27 ต.ค. เปิดศึกแย่งซื้อข้าวหอมมะลิ

25 ต.ค. 2563 | 04:54 น.

อีสานทัวร์ลง  “โรงสี-พ่อค้า” วิ่งล่อง สำรวจผลผลิตข้าวหอมมะลิ “เกรียงศักดิ์” เผย 27 ต.ค. ผลผลิตจะทยอยออกสู่ตลาด ประเมินผลผลิตดีกว่าปีก่อน ล่าสุดหอบเครื่องวัดความชื้นแจกชาวนา แนะข้าวล้มจมน้ำควรผึ่งแดดก่อนขาย

เกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์

 

นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ได้มาสำรวจข้าวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 23-26 ตุลาคม 63  เป็นรอบที่ 2 ซึ่งจากการได้ดูในหลายพื้นที่ ทั้งพื้นปลูกข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียว สภาวะอากาศ  อากาศเริ่มเย็นลง ฝนน้อย แดดดี ข้าว กข15เริ่มเก็บเกี่ยว คาดว่า หลังวันที่ 27 ตุลาคม การเก็บเกี่ยวหนาตามากขึ้นในหลายพื้นที่  ซึ่งในปีนี้การเก็บเกี่ยวล่าช้า เนื่องจากอากาศปิดในช่วงพายุเข้ามาในช่วงเดือนตุลาคม ทำให้ข้าวสุกช้าลง ทั้ง กข15 และข้าวหอมมะลิ105 บ้างพื้นที่ในนามีน้ำขัง อาจมีอุปสรรคในการเก็บเกี่ยวบ้าง ซึ่งจะส่งผลด้านคุณภาพ และความชื้น (ข้าวล้มจมน้ำควรนำไปผึ่งแดดก่อนจึงนำมาขายแต่ต้องระวังไม่ให้เหม็นอับเหม็นเปรี้ยว)

 

27 ต.ค. เปิดศึกแย่งซื้อข้าวหอมมะลิ

 

ส่วน “ข้าวเหนียว” ในขณะนี้เริ่มมีการเก็บเกี่ยวส่วนใหญ่ จะเป็น พันธุ์ กข22 มีพันธุ์ที่เรียกกันติดปากคือเปลือกขาว และเปลือกแดง(พันธุ์ อีเตี้ยเล้าแตกโรงสีไม่นิยม ปลูกน้อยลง)และยังมีข้าวเหนียวอีกหลายพันธุ์ที่ชาวนาปลูก ส่วน กข6 ต้นสูง และต้นเตี้ย  จะเริ่มเก็บเกี่ยว ประมาณกลางเดือน พฤศจิกายน โดยร่วมผลผลิต ดีกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียว

 

27 ต.ค. เปิดศึกแย่งซื้อข้าวหอมมะลิ

 

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับการมาในครั้งนี้ยังได้นำเครื่องวัดความชื้นมามอบให้ ท่านกำนันสมจิตร ทองเชิด กำนันตำบลผไทรินทร์ อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามที่ได้รับปากท่านไว้  สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563 ผมได้ขับรถเที่ยวดูทุ่งข้าวหอมมะลิภาคอีสาน โดย สหกรณ์การเกษตรเพื่อลูกค้า ธ.ก.ส.บุรีรัมย์ ที่อยู่ในพื้น ประสานงานให้ผมได้พบกับท่านกำนันและผู้ใหญ่บ้าน จึงได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับท่านกำนันสมจิตร ทองเชิด กำนันตำบล ผไทรินทร์ อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมผู้ใหญ่บ้านอีกหลายท่าน ถึงภาพรวมการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ  ต่างมีความเห็นตรงกันว่าผลผลิตดีกว่าปีที่ผ่านม

 

27 ต.ค. เปิดศึกแย่งซื้อข้าวหอมมะลิ

จากการที่ได้มีการพูดคุยถึงการตากข้าวเปลือกของเกษตรกร (ลูกบ้าน) ผมถามว่าทำไมถึงทราบว่าข้าวที่ตากแห้งใช้ได้แล้วและจึงเก็บนำไปขึ้นยุ้ง  ท่านตอบว่าใช้ประสบการณ์ ดูแดด ตากสองแดด ตากสามแดด สรุปได้ว่าอาศัยการสังเกตุและประสบการณ์ ผมจึงแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ว่าการตาก ต้องระวัง 1)ข้าวแห้งมากเกินไปก็ทำให้สูญเสียน้ำหนัก ข้าวซีดขาดมัน 2)ถ้าตากหนาเกินไป อาจไม่แห้งหรือแห้งไม่สม่ำเสมอก็จะทำให้เสื่อมคุณภาพเร็วเมล็ดข้าวจะเป็นฟันหนู(สีเหลือง) และ3)ถ้าตากไม่ดี โดนฝน โดนน้ำค้าง ข้าวจะป่นมีเมล็ดหักมากกว่าที่ควรจะเป็น

 

27 ต.ค. เปิดศึกแย่งซื้อข้าวหอมมะลิ

 

“ผมเลยบอกว่าเอาอย่างนี้ จะซื้อเครื่องวัดความชื้นมาให้ (ท่านปรบมือดีใจกันทุกคน) ใช้ตรวจสอบความชื้น มอบให้เป็นส่วนกลาง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชน ผมประทับใจคำพูดของท่านกำนัน ท่านกล่าวว่า ชาวนาได้ประโยชน์ตากข้าวได้ดี โรงสีได้ข้าวคุณภาพดี  ดีด้วยกัน” โดย มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ สหกรณ์การเกษตรเพื่อลูกค้า ธ.ก.ส.บุรีรัมย์ ที่อยู่ในพื้น สอนวิธีการใช้เครื่องวัดความชื้น ที่ถูกต้อง หวังเป็นอย่างยิ่ง “ว่าจะเป็นการช่วยลดการสูญเสีย ด้านน้ำหนักและคุณภาพของข้าวเปลือก ไม่มากก็น้อย”