ถอดบทเรียน “วุฒิศักดิ์คลินิก” ยื่นล้มละลาย

12 ก.ค. 2563 | 19:00 น.

รายงานพิเศษ : ถอดบทเรียน “วุฒิศักดิ์คลินิก” ยื่นล้มละลาย 

กรณี “วุฒิศักดิ์คลินิก”  ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อยื่นฟื้นฟูกิจการ โดยศาลล้มละลายกลางนัดไต่สวน วันที่ 31 สิงหาคม 2563  ซึ่งเรื่องนี้แวดวง “คลินิกและสถานเสริมความงาม” ต่างพากันช็อกกับข่าวใหญ่ในวงการ ต่างคิดไม่ถึงว่า คลินิกเสริมความงามคู่แข่งสำคัญของ “นิติพลคลินิก” จะมีสภาพแบบนี้ได้ 

นายแพทย์ วุฒิศักดิ์ ลิ่มพานิช

จดกำเนิดที่มาของ “วุฒิศักดิ์คลินิก” นั้น มาจาก นายแพทย์ วุฒิศักดิ์ ลิ่มพานิช อดีตพนักงานของนิติพลคลินิก ได้ตัดสินใจออกมาเปิดคลินิกเสริมความงามของตัวเอง ร่วมกับ คุณพลภัทร จันทร์วิเมลือง และ คุณกรณ์ กรณ์หิรัญ โดยใช้ชื่อคลินิกว่า “วุฒิศักดิ์ คลินิก”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"วุฒิศักดิ์ คลินิก" ยื่นศาลฯขอฟื้นฟูกิจการ หลังแบกหนี้กว่า 10 ล้านบาท

ส่องการเงิน "วุฒิศักดิ์ คลินิก" ก่อนยื่นศาลล้มละลาย ขอฟื้นฟูกิจการ

เส้นทางความงาม “วุฒิศักดิ์ คลินิก” ยื่นล้มละลาย เพราะ “หนี้” รอไม่ได้

"วุฒิศักดิ์ คลินิก" เมื่อ"วิชัย ทองแตง" ตัดหางปล่อยวัด

 

ครั้งนั้นนับเป็นที่ฮือฮาของวงการเสริมความงามอย่างมาก เพราะวุฒิศักดิ์คลินิก ที่แม้จะเพิ่งเปิดตัวช้ากว่าเจ้าตลาดเดิมเป็นสิบปี แต่กระแสตอบรับแรงกลายเป็นเบอร์ต้นๆในวงการ ด้วยการใช้กลยุทธ์หลากหลาย แต่ที่จำกันแม่นคือการทุ่มเงินโฆษณาและจ้างศิลปินดารามากมาย โปรโมทวุฒิศักดิ์คลินิก

ย้อนไปดูผลประกอบการ พบว่า

ปี 2555 มีรายได้ 2,896 ล้านบาท กำไร 594 ล้านบาท

ปี 2556 มีรายได้ 3,499 ล้านบาท กำไร 414 ล้านบาท

กำไรมหาศาล จึงไม่น่าแปลก ที่จะมีกลุ่มทุนสนใจเข้ามาซื้อกิจการ ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนที่สำคัญในปี 2557 เมื่อ บริษัท EFORL ประกาศซื้อกิจการด้วยเม็ดเงินมหาศาล 4,500 ล้านบาท ทำให้ “นายแพทย์วุฒิศักดิ์” ไม่ได้เป็นเจ้าของคลินิกที่มีชื่อตัวเอง นับตั้งแต่นั้นมา

 

บริษัท EFORL ทำธุรกิจ เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ไม่ได้มีเงินมากมายถึง 4,500 ล้านบาท ทำให้ต้องไปกู้เงินจากธนาคารมากว่า 3,000 ล้านบาท ผ่านทั้งบริษัทตัวเอง และบริษัทลูกชื่อ WCIH และเอา WCIH มาถือวุฒิศักดิ์อีกที EFORL ตั้งใจจะให้ วุฒิศักดิ์ IPO เข้าตลาดหุ้น แล้วเอาเงินที่ได้จาก IPO มาใช้หนี้

ซึ่งนักลงทุนวิเคราะห์กันว่า การทำแบบนี้เป็นการ leverage ที่หนักมาก การ leverage เยอะขนาดนี้มีความเสี่ยง ถ้าผลออกมาดีก็จะช่วยเร่งผลตอบแทนได้มาก ถ้าแย่ ก็คือถ้าซื้อแล้วกิจการไม่เป็นไปตามที่คาด นอกจากจะขาดทุนที่ตัวกิจการเองแล้ว ยังไม่มีเงินพอจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้อีกด้วย

รายได้ปี 2557 หลัง EFORL ซื้อกิจการ พบข้อมูลดังนี้ 

ปี 2557 มีรายได้ 2,922 ล้านบาท กำไร 71 ล้านบาท

ปี 2558 มีรายได้ 2,584 ล้านบาท กำไร 150 ล้านบาท

ปี 2559 มีรายได้ 1,623 ล้านบาท ขาดทุน 528 ล้านบาท

ปี 2560 มีรายได้ 481 ล้านบาท ขาดทุน 665 ล้านบาท ซึ่งเป็นปีสุดท้าย ที่วุฒิศักดิ์คลินิก ส่งงบต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

 

นักวิเคราะห์เล่าให้ฟังว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ของ วุฒิศักดิ์คลินิก ในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลาย เป็นการพึ่งอำนาจศาล ในการเบรคการติดามทวงหนี้ และแทนที่จะฝืนยอมขาดทุนไปเรื่อยๆ เพราะเจออุปสรรคใหญ่ที่ฝืนต่อไม่ไหวกับสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังซื้อของลูกค้าก็ยังไม่ฟื้นกลับคืนมาด้วย