รัฐ-เอกชนไทย โชว์ศักยภาพ รัฐบาลดิจิทัลในเวทีอาเซียน 

03 พ.ย. 2562 | 06:54 น.

การประชุม Asean Business and Investment 2019 วันที่ 2 บนเวทีเสวนา มีตัวแทนจากรัฐบาลไทย เอกชนไทย และธนาคารโลก เสวนาในหัวข้อที่เกี่ยวกับ ดิจิทัล ดิสรัปชั่น ในอาเซียน  โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายผยง ศรีวนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย นายเรืองโรจน์ พูนผล asikorn Business - Technology Group (KBTG) และตัวแทนจากธนาคารโลก 

กอบศักดิ์ ภูตระกูล 

เมื่อเกิดดิจิทัล ดิสรัปชั่น สิ่งที่เกิดขึ้นในภาคเอกชนคือต้องมีกลยุทธ์ในการรับมือและปรับตัว ขณะเดียวกันต้องมองว่าจะทำอย่างไรถึงจะมีแรงดึงดูด การปรับตัวของรัฐบาลก็เช่นเดียวกัน รัฐบาลจะให้เอกชนวิ่งไปข้างหน้าฝ่ายเดียวไม่ได้ ต้องให้คำปรึกษาสนับสนุน ให้บริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  ซึ่งถ้ารัฐบาลไม่ดำเนินการเอกชนจะเสียเปรียบและไม่สามารถสู้กับเอกชนรายอื่นจากต่างประเทศได้ สิ่งที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินการคือการสร้างและวางรากฐานของโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเปรียบเทียบกับการขุดคลองในสมัยจักรพรรดิของจีน เพื่อสร้างเศรษฐกิจให้เติบโต ในยุคปัจจุบันคือการขุดคลองเช่นเดียวกันแต่คือการวางโครงสร้างพื้นฐานทางอินเตอร์เน็ต รัฐบาลไทยได้ออกกฏหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง และออก พรบ.รัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้หน่วยงานของรัฐเชื่อมข้อมูลกัน ข้อมูลต้องเปิดเผย นำไปสู่ข้อมูลที่เรียกว่า BIG DATA และโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลคือการทำอย่างไร ถึงจะให้เอกชนสามารถมีข้อมูลเหล่านี้เพื่อไปตอบสนองและช่วยผลักดันการจิญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งได้ยกตัวอย่างที่รัฐบาลร่วมกับธนาคารกรุงไทยดำเนินการสร้างฐานข้อมูลจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 

ผยง ศรีวนิช 

กรุงไทยถือเป็นธนาคารแบบไฮบริด ที่ต้องดำเนินการแบบธนาคารอื่นและตอบสนองนโยบายของรัฐไปพร้อมๆกันด้วย สิ่งที่หนึ่งกรุงไทยได้เดินหน้าในช่วงที่ผ่านมาคือได้ข้อมูลที่ได้จากโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีผู้ลงทะเบียนกว่า13 ล้านคน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของประชาชนในประเทศไทยทีมีรายได้ต่ำ และเมื่อ2เดือนที่ผ่านมามีโครงการ ชิม ชอป ใช้ ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทั้งหมดนี้ทำให้เราสามารถมีข้อมูล หรือ BIG DATA ที่มากถึง 15% ของประชากรในประเทศไทย จะทำให้รัฐสามารถออกนโยบายที่ต้องกับคววามต้องการของประชาชนได้มากขึ้น 

เรืองโรจน์ พูนผล 

เมื่อพูดถึงดิจิทัลหรือการเติบโตทางด้านเทคโนโลยี อาเซียนยังตามหลังจีนอยู่อีกมาก ปริมาณและมูลค่าทางด้านเศรษฐดิจิทัลของจีนใหญ่มากกว่าที่หลายคนคิดโดยยกตัวย่างเมื่อ มาร์ก ซัคเกอร์เบริก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กพูดถึงการ  look east นั่นหมายถึง look China ซึ่งเป็นโอกาสของ Tec startup ในภูมิภาคที่จะเติบโตต่อไปใน 10ปีข้างหน้า แต่ทั้งหมดนี้คือช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับภูมิภาคอาเซียน 

อรินา อาสค์ทราคัน 

อินเตอร์เน็ต อีโคโนมี่ในอาเซียนยังช่องว่างในการเติบโตได้อีกมาก ครึ่งหนึ่งของประชากรอาเซียนเป็นผู้ที่เข้าถึงโลกออนไลน์ ในอาเซียนมอีกหลายประเทศที่ยังมีช่องว่างและยังไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทยอยู่ในอันดับต้นๆของการเข้าถึงโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งที่ตามมาคือการควบคุม การกำกับดูแล จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากประเทศต่างๆ นอกจากนี้ประเทศในอาเซียนต้องเรียนรู้จากประเทศที่มีประสบการณ์ นำไปสร้างพื้นฐานให้กับประเทศของตัวเอง รัฐบาลต้องสนับสนุนการแก้ปัญหา สร้างผลิตผลให้เกิดขึ้นในประเทศ และธนาคารยินดีที่จะสนับสนุนอาเซียนการในก้าวไปสู่ยุคดิจิทัล