ปั้น “เอ็นเจ” บุกน้ำผลไม้ ปูพรมCLMV

29 พ.ค. 2563 | 10:40 น.

เอ็นเจฯ เมินโควิด-19 เดินหน้าทุ่มงบ 150 ล้าน รุกตลาดน้ำผลไม้พรีเมียม จ่อเปิดโรงงานผลิตใหม่เจาะซีแอลเอ็มวี พร้อม OEM มั่นใจ 3-5 ปี โกยยอดขาย 1,500-2,000 ล้านบาท

นายปรัชญาทวี สุดยินดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นเจ รัฐนนท์ อินเตอร์ฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้ผลิต และจัดจำหน่ายน้ำผลไม้แบรนด์ เอ็นเจ (NJ) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า บริษัทเปิดตัว น้ำผลไม้แบรนด์ เอ็นเจ หรือ NJ ออกมารุกตลาดน้ำผลไม้พรีเมียม โดยสร้างจุดแข็งที่เด่นชัดขึ้นมา ทั้งในเรื่องของบรรจุภัณฑ์จากรูปแบบขวดเหลี่ยมเป็นรูปแบบขวดกลม พร้อมจำหน่ายในราคาที่คุ้มค่ากว่าแบรนด์พรีเมียมอื่นๆ จนทำให้แบรนด์มีความพร้อมบุกตลาดกลุ่มบนเต็มตัว

ปรัชญาทวี สุดยินดี

 

นอกจากนี้บริษัทยังได้เดินเครื่องสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักอย่างเต็มสูบด้วยการดึง 2 พรีเซ็นเตอร์ “เก้า-นพเก้า เดชาพัฒนคุณ” และ “เอิร์ธ- กัษมนณัฏฐ์ นามวิโรจน์” นักแสดงจากซีรีส์ดังเรื่อง ด้ายแดง “Until We Meet Again the Series” มา LIVE ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook เพื่อเดินบทบาทของน้ำผลไม้ยุคใหม่ สื่อตัวตนชัดเจนและเข้าถึงได้ง่าย โดยใช้ภาพลักษณ์ความสดใสและจริงใจของสองพรีเซ็นเตอร์ มาสร้างเป็นประสบการณ์รูปแบบใหม่ให้กับผู้บริโภค สอดคล้องกับคาแรกเตอร์ของแบรนด์ ในฐานะน้ำผลไม้รสชาติอร่อยให้ความสดใส และมีความจริงใจให้ผู้บริโภคได้เนื้อผลไม้มากกว่าที่เคย โดยมั่นใจว่าช่วยสร้างการรับรู้ของแบรนด์ และกระจายภาพลักษณ์ชัดเจนให้เกิดกับผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว

พร้อมกันนี้บริษัทยังได้เตรียมงบประมาณราว 100-150 ล้านบาทในการเตรียมสร้างโรงงานการผลิตแห่งใหม่ใน ซึ่งเป็นแผนระยะยาว 3-5 ปี เพื่อรองรับการขยายธุรกิจไปในกลุ่มเครื่องดื่มชนิดอื่นอีก 2-3 ไลน์การผลิต รวมถึงรองรับการผลิตในรูปแบบรับจ้างผลิต (OEM) และจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ 4-6 แสนขวดต่อวัน จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 1.2 แสนขวดต่อวัน โดยเฉพาะการจ้างผลิตในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี (กัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมา และเวียดนาม) ซึ่งมีความเป็นไปได้ทั้งการสร้างโรงงานใหม่ในประเทศ หรือไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อลดข้อจำกัดเรื่องการค้าระหว่างประเทศลง ทางใดทางหนึ่ง เบื้องต้นขณะนี้อยู่ระหว่าง

ปั้น “เอ็นเจ”  บุกน้ำผลไม้  ปูพรมCLMV

“หลังจากสถานการณ์โรค โควิด-19 สิ้นสุดลง บริษัทจะเริ่มเดินหน้าขยายการผลิตแบบเต็มกำลังที่ เพื่อให้เพียงพอต่อการจำหน่ายหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นฟู รวมถึงให้เพียงพอต่อการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนว่าแม้จะมองว่าเป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคและสุ่มเสี่ยงในการเปิดตัวธุรกิจหรือการหน้ารุกตลาดในช่วงนี้ แต่การที่บริษัทเลือกเปิดตัวแบรนด์ในช่วงนี้ยังไม่ได้หวังผลถึงยอดขายหรือกำไรที่มากนัก แต่จะให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์และเข้าถึงผู้บริโภคให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากกว่า”

อย่างไรก็ตามปีที่ผ่านมาตลาดน้ำผลไม้มีมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นน้ำผลไม้พรีเมียมหรือตลาดบน 36% คิดเป็นมูลค่าเกือบ 4 พันล้านบาท ซึ่งในเซ็กเมนต์พรีเมียมติดลบ 6% ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้ามาของเทรนด์สุขภาพทำให้ผู้ประกอบการในตลาดเครื่องดื่มหันมาปรับสูตรน้ำตาลน้อยและเพื่อสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปดื่มเครื่องดื่มดังกล่าวแทนน้ำผลไม้แท้จนทำให้ตลาดน้ำผลไม้มีมูลค่าลดลง ซึ่งในส่วนของบริษัทเองหลังจากเดินหน้ารุกกิจกรรมการตลาดครบวงจรมั่นใจว่าจะสามารถสร้างการเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยบริษัทวางเป้าหมายรายได้ในช่วง 3-5 ปีนับจากนี้ไว้ที่ 1,500-2,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนรายได้ในประเทศ 70% และต่างประเทศ 30%

 

หน้า 21-22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,578 วันที่ 28-30 พฤษภาคม พ.ศ. 2563