“คนละครึ่ง”ดันดัชนีเชื่อมั่นฯพ.ย.ดีขึ้น

03 ธ.ค. 2563 | 08:24 น.

ม.หอการค้าชี้ “คนละครึ่ง”ดันดัชนีเชื่อมั่นฯพ.ย.ดีขึ้นจับสถานการณ์ทางการเมือง-โควิด-19 ระบาดบั่นทอนเศรษฐกิจ 

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนพ.ย.  2563 ว่า  ดัชนีมีการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และปรับตัวอยู่ในระดับที่สูงสุดในรอบ 9 เดือน แตะระดับ 52.4 ทั้งนี้เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีแนวโน้มที่ปรับฟื้นตัวดีขึ้น ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเกิดการหมุนเวียนโดยเฉพาะข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และปศุสัตว์ ส่งผลให้กำลังซื้อในหลายจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น รวมถึงการดำเนินนโยบายของภาครัฐในโครงการคนละครึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชนทำให้เศรษฐกิจเกิดการหมุนเวียน

“คนละครึ่ง”ดันดัชนีเชื่อมั่นฯพ.ย.ดีขึ้น



แม้ว่าผู้บริโภคจะมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองไทยหลังจากมีการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้งในเดือนต.ค.  จนทำให้ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองปรับตัวต่ำสุดในรอบ 171 เดือนหรือ 14 ปี 3 เดือน และผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและการว่างงานในอนาคตที่เกิดจากผลกระทบเชิงลบจาก COVID-19 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  "คนละครึ่งเฟส2" ให้แน่นอนรอ คลัง แจ้งอีกรอบ

 ถูกตัดสิทธิ คนละครึ่งรอบแรก ร่วมคนละครึ่งรอบ2 ได้หรือไม่เช็กที่นี่

รัฐอัดฉีด"คนละครึ่งเฟส 2- เติมเงินบัตรสวัสดิการ" 4.35 หมื่นล้านกระตุ้นเศรษฐกิจโค้งแรกปี 64

  ชัดเจนแล้ว 16 ธ.ค.ลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส2 วันหวยออก

"คนละครึ่งเฟส 2" เตรียมเปิดให้อีก 5 ล้านคน ลงทะเบียนรับ 3,500 บาท

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 45.6 โอกาสในการทางานทำอยู่ที่ระดับ 50.0 และรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 61.6 ซึ่งเป็นดัชนีที่ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ ถึงแม้ว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำ


ทั้งนี้ศูนย์ฯคาดว่าผู้บริโภคยังคงชะลอการใช้จ่ายอย่างมากไปอย่างน้อยจนถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 จนกว่าสถานการณ์ COVID-19 ของโลกจะคลายตัวลง ซึ่งต้องติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของที่เป็นรูปธรรมชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 4 ว่าสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยได้มากน้อยเพียงใด และสถานการณ์ทางการเมืองของไทยจะดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร ซึ่งปัจจัยทั้งสองจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคตเป็นอย่างมาก