SCB ชี้ ส่งออกไทยปี64 แนวโน้มขยายตัวช้า

24 ม.ค. 2564 | 08:02 น.

SCB ทำบทวิเคราะห์ส่งออดไทยปี64  คาดขยายตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้จาก 4.7% เป็น 4% เหตุผลกระทบ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 2

ดร. กำพล อดิเรกสมบัติ  ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านเศรษฐกิจ และตลาดการเงิน  พนันดร อรุณีนิรมาน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส  และพิมพ์ชนก โฮว นักวิเคราะห์  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  ได้ร่วมทำบทวิเคราะห์ การส่งออกเดือน ธ.ค. 2020 ท่ามกลางผลกระทบจากการระบาดระลอก 2 ว่า มูลค่าส่งออกเดือนธันวาคม 2020 พลิกกลับมาขยายตัวที่ 4.7% หลังจากหดตัว -3.6% ในเดือนก่อนหน้า เมื่อหักทองคำ การส่งออกขยายตัวมากขึ้นเล็กน้อยที่ 5%โดยการส่งออกในเดือนธันวาคมเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ทั้งนี้ในปี 2020 การส่งออกในภาพรวมหดตัวที่ -6% และเมื่อหักทองคำและการส่งกลับอาวุธไปสหรัฐฯ การส่งออกจะหดตัวสูงขึ้นเป็น -8.4%

SCB ชี้ ส่งออกไทยปี64  แนวโน้มขยายตัวช้า

 

อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการส่งออกไทยในระยะสั้นมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจาก เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงจากการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ทั่วโลก  ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ การแข็งค่าของเงินบาท และ ความเสี่ยงต่อการส่งออกอาหารทะเลของไทยที่เกิดจากความกังวลด้านการระบาดของ COVID-19 ในจังหวัดสมุทรสาคร รวมถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว โดยจากปัจจัยดังกล่าว EIC ได้ปรับลดคาดการณ์ส่งออกปี 2564 เล็กน้อยจาก 4.7% เป็น 4.0%

SCB ชี้ ส่งออกไทยปี64  แนวโน้มขยายตัวช้า

แต่อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหลายภาคส่วนปรับตัวดีขึ้น  โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน อาหาร และถุงมือยางยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยรวมกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือนที่ 6.7%  ซึ่งสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญในหลายภาคส่วนมีการขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ (3.2%) เคมีภัณฑ์และพลาสติก (9.5%) แผงวงจรไฟฟ้า (7.3%) และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (8.6%) เป็นต้น

SCB ชี้ ส่งออกไทยปี64  แนวโน้มขยายตัวช้า

 

ส่วนการส่งออกอากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ ขยายตัวสูงที่ 159.3% เป็นผลจากการส่งกลับเครื่องบินในเดือนธันวาคม โดยตลาดหลักที่ขยายตัวสูง ประกอบด้วย อินโดนีเซีย (51,169.7%) ฟิลิปปินส์ (9,686.6%) และเยอรมนี (948.6%) ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 10.7% หลังจากขยายตัว 6.9%ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าเกษตรสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา (30.0%) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (63.6%) และผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง (9.1%)  ส่วนสินค้าส่งออกที่เกี่ยวข้องกับการอยู่อาศัยและทำงานที่บ้าน และการป้องกันสุขภาพมีการขยายตัวได้ต่อเนื่อง ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง (25.7%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (8.4%) เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ (10.2%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (15.5%) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์และอุปกรณ์ (33.9%) เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ (18.3%) และผลิตภัณฑ์ยาง (15.7%) โดยถุงมือยางขยายตัวเร่งขึ้นที่ 220.3%  

 

อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ที่ -7.5%หลังจากหดตัว -12.2% ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องดื่ม (-11.5%) และน้ำตาลทราย (-75.4%)   ส่วนการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ที่ -16.6% โดยตลาดหลักที่หดตัว ได้แก่ สิงคโปร์ (-32.2%) มาเลเซีย (-24.3%YOY) และจีน (-47.7%)

 

ส่วนการส่งออกรายตลาด พบว่าการส่งออกไปหลายตลาดสำคัญขยายตัว อาทิ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อาเซียน 5 อย่างไรก็ดี การส่งออกไปสหภาพยุโรป 15 และ CLMV ยังคงหดตัว  โดยการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ 15.7% หลังจากขยายตัว 15.4%ในเดือนพฤศจิกายน โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (12.7%) ผลิตภัณฑ์ยาง (13.8%) และรถยนต์และส่วนประกอบ (55.0%)

 

ในขณะที่การส่งออกไปจีนกลับมาขยายตัวอีกครั้งในรอบ 3 เดือนที่ 7.2% หลังจากหดตัวที่ -8.9% ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (33.5%) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง (29.4%) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (124.5%) และเคมีภัณฑ์ (48.0%) ส่วนการส่งออกไปตลาดอาเซียน 5 พลิกกลับมาขยายตัวเล็กน้อยที่ 0.8% หลังจากหดตัว -15.0%ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าที่ขยายตัว อาทิ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (71.0%) แผงวงจรไฟฟ้า (11.1%) และอากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ (378.5%) เป็นต้น การส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 14.8% หลังจากขยายตัว 5.4% ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ประกอบด้วย รถยนต์และส่วนประกอบ (91.5%) เคมีภัณฑ์ (87.9%) และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (24.5%)  การส่งออกไปออสเตรเลียขยายตัวชะลอลงที่ 15.3% หลังจากขยายตัวสูงถึง 24.3% ในเดือนก่อนหน้า สินค้าหลักที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ (17.7%) อัญมณีและเครื่องประดับ (217.6%) และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (31.9%)

SCB ชี้ ส่งออกไทยปี64  แนวโน้มขยายตัวช้า

การส่งออกไปตลาดอินเดียขยายตัวที่ 14.5%หลังจากหดตัว -1.3% ในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ (24.3%) และเคมีภัณฑ์ (35.3%)อย่างไรก็ดี การส่งออกไปสหภาพยุโรป 15 หดตัวต่อเนื่องที่ -2.4% หลังจากหดตัว -8.5% ในเดือนก่อนหน้า สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ (-28.3%) อัญมณีและเครื่องประดับ (-30.2%) และไก่แปรรูป (-21.9%)การส่งออกไปตลาด CLMV หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ที่ -6.3%หลังจากหดตัว -13.0%ในเดือนก่อนหน้า สินค้าสำคัญที่หดตัว ประกอบด้วย น้ำมันสำเร็จรูป (-1.6%) และเครื่องดื่ม (-16.3%)

 

ด้านมูลค่านำเข้าในเดือนธันวาคมขยายตัวที่ 3.6% หลังจากหดตัว -0.1% ในเดือนพฤศจิกายน โดยการนำเข้าสินค้าในเกือบทุกหมวดกลับมาขยายตัวในเดือนนี้ ได้แก่ สินค้าทุน (8.9%) สินค้าอุปโภคบริโภค (2.1%) ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง (6.4%) และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (11.2%) อย่างไรก็ดี การนำเข้าหมวดสินค้าเชื้อเพลิงยังหดตัวที่ -17.3% สำหรับมูลค่าการนำเข้าในปี 2020 หดตัวที่ -12.4% ทั้งนี้ดุลการค้าในเดือนธันวาคมเกินดุลที่ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2020 ดุลการค้าเกินดุล 20.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ