โรงสี อีสาน ผวาพายุพัดถล่มนาข้าวหอมมะลิ เสียหาย

22 ต.ค. 2563 | 11:10 น.

"นครราชสีมา" โมเดล  “ชาวนา” เกี่ยวข้าวหนีน้ำ โรงสี หลอน “วิชัย” จับตา พายุ เข้า 25-29 ต.ค. ระลอกใหม่ ถล่ม อีสาน เผยมาจริง ผวาพัดถล่ม นาข้าวหอมมะลิ เสียหายยับ

วิชัย ศรีนวกุล

 

นายวิชัย ศรีนวกุล นายกสมาคมโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า "ข้าวหอมมะลิ กข15" และ ข้าวหอมมะลิ105  ตอนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ยังไม่เก็บเกี่ยว ซึ่งกำหนดคาดว่าจะเก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 25 หรือ 26 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ แล้วถ้าเกิดในวันนั้น ฝนตกหนัก หรือ "พายุ" เข้ามายุ่งเลย  ต้องรอดูตรงนี้สำคัญ ชาวนาหลายคนอาจจะมีการเกี่ยวข้าวหนีน้ำ นี่คือปัญหาที่ยังตอบโจทย์ไม่ได้เลยว่าผลผลิตของข้าวหอมมะลิปีนี้คาดว่าจะมีเท่าไร คาดเดายาก

 

“ถ้าฝนพายุกระหน่ำในช่วงนั้น จบเลยผลผลิตไม่ได้ตามที่เป้าหมาย สภาพข้าวที่ออกมาชาวนาเก็บเกี่ยวจะออกมาอย่างไร ตอบคำถามไม่ได้เลย ประเมินสถานการณ์ผลผลิตในขณะนี้ยอมรับว่ายากเหลือเกิน  เพราะก่อนหน้านี้ชาวนาจังหวัดนครราชสีมา ต้องเกี่ยวข้าวหนีน้ำ หรือเกี่ยวไม่ได้ ถ้าปล่อยไว้พายุพัด ผลผลิตจะเสียหายหรือไม่ เพราะถ้ามีลมแรง ข้าวล้ม จมน้ำ ปวดหัวแน่นอนทั้งชาวนาและโรงสี”

 

โรงสี อีสาน ผวาพายุพัดถล่มนาข้าวหอมมะลิ เสียหาย

 

นายวิชัย กล่าวว่า สาเหตุที่ชาวนาก็ต้องเกี่ยวข้าว ที่ยังเขียวอยู่เลยยังไม่สุด เมื่อเกี่ยวมาแล้วใช้ไม่ได้ด้วย  ถ้าไม่เกี่ยว น้ำก็ท่วม ดังนั้นจึงยังประเมินไม่ได้ ต้องดูพายุที่จะมีผลกระทบในวันที่ 25 หรือ 26 ตุลาคมนี้ ส่วน "ข้าวเหนียว" ผลผลิตของอีสาน คาดว่าจะเกี่ยวประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนไปแล้ว

ด้าน ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร วันที่ 22 ตุลาคม 2563 จากอิทธิพลพายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทาให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่งผลให้เกิดอุทกภัย น้าไหลหลาก น้าเอ่อล้นตลิ่ง และวาตภัย ช่วงวันที่ 7 ต.ค.63 - ปัจจุบัน จำนวน 31 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด นครราชสีมา อุบลราชธานี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ กาแพงเพชร อุทัยธานี ชัยนาท สระบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี ชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง สุราษฎร์ธานี และจังหวัดสตูล สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 11 จังหวัด

 

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ กาแพงเพชร อุทัยธานี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี สระแก้ว ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ตรัง นครศรีธรรมราช และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

ผลกระทบด้านการเกษตร (ข้อมูล ณ วันที่ 20 ต.ค.63)  ด้านพืช ได้รับผลกระทบ 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ สระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม สตูล สุราษฎร์ธานี และจังหวัดตรัง เกษตรกร 91,585 ราย พื้นที่ 593,330 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 256,327 ไร่ พืชไร่ 282,120 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 54,883 ไร่ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

 

ด้านประมง ได้รับผลกระทบ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี สระบุรี กระบี่ และจังหวัดตรัง เกษตรกร 236 ราย พื้นที่ (บ่อปลา) 182 ไร่ กระชัง 2,215 ตรม. อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย และด้านปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา เพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีชันธ์ เกษตรกร 988 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 77,421 ตัว แบ่งเป็น โค - กระบือ 11,470 ตัว สุกร 3,779 ตัว แพะ - แกะ 880 ตัว สัตว์ปีก 61,292 ตัว แปลงหญ้า 60 ไร่ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย