ช็อก "ไข่ไก่" ขาด ราคาพุ่ง 2.90 บาท/ฟอง

23 ต.ค. 2563 | 06:25 น.

วันปิยมหาราช สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าฯ แจ้งข่าวดี ปรับราคาแนะนำใหม่ คิกออฟ 26 ต.ค.นี้ อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เผย น้ำท่วม ตลาดไข่ไก่ช็อก ขาด ดันราคาหน้าฟาร์ม พุ่ง 2.90 บาท/ฟอง

ชัยพร สีถัน

 

นายชัยพร สีถัน อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจากราคาสาเหตุที่ "ไข่ไก่" ปรับราคาขึ้น ทั้งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์วงการไก่ไข่เลยในช่วงเทศกาลเจ เพราะสาเหตุมาจาก น้ำท่วม หลายจังหวัดทำให้ความต้องการพุ่ง บวกกับก่อนหน้านี้ทางกรมปศุสัตว์มีมาตรการปลดไก่ไข่ ส่งออก ด้วย หากน้ำท่วมคลี่คลายสถานการณ์จะกลับมาสู่ปกติในเร็วนี้ จะต้องดูทิศทางว่าราคาจะมีความเสถียรหรือไม่ อย่างไรก็ดีผู้บริโภคไม่ตระหนกตกใจว่าไข่ไก่จะขาดแคลน ไม่ต้องกักตุน แม่ไก่ออกไข่ ทุกวัน

 

“วันที่ 23 ตุลาคม 2563 ตรงกับ “วันปิยมหาราช” สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ แจ้งสมาชิกสมาคม ประกาศราคาแนะนำไข่ไก่ คละ ณ หน้าฟาร์มเกษตรกร วันที่ 26 ตุลาคม 2563 ราคาไข่ไก่คละอยู่ที่ฟองละ 2.90 บาท ทั้งนี้หากมีการเปลี่ยนแปลงราคา สมาคมฯ จะแจ้งให้ทราบต่อไป ส่วนราคาที่เหมาะสม ไข่คละใหญ่ หน้าฟาร์ม ควรจะอยู่ ที่ 3.20 บาท/ฟอง วิธีการคำนวณมาจาก ตามกฎหมาย ของกระทรวงพาณิชย์ ก็คือ ต้นทุน+กำไร ไม่เกิน 20%  (2.70 +20% = 3.24 บาท /ฟอง) "

 

 

ด้าน ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร ณ วันที่ 23 ตุลาคม 2563 ตรงกับ “วันปิยมหาราช” ว่า จากอิทธิพลพายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทาให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่งผลให้เกิดอุทกภัย น้าไหลหลาก น้าเอ่อล้นตลิ่ง และวาตภัย ช่วงวันที่ 7 ต.ค.63 - ปัจจุบัน จานวน 32 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด นครราชสีมา อุบลราชธานี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ กาแพงเพชร อุทัยธานี ชัยนาท สระบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี ชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง สุราษฎร์ธานี และจังหวัดสตูล สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 16 จังหวัด ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ กาแพงเพชร ปราจีนบุรี ชลบุรี สระแก้ว สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี ตรัง นครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี


 

ผลกระทบด้านการเกษตร (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ต.ค.63)ด้านพืช ได้รับผลกระทบ 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม สตูล สุราษฎร์ธานี และจังหวัดตรัง เกษตรกร 95,146 ราย พื้นที่ 640,209 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 279,483 ไร่ พืชไร่ 302,168 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 58,558 ไร่ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

 

ด้านประมง ได้รับผลกระทบ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ราชบุรี กาญจนบุรี สระบุรี เพชรบุรี สระแก้ว กระบี่ สตูล และจังหวัดตรัง เกษตรกร 723 ราย พื้นที่ (บ่อปลา) 682 ไร่ กระชัง 2,215 ตรม. อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

 

ด้านปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา นครสวรรค์ กาญจนบุรี เพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีชันธ์ เกษตรกร 1,096 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 80,663 ตัว แบ่งเป็น โค - กระบือ 12,444 ตัว สุกร 3,892 ตัว แพะ - แกะ 941 ตัว สัตว์ปีก 63,386 ตัว แปลงหญ้า 60 ไร่ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย