ส่องระบบเดินรถไฟฟ้าโมโนเรล “สายสีชมพู” หากจอดเสียกลางคัน ทำอย่างไร

09 ก.พ. 2564 | 13:34 น.

เช็กระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู หลังครม.เคาะ เผยวิธีรับมือรถไฟฟ้าเสียบนรางผู้โดยสารทำอย่างไร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีชมพู ช่วงสถานีศรีรัช(ถนนแจ้งวัฒนะ) – เมืองทองธานี  ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร วงเงิน 3,379 ล้านบาท โดยแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ช่วงสถานีศรีรัช(ถนนแจ้งวัฒนะ) – เมืองทองธานี  เริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณสถานีศรีรัชของสายสีชมพูสายหลัก วิ่งไปทางทิศตะวันตก และเลี้ยวขวาเข้าสู่เมืองทองธานีไปตามซอยแจ้งวัฒนะ – ปากเกร็ด 39 แนวทางเดียวกันกับทางพิเศษอุดรรัถยา จนสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี

ดร. สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า โดยทั่วไปรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรล มีขบวนรถไฟฟ้าวิ่งคร่อมราง ไม่มีทางเดินให้ผู้โดยสารเดินในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน แล้วผู้โดยสารจะออกจากโมโนเรลซึ่งวิ่งอยู่ที่ระดับความสูงไม่น้อยให้ปลอดภัยได้อย่างไร หาคำตอบได้จากบทความนี้ 

สำหรับใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง ซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ ชี้ให้เห็นว่าอีกไม่นานเราจะได้ใช้โมโนเรลกันแล้ว นับว่าเป็นการพัฒนาระบบรางของเมืองไทยไปอีกก้าวหนึ่ง โมโนเรลเหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่ที่มีผู้โดยสารไม่มากนัก มีขีดความสามารถในการขนผู้โดยสารได้ประมาณ 30,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ในขณะที่รถไฟฟ้าขนาดหนักดังเช่น บีทีเอส และ เอ็มอาร์ที สามารถขนผู้โดยสารได้ประมาณ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ต้นทุนการก่อสร้างโมโนเรลถูกกว่ารถไฟฟ้ายกระดับขนาดหนัก ประมาณ 30%-40%

ขณะเดียวกันมีหลายคนถามผมว่าถ้าโมโนเรลสายสีชมพูหรือสายสีเหลืองจอดเสียอยู่บนรางที่สูงจากพื้นดินเกือบ 20 เมตร ผู้โดยสารจะออกจากโมโนเรลให้ปลอดภัยได้อย่างไร? ผมขอตอบดังนี้ทั้งโมโนเรลสายสีชมพูและสายสีเหลืองเป็นโมโนเรลที่วิ่งสวนทางกัน กล่าวคือสายสีชมพูมีรางรองรับโมโนเรล ขาไป 1 ราง และขากลับอีก 1 ราง สายสีเหลืองก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น หากเกิดเหตุขัดข้องที่สายใดสายหนึ่งผู้โดยสารจะต้องทำดังนี้1. กรณีมีโมโนเรลกู้ภัยมารับโมโนเรลกู้ภัยจะมาจอดเทียบหรือขนานกับโมโนเรลที่เสีย เจ้าหน้าที่จะวางสะพานเชื่อมระหว่างโมโนเรลกู้ภัยกับโมโนเรลที่เสีย จากนั้นผู้โดยสารจะต้องเดินจากโมโนเรลที่เสียไปสู่โมโนเรลกู้ภัยซึ่งจะขนผู้โดยสารไปสู่สถานี2. กรณีไม่มีโมโนเรลกู้ภัยมารับ-ต้องเดินบนทางเดินฉุกเฉิน   

ทั้งนี้ในกรณีฉุกเฉินที่ผู้โดยสารจะต้องออกจากโมโนเรลอย่างรีบด่วน ไม่สามารถรอโมโนเรลกู้ภัยมารับได้ ในกรณีนี้ผู้โดยสารจะต้องลงจากโมโนเรลไปที่ทางเดินระหว่างรางทั้งสอง ทางเดินเป็นตะแกรงเหล็กกัลวาไนซ์เพื่อให้ผู้โดยสารเดินไปสู่สถานีที่ใกล้ที่สุด ความสูงจากพื้นโมโนเรลถึงทางเดินเกือบ 2 เมตร ดังนั้น จะต้องลงทางบันไดที่พาดจากประตูโมโนเรลไปที่ทางเดิน บันไดดังกล่าวจะถูกเก็บไว้บนรถและบนทางเดินตลอดทาง ส่วนผู้โดยสารที่ใช้วีลแชร์จะต้องช่วยกันอุ้มลงมาที่ทางเดินแล้วเข็นไปที่สถานีรู้อย่างนี้แล้ว สบายใจได้เลยว่าเราจะสามารถนั่งโมโนเรลได้อย่างปลอดภัยแน่นอน
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ด่วน ชงครม.เคาะส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู พรุ่งนี้

ครม.เห็นชอบ "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" ส่วนต่อขยายเลี้ยวเข้าเมืองทองธานี

รถไฟฟ้าหลากสี คนกรุงควัก 14-104 บาท

จี้รื้อ ‘ผังนนท์’ รถไฟฟ้า สายสีชมพู-ม่วง ดันที่พุ่ง วาละ 3 แสน

เคลียร์ค่าโดยสาร “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” เปิด 6 ข้อเสนอ สภาคุ้มครองผู้บริโภค ชงครม.