz.co.th

 

หน้า 21-22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,619 วันที่ 18 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เมื่อธุรกิจครอบครัว ไร้เสน่ห์อีกต่อไป

การสอนทายาทจับปลา    

บทบาทพ่อแม่ ในธุรกิจครอบครัว