Penguin Eat Shabu ทรานสฟอร์มองค์กรสู่เทคคัมปานีด้านอาหาร

07 ส.ค. 2563 | 08:27 น.

Penguin Eat Shabu เผยเคล็ดผลักดันธุรกิจฝ่าวิกฤติ นำกลยุทธ์ตลาด "กวน กวน" เจาะใจสาว ผ่านสื่อโซเชี่ยล พร้อมเตรียมผันตัวสู่ เทคคัมปานี ด้านอาหาร

นายธนพันธ์ วงศ์ชินศรี ผู้ก่อตั้งและเจ้าของธุรกิจร้าน Penguin Eat Shabu เปิดเผยถึงความสำเร็จและการอยู่รอดในตลาด จากความชื่นชอบในไอที ทำการตลาดผ่านสื่อโซเชี่ยล พร้อมกับกลยุทธ์ "กวน กวน" ที่โดนใจสาวๆ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของ Penguin Eat Shabu จนทำให้สามารถสร้างรายได้กระแสเงินสดเข้าสู่บริษัท และทำให้ธุรกิจแยู่รอดได้จนถึงปัจจุบัน ซึ่งทิศทางต่อไป คือความพยายามสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างโมเดลใหม่ๆ ภายใต้แนวคิด เทคคัมปานีด้านการบริการอาหาร

 

Penguin Eat Shabu ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 6 ปีที่แล้ว ด้วยจำนวนสาขา 8 สาขา และกำลังจะมีแผนเปิดสาขาที่ 9 ย่านพระราม 9 รวมทั้งมีแผนจะเปิดสาขาที่ 10 ต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ทำให้แผนทุกอย่างชะงัก และยังทำให้ต้องปิดสาขาแบบถาวรถึง 2 สาขา คือ สยาม และสีลม

Penguin Eat Shabu ทรานสฟอร์มองค์กรสู่เทคคัมปานีด้านอาหาร

ธนพันธ์ กล่าวในงานสัมมนาของหลักสูตร Digital Transformation For CEO #2 หัวข้อ“พลิกวิกฤต เดินเกมธุรกิจ” เมื่อสิ้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ และบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ว่าย้อนไปเมื่อต้นปี 2563 เริ่มเห็นสัญญาณไม่ดีของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา จึงพยายามลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด ด้วยการปรับระบบบัญชีให้สะท้อนต้นทุนจริงแบบรายวัน เพื่อรู้ว่าไขมันอยู่ตรงไหน และสั่งปิดสาขาที่ทำกำไรน้อยที่สุดเพื่อเพิ่มความคล่องตัว พร้อมรับมือกับการอยู่รอดของพนักงานทั้ง 200 คนด้วยการกักตุนอาหาร การันตีว่าจะมีข้าวกิน มีของใช้ และที่พัก

หลังจากนั้นได้ผันตัวเองเพื่อความอยู่รอดสู่ตลาด “ฟู้ดดิลิเวอรี่” โดยใช้พนักงานที่มีรถมอเตอร์ไซด์เป็นของตัวเอง มาทำหน้าที่ขับรถส่งอาหารเอง ซึ่งธุรกิจฟู้ดดิลิเวอรี่เป็นธุรกิจที่ตัวเขาเองปฏิเสธมาตลอด แต่เมื่อเจอวิกฤติ ฟู้ดดิลิเวอรี่กลายเป็น างออกที่ทำให้ช่วยสร้างกรพปสดงินสดและสร้างรายได้ให้กับพนักงาน 200 คน

 

การเปิดดิลิเวแรี่ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีผู้เงานในตลาดจำนวนมาก การที่จะอยู่รอดได้คือ การสร้างความต่างด้วยการนำบุคลิกส่วนตัวที่เป็นคนกวนๆ ผนวกกับศึกษาความชื่นชอบของสาวๆ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยเริ่มจากแคมเปญ “Mystery Box” ขายอาหารเหมือนพวกโปรโมชั่นกล่องสุ่ม ทำได้สักระยะก็คำนวณต้นทุน พบว่ารายได้ไม่เพียงพอกับพนักงาน 200 คน จึงปรับเปลี่ยน  มาสู่แคมเปญ “ซื้อชาบูแถมหม้อ” โพสต์ขายจนกลายเป็นกระแสโด่งดังในโลกโซเชียล จนเกิดปัญหาจนต้องนำเทคโนโลยีมาช่วยแก้ Human Error 

Penguin Eat Shabu ทรานสฟอร์มองค์กรสู่เทคคัมปานีด้านอาหาร

นอกจากนี้ ยังมีแคมเปญอื่นๆ ต่อเนื่อง อาทิ ซื้อชาบูแถม Tinder แอคเคาน์ที่ให้สาวๆ ไว้ส่องหนุ่ม, ชาบูคุ้มใจ ปลุกเสกหม้อและยันต์ทั้งหมดจริง เพื่อปลอบขวัญคนที่ต้องการเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ, ชาบูแถมโบทอกซ์ และหม้อ 2 ใจ ใช้ได้ทั้งแบบชาบูและปิ้งย่าง

การบริหารธุรกิจฝ่าวิกฤติของ "ธนพันธ์" บอกว่า วิกฤติจะมาเรื่อยๆ แม้โควิดจะผ่านไป ก็จะมีวิกฤติใหม่เข้ามา เพราะฉะนั้น หากถามว่า หลังโควิดเพนกวินฯจะอยู่ตรงไหน คำตอบคือเราจะสร้างคุณค่าใหม่ในอนาคตที่มีแนวโน้มได้กำไรมากกว่า ด้วยการ Reform เพนกวินฯให้อยู่รอดแบบยั่งยืน เปลี่ยนจากการเป็นเจ้าของร้านอาหารที่ชอบไอที เป็นเทคคอมพานีที่ให้บริการด้านอาหาร

Penguin Eat Shabu ทรานสฟอร์มองค์กรสู่เทคคัมปานีด้านอาหาร

วิธีการบริหารขณะนี้ คือ แบ่งออกเป็น 2 ทีม คือทีมดูแลเรื่องชาบู และทีมที่ทำโมเดลธุรกิจใหม่ ซึ่งเตรียมออกสินค้าคอมเมอร์เชียล เช่น ผ้ากันเปื้อน ทำร้านอาหารเคลื่อนที่ที่มีรถคันหนึ่งเป็นห้องครัว รถอีกคันเป็นห้องนั่งทานอาหารรวมทั้งมีแผนที่จะดึงแพลตฟอร์มเพนกวินโก (Penguin Go) กลับมาทำอีกครั้ง หลังจากเคยเจ๊งมาแล้ว