ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้ยังคงผันผวน

24 ก.พ. 2559 | 02:00 น.
หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์พลังงาน บมจ.ไทยออยล์   เผยแนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (22 - 26 ก.พ.2559)  ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้ยังคงผันผวน เนื่องจากความพยายามในการลดหรือคงกำลังการผลิตที่ระดับปัจจุบันของผู้โอเปกและรัสเซียยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน  แม้ว่าอิหร่านจะออกมาสนับสนุนความพยายามในการสร้างเสถียรภาพต่อราคาน้ำแต่ความเป็นไปได้ที่อิหร่านจะลดหรือคงปริมาณการผลิตที่ระดับปัจจุบันทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าภาวะอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินจะยังคงไม่คลี่คลายนํ้ามันดิบไม่สามารถฟื้นตัวขึ้นได้มากนัก อย่างไรก็ดีราคานํ้ามันยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณนํ้ามันดิบสหรัฐฯที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามปริมาณการขุดเจาะนํ้ามันดิบของสหรัฐฯที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาสู่ระดับตํ่าสุดในรอบ 6 ปี

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคานํ้ามันในสัปดาห์นี้

จับตาการเจรจาระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกโอเปกต่อการปรับลดหรือคงกำลังกาจะออกมาในทิศทางใด หลังซาอุดิอาระเบียกาต้าร์ เวเนซุเอลา อิรักและรัสเซียตกลงที่จะคงปริมาณการผลิตไว้ที่ระดับเดียวกับการผลิตในเดือนประกอบกับอิหร่านเองออกมาสนับสนุนความพยายามของซาอุดิอาระเบียและรัสเซียในการสร้างเสถียรภาพต่อราคานํ้ามันดิบ ด้วยการคงปริมาณการผลิตไว้ที่ระดับเดียวกับการผลิตในเดือนมกราคมอย่างไรก็ดีไม่ได้มีการระบุอย่างชัดเจนว่าปริมาณการผลิตจะถูกคงไว้ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าโอกาสที่อิหร่านจะลดหรือคงการผลิตที่ระดับเนื่องจากอิหร่านเองต้องการจะเพิ่มปริมาณการผลิตให้กลับไปสู่ระดับเพื่อฟื้นรายได้ให้กับประเทศโดยข้อมูลล่าสุดพบว่าอิหร่านมีการเพิ่มปริมาณการส่งออกนํ้ามันล้านบาร์เรลต่อวัน ก่อนได้รับการยกเลิกควํ่าบาตรมาอยู่ที่ราว 1.3ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนกุมภาพันธ์และจะเพิ่มขึ้นเป็นราว 1.5ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมีนาคมหลังมีการเพิ่มการส่งออกนํ้ามันดิบไปยังตลาดยุโรปเพิ่มมากขึ้น

ปริมาณนํ้ามันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 12 ก.พ.ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน โดยปรับตัวลดลงกว่า 3.3ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ระดับ 499.1 ล้านบาร์เรล เนื่องจากมีการนำเข้าในขณะที่ปริมาณนํ้ามันดิบคงคลังสหรัฐฯ ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮ0.18 ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ระดับ 64.82 ล้านบาร์เรล หลังปริมาณนํ้ามันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสร้างความกังวลน้ำมันดิบ ณ จุดส่งมอบอาจจะไม่เพียงพอ ทำให้บริษัทนํ้ามันเพิ่มการส่งโดยคาดว่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นนั้นจะเป็นการส่งออกไปยังยุโรป

ปริมาณการขุดเจาะนํ้ามันดิบของสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องหลังราคานํ้ามันดิบที่ปรับลดลงอย่างมากทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการขุด โดยจากข้อมูลล่าสุดรายงานโดยBakerHugnes พบว่าจำนวนหลุมขุดเจาะในสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ 12 ก.พ. 59 ปรับลดลงมาแตะระดับตํ่าสุดนับแต่ปี 2553 ที่ 439หลุมและมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องหลังบริษัทขุดเจาะหลายรายมีการปรับลดลงโดยบริษัทลงทุนทางการเงินใหญ่ในสหรัฐฯอย่างRay mo ndjamesคาดหลุมขุดเจาะจะลดลงต่อเนื่องในครึ่งปีแรกWTIจากราคานํ้ามันจะอยู่ที่ระดับตํ่ากว่า 40 เหรียญฯ ก่อนปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในWTI ดีดตัวเพิ่มขึ้นไปเฉลี่ยที่ระดับ 60 เหรียญฯ

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่

ดัชนีภาคการผลิตและบริการของยูโรโซน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ

ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ รายจ่ายส่วนบุคคลจีดีพีQ4/15 สหรัฐฯ