บ้านสวน ต่อยอดนํ้าตาลมะพร้าว ดันรายได้โต 30%

10 ธ.ค. 2562 | 23:40 น.

นํ้าตาลมะพร้าวบ้านสวนต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่ไซรัป (นํ้าเชื่อม) เพิ่มฐานลูกค้าเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ และผู้ที่ต้องการควบคุมนํ้าตาลชูจุดเด่นนํ้าตาลมะพร้าวแท้ และค่าดัชนีความหวานระดับตํ่า เชื่อดันรายได้โตขึ้น 20-30% 

 

 

 

นางบุศรินทร์  เกิดแก้ว  ผู้ดูแลด้านการตลาด  นํ้าตาลมะพร้าว “บ้านสวน” เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้กำลังดำเนินการต่อยอดธุรกิจ เพื่อขยายฐานลูกค้าและเพิ่มรายได้ โดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นลักษณะของไซรัป  เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ต้องการดูแลสุขภาพ และกลุ่มคนทำงานที่ปัจจุบันหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลกันเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแบรนด์มองว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจ และยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมากในอนาคต จากเดิมที่จะมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นนํ้าตาลปี๊บ

บ้านสวน ต่อยอดนํ้าตาลมะพร้าว  ดันรายได้โต 30%

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นการนำนํ้าตาลมะพร้าวแท้ 100%  มาผ่านกระบวนการผลิตให้กลายเป็นไซรัป โดยจะมีปริมาณความหวานน้อยกว่านํ้าตาลปี๊บที่ทำมา
จากนํ้าตาลมะพร้าว เนื่องจากจะไม่ได้เข้มข้นเท่าและมีความใสของนํ้า แต่ยังคงกลิ่นความหอมของนํ้าตาลมะพร้าว ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำไปผสมกับเครื่องดื่มประเภทชา หรือกาแฟได้ รวมถึงยังมีความสะดวกสบายในการนำไปปรุงอาหารประเภทต่างๆตามที่ต้องการ และยังช่วยในการควบคุมปริมาณนํ้าตาลให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้อีกด้วย

บ้านสวน ต่อยอดนํ้าตาลมะพร้าว  ดันรายได้โต 30%

“นํ้าตาลมะพร้าวจะมีค่าของดัชนีนํ้าตาล (Glycemic Index : GI) น้อยที่สุด โดยมีอยู่ที่ระดับประมาณ ซึ่งน้อยกว่านํ้าตาลทรายและนํ้าผึ้ง มีแคลอรีตํ่า โดยมีข้อมูลอ้างอิงมาจากสถาบันอาหารและโภชนาการประเทศฟิลิปปินส์ เพราะฉะนั้น  จึงมีความเหมาะสมกับร่างกายของผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ ด้วยการควบคุมปริมาณนํ้าตาล”

ด้านกลยุทธ์การทำตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายนั้น  อาจจะมีการขยายเพิ่มเติมไปสู่ร้านที่จำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น เลมอนฟาร์ม เป็นต้น  โดยคงไม่สามารถนำเข้าไปจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ได้  เนื่องจากกำลังการผลิตยังไม่เพียงพอ ซึ่งมาจากปริมาณนํ้าตาลมะพร้าวที่น้อยลง ทำให้ไม่สามารถควบคุมปริมาณ นํ้าตาลได้ โดยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกสวน เพราะนํ้าตาลมะพร้าวหมดงวง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากมีออร์เดอร์เข้ามาและไม่ได้ต้องการแบบเร่งด่วน ก็สามารถที่จะผลิตให้ได้แบบทยอยผลิต

บ้านสวน ต่อยอดนํ้าตาลมะพร้าว  ดันรายได้โต 30%

“เราไม่มีหน้าร้านในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่จะมุ่งเน้นบนช่องทางออนไลน์เป็นหลักทั้งเพจเฟซ บุ๊กส่วนตัวและเพจของร้าน โดยถือว่าเป็นช่องทางที่มีความสำคัญ และสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างทั่วถึงตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งปัจจุบันจะสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยที่ตนก็จะมีการพัฒนากลยุทธ์การทำตลาดบนช่องทางดังกล่าวนี้ให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น ทั้งการให้ความรู้ผู้บริโภคเกี่ยวกับนํ้าตาล และการจัดโปรโมชันเพื่อส่งเสริมการขาย”

นางบุศรินทร์  กล่าวต่อไปอีกว่า จากกลยุทธ์การทำตลาดดังกล่าวเชื่อว่าจะทำให้รายได้เติบโตขึ้นประมาณ 20-30% จากที่ผ่านมา  โดยจุดเด่นของผลิตภัณฑ์นํ้าตาลมะพร้าวบ้านสวน  หากเป็นในส่วนของนํ้าตาลปี๊บจะอยู่ที่การใช้นํ้าตาลมะพร้าวแท้ในการผลิต  ซึ่งจะไม่มีส่วนผสมของนํ้าตาลทราย หรือแบะแซ  รวมถึงไม่มีการใส่สารฟอกสี และสารกันบูด ทำให้มีความหอมอร่อย คงความเป็นดั้งเดิมของนํ้าตาลมะพร้าว ขณะที่ในส่วนของไซรัปจะมีจุดเด่นเรื่องของความสะดวกสบายในการนำไปปรุงอาหารประเภทต่างๆ และผสมกับเครื่องดื่ม

บ้านสวน ต่อยอดนํ้าตาลมะพร้าว  ดันรายได้โต 30%

สำหรับจุดมุ่งหมายหลักในการทำธุรกิจนั้น แน่นอนว่าย่อมมองไปที่ผลของกำไรที่จะได้กลับมา  แต่ที่นอกเหนือไปจากนั้นก็คือการได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยชุมชนและเกษตรกรที่ทำสวนมะพร้าว  โดยใช้วัตถุดิบจากชุมชนมาใช้ในการผลิต  ซึ่งจะเลือกใช้ของสวนที่นํ้าตาลมะพร้าวเพียงพอที่จะสามารถแบ่งปันมาให้ได้ นอกเหนือไปจาก ออร์เดอร์ของสวนนั้นๆที่ได้รับเข้ามา

บ้านสวน ต่อยอดนํ้าตาลมะพร้าว  ดันรายได้โต 30% บ้านสวน ต่อยอดนํ้าตาลมะพร้าว  ดันรายได้โต 30%

“ตนจะมีความได้เปรียบกว่าเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวทั่วไปในเรื่องของการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ เพราะมีงานหลักประจำที่มีความจำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีดังกล่าวนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว รวมถึงยังคงมีโอกาสในการเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ และยังมีเครือข่ายที่กว้างขวาง ช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จัก และกระจายไปได้มากยิ่งขึ้น  โดยบางสวนไม่มีช่องทางในการทำตลาด รอเพียงลูกค้าเข้ามาหาเองเท่านั้น ดังนั้น ตนจึงมีส่วนช่วยชุมชนได้ด้วยการรับซื้อวัตถุดิบมาแปรรูปต่อ”

บ้านสวน ต่อยอดนํ้าตาลมะพร้าว  ดันรายได้โต 30% บ้านสวน ต่อยอดนํ้าตาลมะพร้าว  ดันรายได้โต 30%

หน้า 8 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3528 วันที่ 5-7 ธันวาคม 2562