“สสว.” เคาะตั้งกองทุน 5 หมื่นล้าน "ดอกเบี้ยต่ำ" 1% ผ่อนยาว 10 ปี

29 มิ.ย. 2563 | 09:50 น.

“สสว.” เคาะตั้งกองทุน 5 หมื่นล้าน "ดอกเบี้ยต่ำ" 1% ผ่อนยาว 10 ปี ช่วย "เอสเอ็มอี" ที่ยังไม่เคยเข้าถึงแหล่งเงินทุน เร่งดันเข้า "ครม." สัปดาห์หน้า

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยระหว่างการประชุมมอบนโยบายการช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนผู้ประกอบการ “เอสเอ็มอี” (SMEs) ว่า ได้มอบหมายให้ สสว. และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ รวมถึง บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ในการเข้าไปช่วยดูแล และหามาตรการเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

                ทั้งนี้  ล่าสุด สสว. อยู่ระหว่างจัดทำโครงการเติมพลัง ฟื้นชีวิต ต่อทุนเอสเอ็มอี เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่เคยได้รับสินเชื่อกับสถาบันการเงิน และไม่มีสินเชื่อคงค้างกับสถาบันการเงิน วงเงินเบื้องต้น 50,000 ล้านบาท โดยคาดว่าผู้ประกอบการจะได้รับความช่วยเหลือ 765,000 ราย ซึ่งจะต้องเร่งทำโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติภายในสัปดาห์หน้า

“สสว.” เคาะตั้งกองทุน 5 หมื่นล้าน "ดอกเบี้ยต่ำ" 1% ผ่อนยาว 10 ปี
                นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่า ปัจจุบันมีเอสเอ็มอีที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้ หรือแหล่งเงินทุน รวมประมาณ​ 24% หรือประมาณ  7 แสนรายตามข้อมูลของ สสว. โดยมาตรการแรกที่จะช่วยภายใต้วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท  ซึ่งน่าจะช่วยได้ประมาณ 5 แสนราย  โดยอาจจะได้ต่ำกว่าข้อมูลพื้นฐานของ สสว. ได้แก่

                1.เงินอุดหนุนให้กับบุคคลธรรมดา  นิติบุคคลที่จดทะเบียนพาณิชย์  หรือยังไม่จดทะเบียนพาณิชย์ก็ได้  แต่ประเด็นสำคัญก็คือจะต้องมีสถานประกอบการที่เป็นหลักแหล่ง  ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการดำเนินธุรกิจมาแล้วในระยะเวลาหนึ่ง  โดยจะเป็นการ “เติมพลังฟื้นชีวิต” วงเงินไม่เกิน 1 แสนบาท โดยจะมีทีมงานที่เข้าไปพิสูจน์ธุรกิจของเอสเอ็มอี (KYC) ซึ่งจะมาจากธนาคารของรัฐบาล เช่น ธนาคารออมสิน ,ธนาคารกรุงไทย  และธนาคารเพื่อพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ “ธพว.” (SME D Bank) เป็นต้น

,2.การเพิ่มทุนให้กับธุรกิจที่มีโอกาส  และมีศักยภาพ  โดย สสว.จะเข้าไปร่วมทุนในกิจการของเอสเอ็มอี  หรือที่เรียกว่าเป็นการเพิ่มทุน  และ3.วงเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย  โดยวงเงิน 1 แสนบาทต่อราย  และ 1 ล้านบาทต่อรายจะเป็นการปล่อยกู้แบบผ่อนปรนที่มีกฎระเบียบ  มีกติกาที่แตกต่างจากธนาคารปกติ โดยดอกเบี้ยเบื้องต้นอยู่ที่ประมาณ 1% ต่อปี  ระยะเวลาผ่อนชำระประมาณ 10 ปี

                สำหรับผู้ประอบการที่จะเข้าร่วมคือจะต้องร่วมเข้าอบรมหรือพัฒนาทักษะตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ได้รับเงินกู้ไป  ซึ่งอาจจะ 1 ครั้งต่อปี  โดยจะทำให้ได้เอสเอ็มอีที่มีคุณภาพ  ไม่ใช่เข้ามาเพื่อรับเงินสินเชื่อเท่านั้น  แต่จะต้องมีการพัฒนาทักษะในการทพธุรกิจด้วย  ซึ่งเป็นข้อกำหนดเบื้อต้น  และจะต้องรายงานตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโครงการ  นอกจากนี้เอสเอ็มอีจะต้องเข้าร่วมเป็นสมาชิกอย้างใดอย่างหนึ่งของภาคระฐหรือเอกชน  เพื่อให้มีฐานข้อมูลที่ชัดเจน เช่น กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นต้น  ซึ่งไม่รวมการเป็นสมาชิกของ สสว. ที่เอสเอ็มอีจะต้องเป็นตั้งแต่วันแรกที่เข้าสู่ระบบ  

“สสว.” เคาะตั้งกองทุน 5 หมื่นล้าน "ดอกเบี้ยต่ำ" 1% ผ่อนยาว 10 ปี

                “กลุ่มเป้าหมายจะเป็นผู้ประกอบการบุคคลธรรมดาที่มีสถานประกอบการเป็นหลักแหล่ง ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ นิติบุคคล และวิสาหกิจชุมชนที่มีการจดทะเบียน หรือ ที่ไม่ได้จดทะเบียน แต่จะต้องมีคุณสมบัติ 3 ข้อ คือ 1.เป็นสมาชิก สสว. 2.เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ไม่เคยมีสินเชื่อกับสถาบันการเงิน และไม่มีสินเชื่อคงค้างกับสถาบันการเงิน 3.ผู้ขอสินเชื่อต้องไม่ผิดนัดชำระหนี้ หรือ ค้างชำระค่างวดตามเงื่อนไขไม่เกิน 4 งวด ในโครงการพลิกฟื้น sme และโครงการฟื้นฟู sme ของสสว.”

อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ภายในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ ส่วนรายละเอียดต่างๆ จะออกมาอีกครั้งภายหลังผ่านการอนุมัติจาก ครม. ซึ่งคาดว่าจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ได้ภายในสัปดาห์หน้า

                นายวีระพงษ์ กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับแนวทางในการปล่อยกู้นั้น  เนื่องจาก สสว. มีกำลังพลไม่มาก  เพราะฉะนั้นการดำเนินการจะต้องมีผู้มีรับดำเนินการต่อ  โดยที่ระเบียบหรือวิธีการจะเป็นไปตามที่ สสว. กำหนด  ซึ่งจะเป็นลักษณะของการตั้งกองทุน  โดยมีคณะกรรมการเป็นผู้บริหารจัดการ  มีระเบียบและวิธีการไม่ใช่ของระบบธนาคาร  แต่จะอยู่บนพื้นฐานของหลักการ  หลังจากนั้นจะมีธนาคารของรัฐรับหน้าที่เป็นผู้ปล่อยเงินสินเชื่อ  และวิเคราะห์กิจการ เช่น ธพว. และออมสิน เป็นต้น  แต่จะพิจารณาตามระเบียบผ่อนปรนตามที่ สสว. กำหนด

                นอกจากนี้ สสว.จะสนับสนับสนุน ให้ผู้ประกอบการเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เนื่องจากงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในแต่ละปีมีวงเงินค่อนข้างสูง โดยในปี 62 มีมูลค่าตลาดภาครัฐรวมกว่า 1.3 ล้านล้านบาท หากช่วยให้เอสเอ็มอีเข้าถึงโครงการจัดซื้อจัดจ้างได้ 30% จะสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการกว่า 400,000 บ้านบาท ซึ่งคาดว่ามาตรการดังกล่าว จะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้

                ด้านแนวทางสนับสนุนจะมี 2 แนวทาง คือ 1.กำหนดโควตาการจัดซื้อจัดจ้างจากผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 30% ของวงเงินจัดซื้อจัดจ้างในหมวดสินค้าและบริการที่กำหนด ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการ เข้าถึงตลาดภาครัฐได้ รวมทั้งหน่วยงานรัฐจะต้องคัดเลือกจัดซื้อจัดจ้างจากผู้ประกอบการในจังหวัดก่อน แต่หากไม่มีสินค้าหรือบริการในจังหวัดจึงจะคัดเลือกจากผู้ประกอบการนอกจังหวัดได้ เพื่อให้เกิดการกระจายโอกาสให้ผู้ประกอบการในท้องถิ่น

“สสว.” เคาะตั้งกองทุน 5 หมื่นล้าน "ดอกเบี้ยต่ำ" 1% ผ่อนยาว 10 ปี
                2.กำหนดแต้มต่อด้านราคา โดยหน่วยงานรัฐจะต้องให้แต้งต่อกับผู้ประกอบการที่เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดได้ 10% กรณีที่ใช้การประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้เกณฑ์ราคาต่ำสุด เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้

                แนวทางการดำเนินงาน จะกำหนดหมวดสินค้าและบริการที่ให้การส่งเสริม จากนั้นจะเข้าไปสร้างการรับรู้ให้กับผู้ประกอบการ โดยการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศ ได้รับสิทธิประโยชน์และเข้ามาขึ้นทะเบียนกับสสว. จัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และสินค้า จัดทำระบบสืบค้นข้อมูลผู้ประกอบการตามจังหวัดและสินค้า เพื่อให้หน่วยงานรัฐเข้ามาค้นหาได้สะดวก

                นอกจากนี้ จะจัดอบรมหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทั่วประเทศ ซึ่งประกอบด้วยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาและกองทุนฯ เพื่อให้มีความพร้อม ซึ่งจะเริ่มใช้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างแบบใหม่ภายในปีงบประมาณ 64 และจะมีการติดตามผลทุกปี เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยให้หน่วยงานราชการผลการจัดซื้อจัดจ้างจากเอสเอ็มอีประจำปี