“บอร์ด อสมท”ส่อล่มรอบ 3 “มารุต”เมินร่วมถกเยียวยาคลื่น 2600

08 ก.ค. 2563 | 11:19 น.

 “บอร์ด อสมท”ส่อล่มรอบ 3 “มารุต”เมินร่วมถกปมเยียวยาคลื่น2600 จนกว่า 3 ปม “สรรหากรรมการใหม่-เงินเยียวยาคลื่น 2600-ทำตามแผนฟื้นฟู” มีความชัดเจน

วันนี้(8 ก.ค.63) มีรายงานว่า จากกรณีที่การประชุมคณะกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ.อสมท ที่ไม่สามารถจัดประชุมได้ถึง 2 ครั้ง คือ วันที่ 30 มิ.ย.2563 และวันที่ 3 ก.ค. 2563 นั้น นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล กรรมการอิสระ บมจ.อสมท ได้ส่งหนังสือลาการประชุมต่อ พล.ต.ท.จตุพล ปานรักษา ประธานบอร์ด อสมท เพื่อชี้แจงถึงเหตุผลที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้

 

โดยมีเนื้อหาระบุว่า ตามกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการ อสมท ในวันที่ 3 ก.ค.2563 เวลา 15.00 น. ณ ห้องประชุม 601 อาคารอํานวยการ 1 บมจ. อสมท ซึ่งมีวาระสําคัญที่จะต้องนําเสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 คือ 1.การเสนอชื่อกรรมการทดแทนกรรมการที่ครบวาระตามการเสนอของคณะกรรมการสรรหา เพื่อนําเสนอให้ผู้ถือหุ้น พิจารณา

 

และ 2. การพิจารณาแผนฟื้นฟู บมจ. อสมท ตามที่ สคร.ได้มีหนังสือเชิญไปร่วมประชุมหารือกับสํานักนายกรัฐมนตรี เมื่อ วันที่ 29 มิถุนายน 2563 ซึ่งได้มีข้อเสนอแนะให้มีการดําเนินการแผนฟื้นฟู บมจ. อสมท โดยด่วน เนื่องจากกําหนดการประชุมดังกล่าวไม่ได้กําหนดไว้ในปฏิทินการประชุมประจําปี และผมมีภารกิจสําคัญที่ได้มีการกําหนดนัดหมายไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว จึงไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมในวันและเวลาดังกล่าวได้

 

อย่างไรก็ตาม ผมขอยืนยันว่า ผมมีความตั้งใจในการเข้ามาทําหน้าที่กรรมการ บมจ. อสมท โดยการใช้ความรู้ ความสามารถที่จะให้คําแนะนํา และหาทางแก้ไขปัญหาในการดําเนินธุรกิจของ บมจ. อสมท อย่างบริสุทธิ์ใจ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในการประชุมหลายครั้งที่ผ่านมา ทําให้เกิดความไม่ไว้วางใจในการนําเสนอข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง โดยเฉพาะเรื่องการชดใช้การเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกกะเฮิรตซ์ ที่กรรมการได้มีความเห็นทักท้วงการดําเนินการของกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา แต่ประธานกรรมการกลับไม่รับฟังความเห็นและสั่งปิดการประชุม จนทําให้กรรมการบางท่านยื่นหนังสือลาออก

อ่านประกอบ

  “อสมท”เจอทางตัน บอร์ดล่ม 2 ครั้งติดผวาเยียวยาคลื่น2600

 

นอกจากนี้ การที่ท่านกล่าวอ้างเรื่องความเสียหายต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น หากไม่สามารถพิจารณาสรรหาบุคคลแทน กรรมการที่ครบวาระ เพื่อนําเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาได้นั้น ผมขอให้ข้อสังเกตว่า การสรรหาบุคคลเพื่อเข้ารับการ เลือกตั้งเป็นกรรมการแทนกรรมการที่ครบวาระได้ถูกนําเสนอให้คณะกรรมการ บมจ.อสมท พิจารณาตั้งแต่การประชุมเดือน กุมภาพันธ์ 2563 และคณะกรรมการได้มีมติเห็นชอบรายชื่อบุคคลที่จะเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการแทนกรรมการที่ครบวาระตามที่คณะกรรมการสรรหาชุดที่แล้ว ซึ่งมาจากกรรมการอิสระทั้งหมด ที่มีตําแหน่งเป็นประธานอนุกรรมการด้านกฎหมาย ประธานกรรมการตรวจสอบ และประธานกรรมการกํากับดูแลกิจการที่ดี โดยได้ดําเนินการตามแนวทางการสรรหากรรมการ รัฐวิสาหกิจและกระบวนการที่ถูกต้อง และให้กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ดําเนินการตามขั้นตอนต่อไปมาหลายครั้งแล้ว แต่มี ความพยายามที่จะถ่วงเวลาไม่มีการนําเสนอตามขั้นตอน

 

โดยเฉพาะการนําหนังสือของสํานักงานคณะกรรมการนโยบาย รัฐวิสาหกิจมากล่าวอ้างในประเด็นต่างๆ รวมทั้งเรื่องวาระการดํารงตําแหน่งกรรมการอิสระของกรรมการอิสระท่านหนึ่ง ที่เป็นหนึ่งในกรรมการสรรหาและการดําเนินการของคณะกรรมการสรรหา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาใหม่ทั้งหมด โดยอ้างหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี ที่กําหนดให้คณะกรรมการสรรหาควรเป็นกรรมการ อิสระทั้งหมด แต่กลับแต่งตั้งกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นเป็นกรรมการถึง 2 คน ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการดังกล่าว และ เลขานุการบริษัทได้เคยแจ้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้ทราบแล้ว

 

อีกทั้งคณะกรรมการ บมจ. อสมท เคยมีมติให้พิจารณาปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ภายหลังการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น บมจ. อสมท ประจําปี 2563 เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเลือกตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการที่ครบวาระแล้ว กรณีดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ประธานกรรมการสรรหา ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท

 

ดังนั้น การดําเนินการที่ล่าช้ารวมถึงการยกเลิกมติเดิม ที่คณะกรรมการเห็นชอบ ให้นําเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการเลือกตั้งตามที่คณะกรรมการสรรหาชุดที่แล้วนําเสนอ และให้คณะกรรมการสรรหาชุดใหม่ที่ ตั้งขึ้นดําเนินการสรรหาและเสนอรายชื่อใหม่ จนอาจไม่สามารถนําเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการแทนกรรมการที่ครบวาระให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาได้ จึงเป็นความเสียหายที่เกิดจากการไม่ดําเนินการให้เป็นไปตามมติ คณะกรรมการที่ได้ดําเนินการอย่างถูกต้อง

 

 

สําหรับกรณีที่ บมจ.อสมท ประสบปัญหาสภาพคล่องในการดําเนินธุรกิจ จนกระทั่ง สคร. มีข้อเสนอให้มีการ ดําเนินการตามแผนฟื้นฟูนั้น กรรมการหลายท่านได้เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาการดําเนินธุรกิจของ บมจ. อสมท ในการประชุมคณะกรรมการโดยตลอด

 

โดยเฉพาะการให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องขององค์กร และ ที่มาของรายได้ที่ยั่งยืน แต่ไม่มีความคืบหน้าในการนําแผนการดําเนินการไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งบมจ. อสมท อยู่ระหว่างการสรรหากรรมการผู้อํานวยการใหญ่ แทนกรรมการผู้อํานวยการใหญ่คนปัจจุบันที่จะหมดวาระในเดือน สิงหาคม 2553 และจะมีการเลือกตั้งกรรมการใหม่ ซึ่งการดําเนินการตามแผนฟื้นฟูเป็นการผูกพันคณะกรรมการและผู้บริหารสูงสุดที่จะต้องดําเนินการ

 

ปัญหาของ บมจ. อสมท ในขณะนี้ คณะกรรมการต้องมีความโปร่งใส ยึดถือผลประโยชน์ขององค์กรและประเทศชาติ ทําตามกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง ไม่แสวงหาผลประโยชน์อื่นใด และต้องมีความกล้าหาญที่จะปกป้องและดูแลรักษา ผลประโยชน์ให้กับบมจ. อสมท และส่วนรวมอย่างแท้จริง ตราบใดที่ยังมีความไม่ชัดเจนและมีความพยายามที่จะบิดเบือน ข้อเท็จจริงต่างๆ ผมคงไม่สามารถที่จะเข้าร่วมการประชุมได้

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เหตุผลที่ทำให้การประชุมคณะกรรมการบริษัท อสมท 2 ครั้งที่ผ่านมา จัดประชุมไม่ได้ เนื่องจากไม่ครบองค์ประชุมที่ข้อบังคับระบุว่าต้องมีกรรมการร่วมประชุมอย่างน้อย 7 คนขึ้นไป ซึ่งภายหลังกรรมการ บมจ.อสมท 4 รายยื่นลาออกจากกรรมการ ทำให้บอร์ดเหลือปฏิบัติหน้าที่เพียง 8 คน ได้แก่ 1.พล.ต.ท. จตุพล ปานรักษาประธานกรรมการ 2.นายเขมทัตต์ พลเดชกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ 3.นายบุญสน เจนชัยมหกุล 4.นายสมหมาย ลักขณานุรักษ์ 5.นางภัทรพร วรทรัพย์กรรมการ 6.นายสุวิทย์ นาคพีระยุทธ 7.นางรัชดาภรณ์ ราชเทวินทร์ และ 8.นายมารุต บูรณะเศรษฐกุลกรรมการอิสระ