“คิวสวีท” กาตาร์ แอร์เวย์ส ชั้นธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก

07 ธ.ค. 2562 | 06:00 น.

สายการบินกาตาร์ แอร์เวย์ส ให้บริการที่นั่งชั้นธุรกิจ ‘QSUITE’ (คิวสวีท) ในไทย สร้างมาตรฐานใหม่ของการท่องเที่ยวแบบหรูหรา โดยรวมเอาคุณลักษณะเด่นต่างๆจากชั้นเฟิร์สคลาสมานำเสนอประสบการณ์การเดินทางในชั้นธุรกิจให้แก่ผู้โดยสาร มอบประสบการณ์การบินชั้นธุรกิจที่ดีที่สุดในโลกให้แก่ผู้โดยสารจากกรุงเทพฯ ชี้เป็นครั้งแรกในโลกการบินที่ให้บริการเตียงคู่ในชั้นธุรกิจ

           สายการบินกาตาร์ แอร์เวย์ส นำเสนอประสบการณ์การบินในชั้นธุรกิจให้แก่ผู้โดยสารชาวไทย ด้วยบริการที่นั่งชั้นธุรกิจ QSUITE’ (คิวสวีท) ที่ได้รับรางวัลการันตีคุณภาพมากมาย

    “คิวสวีท” กาตาร์ แอร์เวย์ส  ชั้นธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก

              ที่นั่งชั้นธุรกิจ Qsuite ได้สร้างมาตรฐานใหม่ของการท่องเที่ยวแบบหรูหรา โดยรวมเอาคุณลักษณะเด่นต่างๆจากชั้นเฟิร์สคลาสมานำเสนอประสบการณ์การเดินทางในชั้นธุรกิจให้แก่ผู้โดยสาร ที่นั่ง Qsuite มีรูปแบบที่นั่งเดี่ยวมีตัวเลือกให้สามารถปรับแต่งห้องโดยสารได้ตามความต้องการ

              นอกจากนี้ยังสามารถปรับเป็นเตียงคู่ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในโลกการบินที่ให้บริการเตียงคู่ในชั้นธุรกิจ สำหรับผู้โดยสารที่นั่งติดกันสามารถปรับแผงกั้นสร้างห้องเพื่อความเป็นส่วนตัว แผงกั้นและจอทีวีที่อยู่บริเวณพื้นที่ส่วนกลางระหว่างที่นั่งทั้ง 4 สามารถเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่ร่วมในรูปแบบห้องส่วนตัวเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันได้

    “คิวสวีท” กาตาร์ แอร์เวย์ส  ชั้นธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก

              ทั้งการประชุมงาน รับประทานอาหาร หรือแม้แต่สังสรรค์ ช่วยให้ผู้โดยสารกำหนดรูปแบบประสบการณ์และสร้างบรรยากาศการเดินทางตามความต้องการที่ต่างกันได้อย่างแท้จริง ประตูเลื่อนและโปรแกรมรับประทานอาหารแบบออนดีมานด์ช่วยให้ผู้โดยสารออกแบบการเดินทางในรูปแบบเฉพาะของตนเอง โดยสามารถขอรับบริการในเวลาที่ต้องการไม่ใช่เวลาที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า ความพิเศษเหล่านี้รวมไว้ในการเดินทางชั้นธุรกิจที่การันตีได้ว่าผู้โดยสารสายการบินกาตาร์ แอร์เวย์ส จะได้สัมผัสประสบการณ์การเดินทางที่แตกต่างจากสายการบินอื่นๆ ทั่วไป   

    “คิวสวีท” กาตาร์ แอร์เวย์ส  ชั้นธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก

    “คิวสวีท” กาตาร์ แอร์เวย์ส  ชั้นธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก

          นายโจฮาเนส ออง ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ สายการบินกาตาร์ แอร์เวย์ส กล่าวว่า “เรามีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำเสนอประสบการณ์การเดินทางที่พรีเมี่ยมให้แก่ผู้โดยสารชาวไทย Qsuite ที่นั่งชั้นธุรกิจได้รับรางวัลการันตีคุณภาพมากมาย แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของสายการบินกาตาร์ แอร์เวย์สพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความพิเศษ สร้างนิยามและมาตรฐานใหม่ให้แก่อุตสาหกรรมการบินในการเดินทางท่องเที่ยวที่มีความหรูหรา นอกจากนี้ ผู้โดยสารจะได้เพลิดเพลินกับเมนูอาหารไทยที่ออกแบบมาเป็นพิเศษจากเชฟมือหนึ่งของประเทศเชฟเอียน กิตติชัย  สายการบินกาตาร์ แอร์เวย์ส มีความมุ่งมั่นในการนำเสนอบริการในระดับที่ไม่มีใครเทียบได้

    “คิวสวีท” กาตาร์ แอร์เวย์ส  ชั้นธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก

        ผู้โดยสารสายการบินกาตาร์ แอร์เวย์ส จากประเทศไทยสามารถวางแผนการเดินทางได้ง่ายขึ้นด้วยเที่ยวบินมากขึ้นถึง 63 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ จาก 4 ปลายทางในประเทศไทย โดยให้บริการเส้นทางกรุงเทพฯ 49 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และภูเก็ต 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

    “คิวสวีท” กาตาร์ แอร์เวย์ส  ชั้นธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก
 

           สายการบินกาตาร์ แอร์เวย์ส ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติมากมาย อาทิ สายการบินที่ให้บริการชั้นธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก (World’s Best Business Class), รางวัลที่นั่งชั้นโดยสารชั้นธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก (World’s Best Business Class Seat) และสายการบินยอดเยี่ยมที่สุดในตะวันออกกลาง (Best Airline in the Middle East) โดยองค์กรจัดอันดับการขนส่งทางอากาศระดับโลกสกายแทร็กซ์ (Skytrax) นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัล สายการบินชั้นธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก  (World’s Best Business Class) จากทริปแอดไวเซอร์ ทราเวลเลอร์ส ชอยซ์  ปี 2562 ราวัลการันตีดังกล่าวแสดงถึงคุณภาพพิเศษของผลิตภัณฑ์ชั้นธุรกิจสายการบินกาตาร์ แอร์เวย์ส

    “คิวสวีท” กาตาร์ แอร์เวย์ส  ชั้นธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก

             สายการบินกาตาร์ แอร์เวยส์ ให้บริการด้วยฝูงบินที่ทันสมัยกว่า 250 ลำ จากท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด (Hamad International Airport: HIA)ด้วยเครือข่ายเส้นทางการบินระดับโลกของสายการบินกาตาร์ แอร์เวยส์กว่า 160 เส้นทางทั่วโลก ทั้งนี้ ในปี 2562 สายการบินกาตาร์ แอร์เวย์ส ได้เพิ่มเส้นทางบินใหม่เพื่อเพิ่มเครือข่ายการบิน ได้แก่ ราบัต โมรอคโค, อิชมีร์ ตุรกี, มัลตา, ดาวาว ฟิลิปปินส์, ลิสบอน โปรตุเกส, โมกาดิชู โซมาลี และลังกาวี มาเลเซีย สายการบินกาตาร์ แอร์เวยส์ จะเพิ่มเส้นทางบินไปยังกาโบโรเน ประเทศบอตสวานา ในปี 2562 และลูอันดา ประเทศแองโกลา และ โอซากา ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2563