“อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์” นักวิชาการที่ไม่ธรรมดา

29 พ.ย. 2563 | 00:20 น.

เปิดประวัติ “อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์” นักวิชาการที่ (ไม่) ธรรมดา  

ชื่อของ “ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์” กลับมาได้รับความสนใจ เรียกได้ว่า ติดลมบนเพียงข้ามคืน หลังจากออกรายการ ถามตรงๆกับ "จอมขวัญ" ทางสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี ดีเบตในประเด็น พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ 2561 กับ รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำม็อบราษฎร หรือ ม็อบคณะราษฎร ในความแม่นยำของข้อมูล

 

“ดร.อานนท์”  ดีกรี ด็อกเตอร์ ด้าน Psychometrics and Quantitative Psychology จากมหาวิทยาลัยฟอร์ดแฮม สหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชา Business Analytics and Intelligence และ Actuarial Science and Risk Management คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกาะติด สถานการณ์การชุมนุม ม็อบคณะราษฎร 29 พ.ย.63

เย็นนี้ ม็อบคณะราษฎร นัดชุมนุม "กรมทหารราบที่ 1"

"ซูเปอร์โพล" ชี้ ปชช.98.9% หนุน ใช้ก.ม. ทุกมาตราจัดระเบียบสังคม

ดร.เสรี เปิด 10 ข้อเท็จจริง "สำนักงานทรัพย์สินฯ"อัดพวกไม่รู้อย่าเล่าความเท็จ 


เมื่อปี 2561 “ดร.อานนท์” ในฐานะ “ผอ.ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล” ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับวงการวิชาการมาแล้ว เมื่อตัดสินใจยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง ผอ.นิด้าโพล” หลังรับตำแหน่งได้เพียง 2 สัปดาห์ เนื่องจากสถาบันระงับการเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “นาฬิกาหรูที่ยืมเพื่อน เป็นเรื่องบิดเบือนหรือเรื่องจริง?"  

“...การระงับผลสำรวจดังกล่าว เป็นการ Self-cencorship หรือ การเซ็นเซอร์ตัวเอง ซึ่งการเซ็นเซอร์ตัวเองในสถาบันการศึกษา ถือว่า เป็นเรื่องที่รุนแรงและร้ายแรงกว่าการที่ผู้มีอำนาจสั่งเซ็นเซอร์สถานีโทรทัศน์ หรือสำนักพิมพ์

 

..ผมไม่สามารถยอมรับได้ เพราะผมจะไม่สามารถตอบคำถามประชาชนได้ว่า ผลสำรวจออกมาเป็นอย่างไร รวมถึงไม่สามารถตอบคำถามของเจ้าหน้าที่ของนิด้าโพล และตอบคำถามของตัวเองไม่ได้เช่นกัน.."

 

เคยขึ้นเวที กปปส. ร่วมเป่านกหวีด ชัตดาวน์ประเทศและประชาธิปไตยมาแล้ว ในครั้งนั้น ดร.อานนท์ บอกว่า เป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลนี้ แต่ถ้ารัฐบาลทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ต้องคัดค้าน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดร.อานนท์ นับเป็นนักวิชาการคนหนึ่งที่ใช้โซเชียลมีเดีย เป็นพื้นที่ในการแสดงความเห็นเชิงวิชาการ ให้ข้อมูลในประเด็นที่สังคมสนใจมาอย่างต่อเนื่อง ดังเช่น หัวข้อ ความเหมือน-ต่าง “คณะราษฎร 2475 กับ 2563” , 12 ความจริงของภาษี...ที่ยังเข้าใจไม่ถูกต้อง และ หัวข้อ ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เป็นของรัฐ (ราษฎร) หรือเป็นของพระมหากษัตริย์ เป็นต้น