เคล็ดลับการสร้างทีม ของผู้นำธุรกิจครอบครัวคนต่อไป

08 ธ.ค. 2562 | 09:06 น.

คอลัมน์บิสิเนส แบ็กสเตจ

ผศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล

คณบดีคณะวิทยพัฒน์ และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ([email protected])

 

ธุรกิจครอบครัวที่ตกทอดมาหลายรุ่นมักมีความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่ง มีเอกลักษณ์ของกลุ่ม และมีแนวคิดในการเป็นทีมที่เข้มแข็งที่สุด ดังนั้นที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัว Nicole Zeidler and Joshua Nacht1 จึงได้แนะนำวิธีรักษาความสัมพันธ์เหล่านี้ไว้ ด้วยการสร้างความไว้วางใจ (Build Trust) ความไว้วางใจคือความเข้าใจที่ชัดเจนทั้งทางตรงและทางอ้อมในกลุ่มคนเมื่ออยู่ด้วยกันนานไป สำหรับในกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันความไว้วางใจคือความเชื่อมั่นที่แบ่งปันกันในเรื่องของความสามารถส่วนบุคคล จุดแข็งและความเชื่อถือของสมาชิกในทีม ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของธุรกิจครอบครัวและทั้งของคนรุ่นก่อนและการสร้างทีมของคนรุ่นต่อไป

 

การสร้างความไว้วางใจนั้นเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยากโดยเฉพาะในธุรกิจครอบครัว เทคนิคอันหนึ่งที่ใช้ได้ผลคือ การเปิดใจ (Be Vulnerable) Vulnerability เป็นความซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมาและอารมณ์ความรู้สึกที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นได้ โดย Dr. Brene Brown ผู้เชี่ยวชาญด้านความคิดและพฤติกรรมมนุษย์บอกว่าLeaders have to welcome vulnerability” และยํ้าว่า Vulnerable ไม่ได้แปลว่า อ่อนแอ แต่หมายถึงการเปิดใจ เปิดความอ่อนไหว เปิดตัวตนภายในให้คนอื่นได้รับรู้ แสดงให้คนอื่นเห็นว่าเราก็รู้สึกไม่แน่นอน ไม่แน่ใจ และกลัวการเปลี่ยนแปลงที่ควบคุมไม่ได้เช่นกัน

 

วิธีที่จะส่งเสริมความเปิดใจนี้ ได้แก่ การแบ่งปันเรื่องราวความล้มเหลว ความเสียใจในชีวิตและส่งจดหมายขอบคุณสมาชิกในครอบครัวที่แบ่งปันสิ่งที่พวกเขาชื่นชมกันและกัน การเปิดใจในหมู่สมาชิกในครอบครัวสามารถผลักคนจำนวนมากออกจากคอมฟอร์ตโซนของตนได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ซึ่งอาจใช้หลักจรรยาบรรณช่วย ให้แนวทางการมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวในสถานการณ์เหล่านี้ หรือผู้อำนวยกระบวนการมืออาชีพ (professional facilitator) ก็สามารถช่วยสร้างบรรยากาศที่สมาชิกในครอบครัวสามารถเปิดใจต่อกันได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

 

เคล็ดลับการสร้างทีม  ของผู้นำธุรกิจครอบครัวคนต่อไป

 

อย่างไรก็ตามการมีส่วนร่วมใน Vulnerability ใดๆ จะต้องมีพื้นฐานมาจากความไว้วางใจในครอบครัวด้วยวิธีการเปิดใจอาจจะจัดให้มีพื้นที่เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ (Share Experiences) คนเรามักสร้างความสัมพันธ์จากการแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ประสบการณ์ที่ลึกซึ้งจะหล่อหลอมครอบครัวเข้าด้วยกันและการปฏิสัมพันธ์เล็กๆ น้อยๆ อย่างต่อเนื่อง (เช่น การแบ่งปันอาหารกัน) จะยิ่งทำให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยกัน การร่วมกิจกรรมต่างๆ สามารถสร้างความบันเทิงและให้ความรู้ได้ด้วย เช่น การเล่นโบว์ลิ่งด้วยกัน เป็นอาสาสมัคร การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การทดสอบบุคลิกภาพ หรือการไต่เขาเป็นกลุ่ม

 

ขณะที่บางกิจกรรมเป็นสิ่งที่ท้าทายและต้องการการแก้ปัญหา เช่น เกมเอสเคปรูม (escape rooms) ได้รับความนิยมและมักสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับครอบครัวได้การแบ่งปันประสบ การณ์ในครอบครัวจะช่วยส่งเสริมความรู้สึกร่วมและความคุ้นเคยกัน ซึ่งหากเหตุการณ์นั้นๆ ช่วยให้คนเรียนรู้ทักษะหรือค้นพบแง่มุมใหม่ๆ ของสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ ก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น

 

          ที่มา : Zeidler, N. and Nacht, J. 2019. Five Team-Building Tips for Future Family Business Leaders. Tharawat Magazine. Available: https://www.tharawat-magazine.com/grow/team-building-family-business-leaders/#gs.idfssg

          ข้อมูลเพิ่มเติม : www.famz.co.th

 

หน้า 31 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,529 วันที่ 8-11 ธันวาคม 2562

เคล็ดลับการสร้างทีม  ของผู้นำธุรกิจครอบครัวคนต่อไป