"เดอเบล" เพิ่ม 3 มาตรการเข้มกระจายสินค้า-อุปกรณ์ทางการแพทย์

10 เม.ย. 2563 | 08:06 น.

เดอเบล ร่วมฝ่าวิกฤตโควิด-19 ชูศักยภาพการจัดจำหน่ายเคียงข้างคู่ค้าทั่วไทย ดึงจุดแข็งเครือข่ายการกระจายสินค้า 24 สาขาทั่วประเทศ ร้านค้ามั่นใจมีสินค้าเพียงพอให้ผู้บริโภคเลือกซื้ออย่างต่อเนื่อง เพิ่ม 3 มาตรการเข้มในการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้า พร้อมใช้เครือข่ายขนส่ง ช่วยกระจายอุปกรณ์ทางการแพทย์ป้องกันโควิด-19 มูลค่า 15 ล้านบาท สู่โรงพยาบาลห่างไกล

นายสุรชัย จงเลิศวราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอเบล จำกัด กล่าวว่า เดอเบล เล็งเห็นว่าการช่วยกระจายสินค้าอุปโภคบริโภคจากผู้ผลิตให้ถึงมือร้านค้าและผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและตรงเวลา เป็นสิ่งสำคัญเป็นสิ่งสำคัญมากในยามวิกฤติ  และไม่ว่าสถานการณ์แวดล้อมจะเป็นอย่างไร เพื่อเป็นอีกแรงหนึ่งในการบรรเทาความยากลำบากจากสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 และหล่อเลี้ยงให้ชีวิตประจำวันและการค้าขายของคู่ค้ายังดำเนินต่อไปให้ได้มากที่สุดโดยไม่เกิดภาวะขาดแคลนสินค้า

"เดอเบล" เพิ่ม 3 มาตรการเข้มกระจายสินค้า-อุปกรณ์ทางการแพทย์

เดอเบล จึงปรับมาตรการเพื่อเสริมประสิทธิภาพการให้บริการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น เริ่มจาก 1. การเสริมเกราะให้บุคลากรปลอดภัยและสร้างทีมคู่ขนานให้พร้อมตั้งรับทุกสถานการณ์ ด้วยการเพิ่มมาตรการความปลอดภัยแก่พนักงานที่ออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ และกำหนดให้พนักงานบางส่วนทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) นอกจากนี้ยังเตรียมแผนสำรอง ตั้งทีมคู่ขนาน แยกเป็น 2 ทีม โดยแต่ละทีมให้สามารถรับผิดชอบงานแทนกันได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน 2. มีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน ซักซ้อมขั้นตอนการทำงานเพื่อรองรับในกรณีวิกฤตต่างๆ แม้ในสถานการณ์ระดับสูงสุดที่ต้องทำงานจากบ้าน ก็ยังต้องสามารถดำเนินธุรกิจและบริการคู่ค้าได้อย่างต่อเนื่อง

3. จำนวนคลังสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ จุดแข็งที่สุดของเดอเบลคือจำนวนสาขาและคลังสินค้าที่กระจายอยู่ใน 24 จุดทั่วประเทศไทย และรถทีมขายและรถขนส่งรวมกันกว่า 1,000 คัน พร้อมพนักงานที่เป็นคนท้องถิ่น ทำให้สามารถปรับกระบวนการทำงานได้ทันท่วงที ไม่จำเป็นต้องรอขนส่งจากส่วนกลาง ลดปัญหาการวิ่งรถข้ามจังหวัดในระหว่างการประกาศใช้พระราชกำหนดฉุกเฉิน

"เดอเบล" เพิ่ม 3 มาตรการเข้มกระจายสินค้า-อุปกรณ์ทางการแพทย์

นอกจากนั้น เดอเบลยังได้นำศักยภาพและความเชี่ยวชาญด้านจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค มาช่วยกระจายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่กลุ่มธุรกิจ TCP จัดหาร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อบริจาคให้โรงพยาบาลต่างๆ ประกอบด้วย หน้ากากผ้าเพอร์มา นาโน ซิงค์ จำนวน 100,000 ชิ้น และตู้ตรวจโควิด-19 กันการแพร่เชื้อจำนวน 50 ตู้ รวมมูลค่ากว่า 15 ล้านบาท ไปยังโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดที่ต้องรองรับผู้ป่วยโควิด-19 อาทิ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลปัตตานี  โรงพยาบาลยะลา  โรงพยาบาลปากช่องนานา  โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะเพิ่มความปลอดภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ขณะปฏิบัติหน้าที่ตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อและยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19

"เดอเบล" เพิ่ม 3 มาตรการเข้มกระจายสินค้า-อุปกรณ์ทางการแพทย์